Think In Truth

'แจกเงินหมื่น'หน้าชื่นตาบานกันทั้งเมือง? โดย : หมาเห่าการเมือง



หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมตรี ต่อมาก็มีประกาศพระราชกิจจานุเบกษาแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ก็มีการทวงถามนโยบายเงินดิจิตอลหนึ่งหมื่นบาทต่อเนื่องโดยตลอด ซึ่งน.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า พรรคเพื่อไทยยืนยันว่านโยบายเงินดิจิทัล 10,000 เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คาดว่าต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เชื่อว่าขั้นต่ำจะสามารถทำได้ใน 6 เดือน เพราะต้องจัดทำระบบบล็อกเชน (blockchain) ให้สามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้และพื้นที่การใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะต้องหารือกับส่วนราชการต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไปสร้างสกุลเงินใหม่เพียงแต่เป็นการหาวิธีกระจายงบประมาณส่วนหนึ่งจากงบที่มีอยู่ 3.3 ล้านล้านบาท มาจัดสรรมาเพื่อรองรับนโยบายเงินดิจิทัลให้พอจ่าย และเป็นหลักประกันการใช้จ่าย

ถ้าจะพิจารณากันอย่างละเอียดแล้ว  นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท มันไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างได้ และวงการธุรกิจหลายๆ วงการก็ยังคงใช้เงินแบบคูปอง(TOKEN) นี้อยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าสแตมป์ 7-11 คูปองร้านค้า ซุปเปอร์สโตร์ หรือแม้แต่ วอเชอร์(VOUCHER) ตามโรงแรม สนามกอล์ฟ สถานบริการ รวมแม้กระทั่งร้านอาหารที่แข่งขันทางการตลาด หากแต่ คูปองพวกนี้เป็นทรัพย์สินที่เป็นเครดิตในการประเมินมูลค่าในธุรกิจนั้นๆ ตามที่ผู้ประการธุรกิจนั้นเป็นผู้กำหนด การกระตุ้นให้เกิดการใช้เครดิตของคูปองเหล่านี้ คือการจำกัดเวลาถือครอง ดังนั้นผู้ใช้คูปองจึงเป็นผู้ที่มีสถานะทางการเงินที่มากพอจะถือครองคูปองและวางแผนในการใช้คูปองนั้นอย่างคุ้มค่า เช่น นักกอล์ฟคนหนึ่ง รู้ว่าตนเองต้องไปตีกอล์ฟ เดือนละ 8-10 ครั้ง ในหนึ่งปี เขาจะต้องออกรอบ โดยประมาณ คร่าวๆ 100 รอบ ดังนั้น ถ้าเขาออกรอบที่สนามกอล์ฟแห่งหนึ่ง รอบละ 4000 บาท ในหนึ่งปี เขาจะต้องจ่ายค่ากรีนฟีรวมรายการที่สนามกำหนด 400000 บาท ถ้าสนามเปิดขายบัตรสมาชิก 1 ปี ราคา 250000 บาท โดยจะออกกี่รอบก็ได้ นักกอล์ฟคนนี้ ซื้อล่วงหน้า 250000 บาทในหนึ่งปี เขาก็ถือว่าคุ้ม แต่ถ้าปีไหน เขาป่วย และปีนั้นเขาได้ออกรอบเพียง 20 ครั้ง นั่นหมายความว่า เขาจะจ่ายค่ากรีนฟรีในฐานะบัตรสมาชิก รอบละ 12500 บาท ซึ่งแพงกว่านักกอล์ฟวอล์คอินทั่วไป

ความต่างกันของดิจิตอลวอลเล็ตส์กับคูปอง ก็เป็นเพียงดิจิตอลวอลเล็ตส์ จะเก็บหลักฐานการใช้จ่ายอยู่บนบล็อกเชน (blockchain) ซึ่งไม่หาย ไม่เปื่อย ไม่ชำรุด คนอื่นขโมยใช้ไม่ได้ แต่คูปองเป็นกระดาษที่จัดพิมพ์ขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกนำมาแสดงเพื่อรับสินค้าและบริการจากผู้ให้บริการ

ในระดับชุมเคยมีการใช้เงินแบบนี้มาแล้ว แต่ก็ถูกทางกระทรวงการคลังเข้าไประงับให้เลิกใช้ นั่นคือ “เงินกุดชุม” ซึ่งเงินกุดุมเองก็ใช้กระบวนการเดียวกันกับกิฟท์วอเชอร์ สแตมป์ 7-11 หรือคูปองอื่นๆ โดยกรรมการเงินกุดชุมเป็นผู้ออก เพื่อให้สมาชิกมาแลกสินค้า โดยที่กรรมการเป็นตัวแทนในการใช้เงินจริงไปแลกสินค้ามาบริการสมาชิกในชุมน ซึ่งถ้าว่าไปแล้ว เงินกุดชุมก็ไม่ได้แตกต่างไปจากธุรกิจอื่นๆ แต่ทางการไทยในยุคนั้นก็ห้ามดำเนินการ โดยอ้างถึงความผิดทางกฏหมายใน พรบ.การเงิน แล้วกิจกรรมคูปองชุมชน ในนาม “เงินกุดชุม” ก็หายไป

นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย เป็นนโยบายที่ดี ถ้าบริหารจัดการดี จะสร้างเศรษฐกิจของาติ เพิ่มจีดีพี เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เท่าที่มีการสื่อความหมายและจุดประสงค์ในการได้มาซึ่งเงินดิจิตอล เป็นไปในทางฉิบหายทางเศรษฐกิจ เพราะผู้ที่จะได้รับก็ตั้งหน้าตั้งตาจะนำเงินไปใช้ให้ได้สินค้ามาบริโภค โดยไม่เกิดผลผลิตต่อเนื่อง และผู้จะให้ก็ให้แบบหยอดข้าวต้ม ที่ไม่มีกระบวนการไดที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เท่ากับกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไฟไหม้ฟาง สุดท้ายเม็ดเงินก็ไปกองอยู่กับทุนใหญ่ผู้มีสินค้าขายให้ประชาชนบริโภค พอเงินหมดแล้ว บริโภคหมดแล้ว ประชาชนก็กลับมาจนเหมือนเดิม นั่นก็เท่ากับยืมมือประชาชน ฟอกเงินดิจิตอล เป็นเงินจริง ในกระเป๋าของนายทุน โดยประชาชนได้ 10000 บาท เมื่อฟอกผ่านมือประชาชนแล้ว เงินจริงก็จะงอกในกระเป๋าของนายทุน 50000 บาท เพราะเงินหนึ่งหมื่นบาท ปล่อยลงมา จากข้อมูลทางวิชาการ บอกว่า เงินจะหมุนประมาณ 6 รอบ เท่ากับ เงิน 10000 บาท จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดขึ้นถึง 60000 บาทนั่นเอง แต่.....มันผ่านมือประชาชนเพียงแค่ครั้งเดียว นี่สิ เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศอันเกิดจากความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นกว่าเดิม แล้วรัฐบาลเศรษฐา จะตั้งรับอย่างไรกับการเกิดภาวะเงินเฟ้อ ในอนาคต

แต่นั่นก็เป็นเพียงประเด็นในด้านเดียวที่จะก่อปัญหาทางเศรษฐกิจของชาติในอนาคตอันเนื่องจากนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่ถ้ารัฐบาลมีนโยบายในการบริหารที่ดี นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเป็นการลงทุนในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน ถ้าเข้าใจสิ่งที่เป็นปัญญาสะสมไว้ในวัฒนธรรมของไทย นั่นคือ “ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ” นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นหรือบู้ทกระบวนการผลิตในระดับชุมชน ก่อนให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากร ให้เป็นผลผลิตในการกินอยู่ และแปรรูปไปสู่สินค้าที่กระจายไปยังตลาดสากลทั่วโลก เช่นมองเพียงแค่ทรัพยากรตัวเดียว คือ “พริก” กระบวนการผลิตพริกของชาวบ้าน สามารถดำเนินการได้ไม่ยาก หากรัฐให้การสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิต เช่นแหล่งน้ำ การตลาด การแปรรูป รัฐให้การศึกษาถึงเรื่องของพริกว่า ประเทศไทยสามารถผลิตได้ในปริมาณเท่าไหร่ บริโภคภายในประเทศเท่าไหร่ พริกสามารถแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่งพริก เป็นทรัพยากรที่สามารถแปรรูปไปได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอางค์ เป็นต้น หรือจะมีการต่อยอดด้วยงานวิจัย เช่น แหล่งพลังงานไฟฟ้าจากพริก เป็นต้น กระบวนการผลิตพริก ก็จะกลายเป็นรายได้ของประชาชนในระดับรากหญ้าอย่างต่อเนื่อง กระบวนการแปรรูปและการตลาดก็จะกลายเป็นรายได้ของพ่อค้า นายทุน ผู้ส่งออก นี่จึงเป็นโยบายกระจายโอกาสและรายได้ที่สร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นองค์รวม

กระบวนการพัฒนาอย่างบูรณาการ ที่จัดสรรทรัพยากร และโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม และถูกจัดสรรอย่างเป็นธรรม การพัฒนาประเทศอย่างเป็นองค์รวมด้วยนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท สามารถที่จะสร้างความเจริญ ความศิวไลซ์ ของบ้านเมืองได้อย่างไม่อยากเย็น

ด้วยประสบการณ์และผลงานด้านกองทุนหมู่บ้าน ที่สร้างรากฐานจากชุมน ไปสุ่เศรษฐกิจมหรรพภาค จนสามารถกอบกู้ประเทศชาติจากพันธนาการหนี้สิน IMF ได้ก่อนเวลากำหนด นั่นก็เกิดจากนโยบายที่ร่วมกันสร้างเศรษฐกิจของชาติอย่างบูรณาการ หวังว่ารัฐบาลเพื่อไทยที่นำโดยท่านายกเศรษฐา ทวีสิน จะนำเอาประสบการณ์ และนวัตรกรรมใหม่มาวางกระบวนการพัฒนาประเทศให้เจริญศิวิไลซ์ ให้ประชาหน้าชื่น ตาบาน อย่างที่ประชานรอคอย