In News

กรมการขนส่งทางรางสรุปการเดินทาง ด้วยระบบราง7วันช่วงเทศกาลปีใหม่



กรุงเทพฯ-กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงคมนาคม สรุปข้อมูลการเดินทางของประชาชนด้วยระบบรางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 สะสมครบ 7 วัน (29 ธ.ค. 2564 ถึง 4 ม.ค. 2565) รวม 3,818,299 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 ที่ผ่านมา (29  ธ.ค. 63 ถึง 4  ม.ค. 2564) จำนวน 406,021คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.90 (ปีใหม่ 2564 จำนวน 3,412,278 คน แบ่งเป็นรถไฟระหว่างเมือง 349,887 คน และระบบรถไฟฟ้า 3,062,391 คน) แม้จะมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟฯ ลดลง ร้อยละ 13.2565 แต่มีผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 14.82 โดยวันที่ 4 ม.ค. 2565 (เมื่อวาน) ซึ่งวันสุดท้ายของเทศกาลปีใหม่ 2565 มีผู้โดยสารเดินทางด้วยระบบราง รวมจำนวน 25658,083 คน มีอุบัติเหตุทางรางตลอดช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 รวม จำนวน 7 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ผู้บาดเจ็บ 3 ราย และรถไฟฟ้าขัดข้องรวม 5 ครั้ง 



นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค. 2564 - 4 ม.ค. 2565 รวม 7 วัน มีประชาชนใช้บริการระบบราง รวมทั้งสิ้น 3,818,299 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 ที่ผ่านมา (29  ธ.ค. 63 - 4  ม.ค. 2564) จำนวน 406,021คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.90 (เทศกาลปีใหม่ 2564 จำนวน 3,412,278 คน) ประกอบด้วย 

1) รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผู้ใช้บริการรวม 302,141 คน มากกว่าประมาณการ 6,929 คน คิดเป็นร้อยละ 2.35 (ประมาณการ 295,212 คน) แต่เมื่อเทียบกับเทศกาลปีใหม่ 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ลดลง 47,746 คน หรือลดลงร้อยละ 13.2565 (ปีใหม่ 2564 มีประชาชนใช้บริการรถไฟ 349,887 คน) แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 122,900 คน และผู้โดยสารเชิงสังคม 179,241 คน มีผู้โดยสารขาออกสะสม 149,032 คน และผู้โดยสารขาเข้า 153,109 คน โดย รฟท. ได้จัดเพิ่มตู้พ่วงไปกับขบวนรถไฟทางไกล และจัดขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารในเส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ - กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ - อุบลราชธานี - กรุงเทพฯ รวม 8 ขบวน โดยตลอดช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ให้บริการเดินรถรวมทั้งสิ้น 1,198 เที่ยววิ่ง (เพิ่มขึ้น 63 เที่ยววิ่ง จากประมาณการไว้ที่ 1,135 เที่ยววิ่ง) สามารถรองรับผู้โดยสารที่เดินทางได้อย่างเพียงพอและไม่มีผู้โดยสารตกค้าง ซึ่งพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 91,801 คน (ผู้โดยสารขาออก 45,781 คน ผู้โดยสารขาเข้า 46,020 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ 82,022 คน (ผู้โดยสารขาออก 40,037 คน ผู้โดยสารขาเข้า 41,985 คน) สายเหนือ 71,444 คน (ผู้โดยสารขาออก 35,25647 คน ผู้โดยสารขาเข้า 35,797 คน) สายตะวันออก 36,330 คน (ผู้โดยสารขาออก 17,318 คน ผู้โดยสารขาเข้า 19,012 คน) และสายมหาชัย-แม่กลอง 20,544 คน (ผู้โดยสารขาออก 10,249 คน ผู้โดยสารขาเข้า 10,295 คน) 

2) ระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯมหานครและปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง) สะสม 7 วัน จัดขบวนรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการจำนวน 14,817 เที่ยววิ่ง มากกว่าประมาณการ 783 เที่ยว คิดเป็นร้อยละ 5.58 (ประมาณการ 14,034 เที่ยววิ่ง) โดยมีผู้ใช้บริการ 3,516,158 คน/เที่ยว น้อยกว่าประมาณการ 475,882 คน/เที่ยว หรือมีผู้มาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 88.08 ของปริมาณผู้โดยสารที่ประมาณการ (ประมาณการ 3,992,040 คน/เที่ยว) แต่เมื่อเทียบกับเทศกาลปีใหม่ 2564 ที่ผ่านมา พบว่า เพิ่มขึ้น 453,767 คน/เที่ยว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.82 (ปีใหม่ 2564 มีประชาชนใช้บริการระบบรถไฟฟ้า 3,062,391 คน) ประกอบด้วย Airport Rail Link 166,928 คน สายสีแดง 44,895 คน สายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) 132,235 คน สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 969,467 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) 2,202,633 คน 

สำหรับด้านความปลอดภัย ช่วง 7 วัน (29 ธ.ค. 2564 - 4 ม.ค. 2565) ตลอดช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ที่ผ่านมา มีเหตุอันตรายทางรางรวม 7 ครั้ง (ขบวนรถไฟชนคน 3 ครั้ง ชนรถยนต์ 1 ครั้ง ชนสัตว์ 1 ครั้ง ตกราง 1 ครั้ง และคนร้ายปาระเบิดใส่ 1 ครั้ง) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และผู้บาดเจ็บ 3 ราย และมีรถไฟฟ้าขัดข้องรวม 5 ครั้ง ส่งผลให้ขบวนรถล่าช้ารวม 4 เที่ยว และงดให้บริการ 1เที่ยว (เทศกาลปีใหม่ 2564 มีเหตุอันตรายทางรางจำนวน 7 ครั้ง (ขบวนรถไฟชนคน 4 ครั้ง ชนรถจักรยานยนต์ 1 ครั้ง ชนสัตว์ 1 ครั้ง และผู้โดยสารพลัดตกขบวนรถไฟ 1 ครั้ง) มีผู้เสียชีวิต 6 ราย ไม่มีผู้บาดเจ็บ ส่วนระบบรถไฟฟ้าขัดข้อง 2 ครั้ง) 

ทั้งนี้ เมื่อวาน (4 ม.ค. 2565) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลปีใหม่ 2565 มีประชาชนมาใช้บริการระบบรางรวมจำนวน 25658,083 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 3 ม.ค. 2565 จำนวน 246,259 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.80) แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 39,159 คน และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯมหานครและปริมณฑลและรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) จำนวน 618,924 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. รถไฟของ รฟท. จำนวน 39,159 คน (ลดลงจากวันที่ 3  ม.ค. 2565 จำนวน 5,704 คน หรือลดลงร้อยละ 12.71) แบ่งเป็นผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 14,791 คนและเชิงสังคม 24,368 คน โดยมีผู้โดยสารขาออกจำนวน 16,693 คน (ลดลงจากวันที่ 3  ม.ค. 2565 จำนวน 1,474 คน หรือลดลงร้อยละ 8.11) และผู้โดยสารขาเข้า 22,466 คน (ลดลงจากวันที่ 3  ม.ค. 2565 จำนวน 4,230 คน หรือลดลงร้อยละ 15.84) โดยพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 11,791 คน (ผู้โดยสารขาออก 5,509 คน ผู้โดยสารขาเข้า 6,282 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10,319 คน (ผู้โดยสารขาออก 4,042 คน ผู้โดยสารขาเข้า 6,277 คน) สายเหนือ 9,567 คน (ผู้โดยสารขาออก 3,905 คน ผู้โดยสารขาเข้า 5,662 คน) สายตะวันออก 5,145 คน (ผู้โดยสารขาออก 2,068 คน ผู้โดยสารขาเข้า 3,077 คน) และสายมหาชัย/แม่กลอง 2,337 คน (ผู้โดยสารขาออก 1,169 คน ผู้โดยสารขาเข้า 1,168 คน) โดย รฟท. ได้จัดขบวนพิเศษช่วยการโดยสารจำนวน 1 ขบวน คือขบวนด่วนพิเศษที่ 6 เชียงใหม่ - กรุงเทพฯ มีผู้โดยสารใช้บริการ 278 คน 

 2. ระบบรถไฟฟ้า จำนวน 618,924 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 3  ม.ค. 2565 จำนวน 251,963 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.66) ประกอบด้วย รถไฟฟ้า Airport Rail Link จำนวน 31,263 คน รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 7,237 คน รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) จำนวน 25,425 คน รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) จำนวน 178,294 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) จำนวน 376,705 คน โดยผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าจัดขบวนรถไฟฟ้าวิ่งเสริมในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็น รวม 20 เที่ยว ประกอบด้วย รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท 8 เที่ยว สายเฉลิมรัชมงคล 9 เที่ยว และรถไฟฟ้า Airport Rail Link 3 เที่ยว โดยไม่มีเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง

สำหรับด้านความปลอดภัยประจำวันที่ 4 ม.ค. 2565 พบว่า หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง โดยมีอุบัติเหตุทางราง 1 ครั้ง เมื่อเวลา 19. 01 น. ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 40 สุราษฎร์ธานี - กรุงเทพฯ ขณะทำขบวนได้เฉี่ยวชนคนเดินเท้าระหว่างสถานีราชบุรี - สถานีบ้านกล้วย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสเป็นชาย 1 ราย กู้ภัยนำส่งโรงพยาบาลราชบุรี