Travel & Entertain

ทำไมการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน จึงต้องใช้แนวทางแบบ360องศา



กรุงเทพฯ-จากข้อมูลของ Booking.com ในปี 2566 พบว่า 76% ของนักเดินทางต้องการเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า และ 2 ใน 3 (66%) ต้องการช่วยดูแลสถานที่ที่พวกเค้าไปเที่ยว ให้คงความสวยงามยิ่งกว่าตอนที่พวกเขาเพิ่งเดินทางมาถึง  อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจที่จะเดินทางอย่างยั่งยืนก็มาพร้อมกับอุปสรรคเช่นกัน โดยนักเดินทางเกือบครึ่ง (49%) เชื่อว่าตัวเลือกการเดินทางที่ยั่งยืนมีราคาที่แพงเกินไป ในขณะที่นักเดินทาง 56% ไม่ทราบว่าจะหาทางเลือกที่ยั่งยืนได้ที่ไหน

ด้วยเหตุนี้ แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเชื่อในแนวทางแบบ 360 องศาในการทำให้ผู้เข้าพักในโรงแรมสามารถเข้าถึงการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน ได้ง่ายขึ้น โดยสามารถสรุปแนวทางเป็น 5 ประเด็นหลักในฐานะผู้ริเริ่มดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายความยั่งยืนที่ชัดเจนโดยสามารถวัดผลได้

แพลตฟอร์มความยั่งยืนและผลกระทบต่อสังคมของแมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล Serve360: Doing Good in Every Direction ช่วยกำหนดแผนงานสำหรับโรงแรม รวมถึงเป้าหมายปี 2567 ที่จะลดฟุตพริ้นท์ทั่วโลกของคาร์บอน น้ำ และของเสีย เพื่อเสริมสร้างความพยายามด้านความยั่งยืนของบริษัทให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น บริษัทได้ตั้งเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (GHG) ภายในปี 2593

2. ผสมผสานความยั่งยืนในธุรกิจโรงแรม

ตั้งแต่การออกแบบโรงแรม ไปจนถึงประสบการณ์ของผู้เข้าพัก เราได้ผสมผสานแนวคิดความยั่งยืนในทุกๆกลยุทธ์ทางธุรกิจของแมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล โดยโรงแรมทุกแห่งในประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนจากขวดที่ใช้ครั้งเดียวในห้องน้ำของห้องพัก มาเป็นขวดรีฟิลขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดขวดขนาดเล็กหลายล้านขวดกลายเป็นขยะในทุกๆ ปี โดยเฉพาะ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ ที่มีความมุ่งมั่นกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยร่วมมือกับ Corsair Group ในการรีไซเคิลขยะพลาสติกที่เก็บจากโรงแรมให้เป็นไบโอออยล์ ซึ่งในปี 2565 ทางโรงแรมได้เปลี่ยนขยะพลาสติกจำนวนถึง 1,334 กิโลกรัม ในโครงการดังกล่าว

3. เปิดโอกาสให้ผู้เข้าพักได้สร้างผลกระทบเชิงบวก

ในเอเชียแปซิฟิก แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นผู้ริเริ่ม Good Travel with Marriott BonvoyTM  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำให้การเดินทางมีความหมาย และช่วยให้ผู้เข้าพักมีโอกาสสร้างผลกระทบเชิงบวก ซึ่งมีการปรับใช้ในโรงแรมแล้วเกือบ 100 แห่ง ผู้เข้าพักสามารถมีส่วนร่วมในประสบการณ์สามแบบที่แตกต่างกันออกไป: การปกป้องสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในชุมชน และการอนุรักษ์ทะเล ในประเทศไทยมีโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการนี้ถึง 9 แห่งใน 6 จังหวัด โดยมีกิจกรรมตั้งแต่การเยี่ยมชมเขตรักษาพันธุ์ช้าง การเพาะเลี้ยงปูม้า ไปจนถึงการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง

4. ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

แมริออทตั้งเป้าที่จะลดขยะจากอาหารลง 50% ทั่วโลก ซึ่งภายในปี 2568 โรงแรมในประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่เป้าหมายนี้ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิ Scholars of Sustenance (SOS) โดยปัจจุบัน โรงแรมและรีสอร์ทมากกว่า 20 แห่งได้มีการร่วมมือกับมูลนิธิ SOS เพื่อบริจาคอาหารส่วนเกินให้แก่ชุมชนที่ต้องการ ในปี 2565 โรงแรมแมริออท 27 แห่ง บริจาคอาหารส่วนเกินกว่า 33,000 กิโลกรัม และทำเป็นอาหารเกือบ 140,000 มื้อสำหรับชุมชนที่ด้อยโอกาส

5.สร้างสังคมที่ดีโดยการตอบแทน

“Serve Our World” เป็นหนึ่งในค่านิยมหลักของแมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล โรงแรม และบริษัทในเครือของแมริออททั่วโลก มุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกในชุมชนต่างๆ ที่ดำเนินการผ่านงานอาสาสมัคร การระดมทุน การบริจาคเงิน และสิ่งของ เพื่อช่วยให้เยาวชนเข้าถึงการฝึกอบรม และโอกาสในการทำงาน ทางแมริออทได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างองค์กร (MoU) กับมหาวิยาลัยในประเทศไทย 5 แห่ง (มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์) เพื่อมอบโอกาสให้นักศึกษาสามารถฝึกงานที่โรงแรม และรีสอร์ททั้งหมดของแมริออทในประเทศไทย ส่วนด้านความยั่งยืน บริษัทยังให้โรงแรมทุกแห่งจัดตั้งคณะกรรมการความยั่งยืนภายใน เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญของโอกาสการเปลี่ยนแปลงที่จะสร้างความยั่งยืนที่มากยิ่งขึ้น สิ่งนี้จะช่วยจุดประกายในการขับเคลื่อนความยั่งยืนไปข้างหน้า ส่งผลให้โรงแรม ดิ แอทธินี อะ ลักซ์ชัวรี่ คอลเล็คชั่น โฮเทล กรุงเทพฯ กลายเป็นโรงแรมแห่งแรกในโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 20121 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดข้อกำหนดสำหรับการบริหารการจัดการงานอย่างยั่งยืน