Think In Truth

'ครูกายแก้ว'ผีกองก๋อยศาสตร์การเมือง โดย : หมาเห่าการเมือง



เมื่อเร็วๆ นี้ มีดรามาแห่งความงมงายที่เป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเคารพนับถือภูติ ผี ปีศาจ นั่นคือเหตุการณ์ขนย้ายรูปปั้นเทพอสูรย์ตนหนึ่ง มีคนเรียกว่า “ครูกายแก้ว” แล้วเกิดอุบัติเหตุ คือรูปปั้นหัวของรูปปั้นปีศาจตนนั้นไปติดสะพานลอย ไม่สามารถผ่านไปได้ เลยเกิดความวุ่นวายเล็กน้อยที่ทำให้รถติด แล้วกลายเป็นความสนใจของผู้คนขึ้นมา หลังจากที่ปล่อยลมยางรถให้ยุบตัวลงเล็กน้อย ก็ทำให้รูปปั้นปีศาจนั้นผ่านไปได้ และเอาไปติดตั้งไว้ที่สี่แยกรัชดา ห้วยขวาง บังเอิญทะเบียนรถบรรทุกรูปปั้น ดันไปตรงกับเลขรางวัลล็อตเตอรี่เข้า ผู้คนก็เลยแห่กันราบไหว้ ขอพรกันใหญ่ จนกลายเป็นกระแส

รูปปั้นปีศาจ"ครูกายแก้ว" หรือ “พ่อใหญ่บรมครูผู้เรืองเวทย์" เป็นที่พูดถึงตลอดเดือนสิงหาคม2566  โดยประวัติที่มาก็เป็นที่ทราบกันว่า  พระธุดงค์รูปหนึ่งได้เดินทางไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัดนครธม ประเทศกัมพูชา จนพบกับดวงจิตของครูกายแก้ว จากนั้นก็ได้รูปปั้นครูกายแก้ว ติดตัวกลับมายังจังหวัดลำปาง พร้อมมอบครูกายแก้ว องค์ขนาดเล็ก ขนาดหน้าตักประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งมีลักษณะเหมือนคนนั่งกอดเข่าให้กับ จ่าสิบเอกถวิล มิลินทจินดา หรือ พ่อหวิน หรือ อาจารย์หวิน นักร้องเพลงไทยเดิมของกองดุริยางค์ทหาร ก่อนที่จะส่งต่อให้ อาจารย์สุชาติ รัตนสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการตั้งศาลเทพ อาทิ พระพิฆเนศ (ห้วยขวาง) พระตีมูรติ (เซ็นทรัลเวิลด์) จนต่อมาครูกายแก้วได้ปรากฏกายให้อาจารย์สุชาติได้เห็น อาจารย์สุชาติจึงได้วาดภาพของครูกายแก้วจากจินตนาการ และทำการหล่อรูปองค์ครูขึ้นเป็นองค์แรก มีลักษณะของผู้บำเพ็ญ เป็นองค์ยืน คล้ายคนแก่ กึ่งมนุษย์กึ่งนก มีปีกด้านหลัง มีเขี้ยวทองเพื่อสื่อถึงนกการเวก อ้างอิงตามหลักฐานที่ปรากฎอยู่บนกำแพงบายน ที่มีประวัติของการเวกซึ่งเป็นพวกนักดีดสีตีเป่า ถือเป็นครูของศาสตร์ศิลป์ทั้งหลายในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของกัมพูชานำไปตั้งไว้ที่สำนัก เพื่อให้ลูกศิษย์ได้มาบูากราบไหว้

คำว่า “ครูกายแก้ว” น่าจะมาจากคำว่า การ์กอยล์ (Gargoyle) หรือ ปนาลี มาจากคำว่า Gargouille” (กากุยล์) ในภาษาฝรั่งเศสโบราณ แปลว่า “ปาก” การที่เสียงของคำว่า Gargoyle คล้ายเสียงกลั้วน้ำในปาก และคล้ายคำว่า Gargle” (บ้วนปาก) ในภาษาอังกฤษ คือสิ่งบอกใบ้ถึงความเป็นมาแห่งนามของ การ์กอยล์ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้ที่มีความเชื่อเรื่องนี้ ถือว่า เป็นเทพผู้พิทักษ์ ผู้คนจึงนิยมเอารูปปั้นปีศาจตนนี้ไปประดับไว้ตามอาคารต่างๆ เพื่อป้องกันภัยร้ายจากเหล่ามารทั้งหลาย  แต่โด่งดังอย่างมากคือ การ์กอยล์แห่งมหาวิหารนอเทรอดาม กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ความเชื่อในประเทศไทยก็มีในวัฒนธรรมของศาสนาผี ส่วนมากจะอยู่ในภาคอีสาน กองกอย เป็นผีป่าชนิดหนึ่ง มีลักษณะรูปร่างไม่เป็นที่ปรากฏชัด แต่โดยมากจะอธิบายว่าเป็นผีที่มีขาข้างเดียว เคลื่อนที่โดยการกระโดดไปด้วยขาเดียว และส่งเสียงร้องว่า "กองกอย ๆ" อันเป็นที่มาของชื่อ แต่บ้างก็ว่ามีปากเป็นท่อเหมือนแมลงวัน หรือเชื่อว่ามีหน้าตาคล้ายลิงหรือค่าง บ้างเรียก ผีโป่ง หรือ ผีโป่งค่าง สันนิษฐานว่า ความเชื่อเรื่องผีโป่งหรือผีกองกอยคือ ค่างแก่หน้าตาน่าเกลียดที่ไม่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ มีความเชื่อของคนบางกลุ่มว่า ถ้าได้ดื่มเลือดค่างจะทำให้ร่างกายคงกระพันเป็นอมตะ หรือแม้แต่สัตว์ป่าชนิดอื่นที่มีลักษณะผิดแผกไปจากปกติ ก็ถูกเชื่อว่าเป็นผีกองกอ โดยคำว่า "กอย" ตามนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า "น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดำ ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู เงาะ ก็เรียก

ภูตผีปีศาจ โดยวัฒนธรรมของศาสนาผี ไม่ได้สั่งสมความเชื่อนี้เพื่อความกลัว แต่เป็นการสร้างความเชื่อเพื่อการปกครอง เพราะผีในศาสนาผีเป็นกฏหมาย เชื่อผีบ้านผีเรือน เป็นกติกาที่ทำให้คนต้องปฏิบัติอย่างไรกับบ้าน เช่นรูปแบบการสร้างบ้าน การใช้บ้านเพื่อการอยู่อาศัย ถ้าไม่ทำตามจะเกิดอะไรขึ้น แล้วจะแก้ไข(รับโทษ)อย่างไร ซึ่งเงื่อนไขของการกำหนดกติกาจะอยู่ภายใต้หลักแห่งธรรมชาติ เช่น การปลูกบ้านจะต้องไม่หันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันตก เพราะเป็นทางออกของผี นั่นคือบ้านจะโดนแดดเผาแรงในช่วงบ่าย เป็นการผิดผี ต้องมีพิธีขอขมาผีด้วยการเสียเหล้าไห ไก่ตัว(เรียกคนในหมู่บ้านมากิน เพื่อรับรู้ถึงกติกานี้)

เมื่อฮินดูเข้ามามีอิทธพลเหนือนครวัดวัดนครธม  ซึ่งเดิมปกครองโดย กษัตริย์ศาสนาผี(ศาสนาฝ่ายหญิง)คือพระนางโสมาราชินี ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่สืบทอดจากฝ่ายผีที่ชนะอยู่เหนือศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาพระพรหม ศาสนาฮินดูแผ่อิทธิพลมาจากชาวทมิฬจากเมืองทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย เข้ามาที่ศรีลังกา มายังรัฐมอญประเทศพม่า เข้าสู่อินโดนีเซีย และมามีอิทธิพลในเวียนาม หรือแคว้นจามปา พระทอง(golden) ซึ่งเป็นนักบวชชาวอินเดีย ได้เข้ามายังนครหลวงหรือนครธม ได้แต่งงานกับพระนางโสมาราชินี และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ในนามพระเจ้าโกณฑิณญะวรมันต์เทวะ แล้วเคลมศาสนาพราหมณ์ เป็นพราหมณ์ฮินดู เอาพิธีกรรมของฮินดูเข้ามาผสม เช่นพิธีบูชายันต์ พิธีเกษียณสมุทร ทั้งหลายเหล่านี้เป็นการสร้างความกลัว เพื่อเพิ่มประชากร ในการแผ่อิทธิพลของชาวปาละวะ ในดินแดนอุษาคเณย์ พิธีบูชายันต์ เป็นพิธีกรรมบีบบังคับให้หญิงสาวต้องรีบมีสามีและมีบุตรก่อนอายุ 16 ปี ส่วนพิธีเกษียณสมมุทร เป็นพิธีที่สื่อถึงความวิเศษในการสมสู่เพื่อให้เกิดชีวิตใหม่ หรือจำลองมาจากพิธีแต่งงานที่มีทั้งเทวดาและยักษ์อุ้มชูพญานาคในปั่นแท่งหินลงในสะดือสมุทรจนเกิดน้ำอัมฤทธิ์(อสุจิ) ที่นางอัปสราคนไดได้ดื่มกินก็จะเกิดเป็นเทวดาบ้าง เป็นยักษ์บ้าง เป็นนาคบ้าง คือสรุปแล้วก็มีลูก

การสร้างความกลัวให้กับสังคมด้วยบูชายันต์ คือ ทำให้เจ็บแล้วกลัวตาย อีกยังใช้ผีเป็นการสร้างความกลัวในศาสนาผี ซึ่งเป็นคนหมู่มากในดินแดนอุษาคะเณย์ การสร้างเรื่องให้กลัวเพื่อให้เกิดความเคารพ จึงถูกสร้างนวัตรกรรมนี้ขึ้นมา ครอบงำและแผ่อิทธิพลกว้างออกไปจากพระเจ้าโกณฑิณญะวรมันต์เทวะ ถ่ายทอดพิธีกรรมขี้จากรุ่นสู่รุ่น จนถึงยุคพระเข้าชัยวรมันต์ที่ 7 ดังนั้นการสร้างความกลัว แล้วสร้างบุญคุณให้เชื่อจึงถูกใช้ในการเมืองในดินแดนอุษคะเณย์มาโดยตลอด ถึงแม้นโลกจะวิวัฒนาการไปไกลแค่ไหน กรอบความคิดทางการเมืองการปกครองนี้ก็ยังคงถูกใช้อยู่เสมอมา นั่นคือ ทำให้เจ็บแล้วรักษา ทำให้จนแล้วเยียวยา และทำให้โง่แล้วปกครอง