Photo Style

Sakaerat today



Sakaerat today ยังคงความสวยงาม ตระกานตา น่าสัมผัสสำหรับคนรักษ์ธรรมชาติ กับการอนุรักษ์ผืนป่าให้คงสภาพเดิม ทำให้ผืนป่าดิบแล้งแห่งนี้ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ป่านานาชนิดและสัตว์ป่าที่หาดูได้ยาก มีที่นี่เท่านั้น

วันนี้ของป่าฝนสะแกราช ปกคลุมด้วยป่าไม้สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าดิบแล้งชนิดนี้ ประกอบด้วย ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง กระเบากลัก เป็นต้น ส่วนป่าเต็งรัง ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พะยอม เป็นต้น ป่าทั้งสองชนิดครอบคลุมเนื้อที่ประมาณร้อยละ  70  ของพื้นที่ นอกนั้นเป็นป่าชนิดอื่น เช่น ป่าไผ่ ป่าปลูก และทุ่งหญ้า

 

         จากผลการวิจัยของนักวิจัย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชมีความหลากหลายชีวภาพ ของชนิดพันธุ์พืช สัตว์และสิ่งมีชีวิตจำพวกเห็ดรา จากการศึกษาความหลากหลายของเห็ด (Mushroom) ในพื้นที่เบื้องต้น สามารถจำแนกได้ 94 ชนิด 32 วงศ์ จากตัวอย่างสัณฐานวิทยาของเห็ดราขนาดใหญ่ (Macro fungi) มากกว่า 330 สัณฐาน นอกจากนี้ยังมีสัตว์ 486 ชนิด ประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 79 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 29 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน(Reptiles) 88 ชนิด นกและสัตว์ปีก 290 ชนิด โดยมี “ไก่ฟ้าพญาลอ” นกประจำชาติไทยเป็นจุดเด่นซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในพื้นที่แห่งนี้ 

ป่าสะแกราชแห่งนี้ เป็นป่าดิบแล้ง พื้นที่ 26,474 ไร่ ดูดซับได้ 3.26 ตัน/ไร่/ปี หรือปีละ 86,305 ตัน ป่าเต็งรัง พื้นที่ 7,373 ไร่ ดูดซับ 2.84 ตัน/ไร่/ปี หรือปีละ 20,939 ตัน 3) ป่าปลูก พื้นที่ 12,028 ไร่ ดูดซับได้ 3.23 ตัน/ไร่/ปี หรือปีละ38,850 ตัน

 หน่วยงานที่ทำการวิจัยผืนป่าแห่งนี้ คือ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 โดยมีภารกิจการวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา จนถึงขณะนี้มีผลงานวิจัยในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 500 เรื่อง ขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2519 สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก ภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere Program) ให้เป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 7 แห่งของเอเชียในขณะนั้น และในปัจจุบันสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ตั้งอยู่ในเขตแกนกลางพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช และในปี 2562 ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับดีเยี่ยม