Biz news
มิตซูบิชิอิเล็คทริคร่วมพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความแกร่งโครงการอีอีซี

กรุงเทพฯ- Mitsubishi Electricจัดงานขอบคุณพันธมิตรเครือข่าย Digital Manufacturing Ecosystemที่ร่วมกันสนับสนุนและผลักดันการปฏิรูปอุตสาหกรรมในประเทศไทยให้ขับเคลื่อนสู่โรงงานอัจฉริยะตามแนวทาง e-F@ctory & SMKL-SmartManufacturing Kaizen Level ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ให้มีความพร้อมในการดึงดูดและจูงใจผู้ประกอบการทั่วโลกให้มาลงทุนและตอกย้ำความสำคัญของ System Integrator ด้วยความร่วมมือแบบEcosystem ในธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงด้วยการดึงศักยภาพของกลุ่มพันธมิตรทั้งไทยและญี่ปุ่นมาใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการจัดตั้งโครงข่ายการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีขั้นสูงและการผลิตบุคลากรด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์รองรับการใช้โซลูชันการผลิตอัจฉริยะเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยในระยะยาวต่อไป
ดร. อภิชาต ทองอยู่ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) กล่าวว่า “ด้วยความร่วมมือของMitsubishi Electric ตลอดจนพันธมิตร Ecosystem ทำให้ทุกวันนี้ EEC
Automation Park ได้กลายเป็นเสาหลัก (Pillar)สำคัญในการศึกษาระบบออโตเมชั่นและหุ่นยนต์ให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปจนถึงระดับ SME เพื่อจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตใน EECและช่วยยกระดับการพัฒนาบุคลากรไปสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยใน EECModel Type Aปัจจุบันได้มีการดึงเอาเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้ามาด้วยนอกเหนือจาก 8 สถาบันในเขต EECเพื่อปรับเปลี่ยนการศึกษาแบบเดิมมาสู่การศึกษารูปแบบใหม่ที่มีคุณค่ามีพลัง ตอบโจทย์ตรงตามทุกอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยและเรายังมี EEC Model Type B หรือหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (ShortCourses) เพื่อผลิตกำลังคน ปรับทักษะ (Re-skill) เพิ่มทักษะ (Up-skill)ในระยะเร่งด่วน โดยอีอีซีจะสนับสนุน 50%ในทุกการฝึกอบรมที่จะยกระดับทักษะความรู้ซึ่งจะเป็นโหมดสำคัญในการพัฒนาบุคลากรเข้าสู่โลกการผลิตยุคใหม่”
ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากรและเทคโนโลยี โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เผยว่า“ปัจจุบันมีบริษัทสนใจเข้ามาลงทุนใน EEC เป็นจำนวนมากซึ่งเรากำลังวางเงื่อนไขในการพิจารณาบริษัทเหล่านั้นว่า ต้องการให้นำSupply Chain ที่สามารถทำงานร่วมกับ Supply Chainของประเทศไทยเข้ามาด้วย รวมถึงช่วยเรื่องการพัฒนาบุคลากรเพื่อที่จะถ่ายทอด Know-how ทักษะความรู้ความชำนาญให้กับทางเราแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีแต่ถ้ารู้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้อย่างไรก็เท่ากับเราได้มูลค่ากลับมาแล้วครึ่งหนึ่ง และในปีหน้าจะมีบริษัทต่าง ๆที่เข้ามาลงทุน DATA Center ใน EEC ซึ่งทำให้เกิด DATA Industryและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ซึ่งผมเชื่อว่าด้วยความสามารถที่หลากหลายของกลุ่มพันธมิตร Digital ManufacturingEcosystemของเราจะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไทยและภายในไตรมาสแรกของปีหน้า ผมมั่นใจว่าจะได้เห็นการลงทุนในEEC กว่า 500,000 ล้านบาท ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ Mitsubishi Electricที่เป็นตัวอย่างของสมาชิกที่ดีของสังคมไทย (Corporate Citizenship)ที่ร่วมจัดทำเครือข่าย Ecosystem เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0รวมถึงสร้าง Smart City ให้สำเร็จเร็วขึ้น”การนำระบบออโตเมชั่นและหุ่นยนต์เข้าไปใช้งานได้หลากหลายในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการ System Integrator หรือผู้ทำหน้าที่ส่งมอบโซลูชันตามที่ลูกค้าองค์กรต้องการไม่ว่าจะเป็นการออกแบบติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์บริการด้านระบบเครือข่าย บริการซ่อมบำรุงเรียกได้ว่าเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทางด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กรต่าง ๆจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวรุ่งที่จะเป็นที่ต้องการตัวในอุตสาหกรรมการผลิตดังนั้นด้วยการสนับสนุนของพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่นที่มีความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และออโตเมชั่น ในการพัฒนาศักยภาพของSystem Integratorจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในเวทีระดับโลกในอนาคต
มร. คาซึโอะ คูโบตะ (Mr. Kazuo Kubota) ประธานสมาคม Japan Factory Automation & Robot System Integrator Associationหรือ JARSIA ที่มีบทบาทสำคัญอยู่ในธุรกิจ System Integratorประเทศญี่ปุ่น เผยว่า “งานหลักของ JARSIA มี 3 ประการ คือ 1.การสร้างเครือข่ายบริษัทญี่ปุ่นที่ทำเกี่ยวกับเรื่องระบบออโตเมชั่นและหุ่นยนต์ในโรงงาน 2. ส่งเสริมความรู้ในเรื่องธุรกิจ System Integrator และ3.อบรมเพิ่มความรู้เฉพาะทางให้กับบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานด้านSystem Integrator ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2565 จากสมาชิก 144บริษัทเพิ่มเป็นกว่า 300 บริษัท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว และในปีหน้านี้JARSIA ได้ร่วมสานต่อนโยบายของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น
อย่างเป็นทางการในการโอนถ่ายเทคโนโลยีหลักสูตรการพัฒนาทักษะSystem Integrator ให้กับต่างประเทศและประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ได้รับเลือก โดยสิ่งที่ JARSIAต้องการเริ่มจัดทำในประเทศไทย คือ โครงการสอบเทียบวัดระดับทักษะSystem Integrator ซึ่งจะมีทั้งการสอบเชิงทฤษฎี และปฏิบัติรวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ System Integratorด้วยการจัดกิจกรรมแข่งขันเรื่องไอเดียคอนเทสต์เกี่ยวกับออโตเมชั่นและหุ่นยนต์ในกลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา เป็นต้น”
นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริคแฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัดในฐานะแกนนำในการจัดงานครั้งนี้ เผยว่า“ผมขอขอบคุณในความร่วมมือกันของกลุ่มพันธมิตรเครือข่ายEcosystem ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาตลอด 3 ปีซึ่งดูเหมือนกลุ่มทำงาน เล็ก ๆ ไม่ใหญ่แต่พอดูรายชื่อของแต่ละองค์กรแล้ว พันธมิตรสมาชิก e-F@ctoryของเราน่าจะเป็น System Integrator 90% ของเมืองไทย
ที่มียอดขายปีที่แล้วรวมกันประมาณกว่าสองแสนล้านบาทซึ่งหมายความว่าถ้าความร่วมมือของเราทั้งหมดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมายอย่างถูกจุดจะช่วยทำให้เกิดการขับเคลื่อนและเกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยได้อย่าง
แน่นอน”
สำหรับสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (ThaiAutomation and Robotics Association : TARA)ซึ่งได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้งภาครัฐ และเอกชนโดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือการยกระดับศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคการผลิตให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันก้าวทันโลกของเทคโนโลยีด้วยโซลูชันและระบบการทำงานอัตโนมัติ โดย
ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมฯ ให้ความคิดเห็นว่า“การเติบโตของธุรกิจ System Integrator นั้น Ecosystemมีความสำคัญมากเพราะเป็นธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและความรู้ความสามารถในหลายสาขาวิชาจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องนำศักยภาพของพันธมิตรมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาช่วยให้ประหยัดต้นทุนและเวลาขณะเดียวกันก็ทำให้ได้เรียนรู้ในหลากหลายธุรกิจเพิ่มขึ้นซึ่งในการประชุมร่วมกันกับ JARSIAในต้นปีหน้าที่จะทำโครงการสอบเทียบวัดระดับเพื่อกำหนดมาตรฐานความรู้ความสามารถของบุคลากรของเราจะช่วยให้ธุรกิจ System Integratorมีการเติบโตต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณ EEC Automation Parkและพันธมิตร Ecosystem ทั้งหมด ที่ทำให้ TARAเข้ารับทำงานให้กับกระทรวงอุตสาหกรรม และลูกค้ากว่า 60 บริษัทซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า ความร่วมมือแบบ Ecosystemกำลังเห็นผลในทางธุรกิจแล้ว และเชื่อว่าเราจะสามารถก้าวไปข้างหน้าด้วยกันได้”
หนึ่งในผลงานความร่วมมือกับ Mitsubishi Electricพร้อมพันธมิตรเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม คือ การพัฒนาEEC Automation Parkให้เป็นฐานหลักขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์และออโตเมชันสร้างความเชื่อมโยงให้ภาคอุตสาหกรรมไทยปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะหรือ Smart Factory ใช้นวัตกรรมนำการผลิต พัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรม4.0 ในพื้นที่ EEC ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
ดร. ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิช ผู้อำนวยการ EEC Automation Park เผยว่า“การที่ EEC Automation Park เกิดขึ้นได้นั้น ต้องขอบคุณทั้ง EECHDC, Mitsubishi Electric และพันธมิตรต่าง ๆ ที่มาร่วมกันทำงานเป็นEcosystem ที่สมบูรณ์ ทำให้การเติบโตของ EEC Automation Parkเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็น Digital Manufacturing ที่เป็น Smart Factory 4.0โชว์เคสที่สมบูรณ์ที่สุด ครบวงจรเริ่มตั้งแต่การสั่งสินค้า ผลิตตัวอย่างสินค้าและจัดเก็บสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติและยังร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมต่าง ๆผมภูมิใจที่เวลามีคนเข้ามาเยี่ยมชมมีลูกค้าเข้ามาดูงานแล้วเกิดการซื้อขายต่อยอดธุรกิจได้จริงทำให้พันธมิตร Ecosystem ของเราเติบโตในธุรกิจเป็นของตัวเอง
และพัฒนาไปสู่การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่อไป”
ด้าน นายบวร เทียนสวัสดิ์ในฐานะหัวหน้ากลุ่มพัฒนาโครงการและกลุ่มพันธมิตร บริษัท มิตซูบิชิอีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า“ผมจะพูดกับพันธมิตรของเราเสมอว่า อุตสาหกรรมที่ Mitsubishi Electricเข้าไปช่วยสนับสนุนจะไม่สำเร็จได้เลยถ้าไม่มี System Integratorและพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งความร่วมมือของเราแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. เทคโนโลยีออโตเมชั่นซึ่งทางเรามีการจัดเตรียมทีมเรื่องการเทรนนิ่ง เรื่องการปรึกษาการใช้งานรวมถึงการทำ Proposal ร่วมกับพันธมิตรเพื่อไปเสริมกัน 2.การแนะนำสินค้าของกันและกัน และ 3. การส่งเสริมการขาย โดยการทำBusiness Matching ซึ่งจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้เพราะเรามองว่าความร่วมมือจะช่วยสร้างแรงดึงดูดและเพิ่มมูลค่าโดยเราเปิดโอกาสให้พันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน SystemIntegrator
เฉพาะทางในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันให้มาร่วมสร้างโซลูชันร่วมกับเราได้ และสำหรับประเทศไทยในปีหน้า เราเล็งเป้าหมายไปในเรื่องDigitalization และ Decarbonization ซึ่งได้เริ่มแล้วกับหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งด้านการเงิน ด้านประกันภัยในการซับพอร์ตสิ่งเหล่านี้ให้กับ System Integrator หรือคู่ค้าได้นอกจากนี้ในส่วนเป้าหมายระดับโกลบอลของ Mitsubishi Electricเราได้มีการเปิดตัวโซลูชันใหม่ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ นั่นคือ DigitalTwin ซึ่งมี 3 แนวคิดหลัก นั่นคือ 1. การออกแบบ (Design) 2. การเริ่มต้น(Push Start) 3. การซ่อมบำรุง (Maintenance)ซึ่งซอฟต์แวร์ที่จะมาซัพพอร์ตในระยะแรก คือ 3D Simulator MELSOFTGemini, SCADA Genesis64 และ MELSOFT MaiLab Ai Softwareซึ่งเราได้เปิดให้พาร์ทเนอร์เข้ามาเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มValue Added ให้กับลูกค้าได้”
Mitsubishi Electric สนับสนุนระบบการผลิตตามแนวทาง "e-F@ctory &SMKL-Smart Manufacturing Kaizen Level" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546ซึ่งใช้ระบบอัตโนมัติ (FA) และระบบสารสนเทศ (IT)ในโรงงานเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตทั้งหมดของลูกค้ามากกว่า40,000 เคสทั่วโลก
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเครือข่ายความร่วมมือ e-F@ctoryAlliance Partner Association โดยประมาณ 1,050 บริษัททั่วโลกครอบคลุมอาเซียน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินเดีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา และก่อตั้งพันธมิตรในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 80 บริษัท