Think In Truth

เกมส์การเมืองที่'เพื่อไทย'ทุ่มหมดหน้าตัก โดย : หมาเห่าการเมือง



คณะรัฐมนตรี “เศรษฐา1” ได้รับการโปรดเกล้าลงมาแล้ว และวันนี้ (5 สิงหาคม 2567) นายเศรษฐา ทวีสิน ได้นำ ครม.ที่ได้รับปรดเกล้าแล้ว เข้าถวายสัตย์ นั่นเป็นการเริ่มต้นของการเข้าดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ที่รัฐบาลเศรษฐา1 จะได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่บริหารราการแผ่นดิน โดยหลังจากนี้รัฐบาลเศรษฐา1 ก็จะได้กำหนดวันในการแถลงนโยบาย เพื่อเป็นสัญญาประชาคม ที่รัฐบาลจะตั้งดำเนินการให้เกิดขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาล เศรษฐา หรือหลังจากนี้ไปอีก 4 ปี

รัฐบาลข้ามขั้ว “เศรษฐา1” เป็นการการรวมกันระหว่างรัฐบาลเสียงข้างน้อยเข้ากับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทยที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ผิดหวังมาก ชึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีก็ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทยยอมทุ่มหมดหน้าตักเพื่อให้ได้เป็นรัฐบาล ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นการแลกกับการกลับบ้านของ ดร.ทักษิน ชินวัตร โดยได้รับการอภัยโทษ และกลายเป็นนักโทษที่ต้องจำคุกต่ำกว่าหนึ่งปี ภายในหนึ่งวัน หลังจากได้รับอภัยโทษ ที่สามารถขอพักโทษได้ ภาพลักษณ์ของรัฐบาลเศรษฐา1 จึงถูกมองในทางที่ไม่ค่อยสง่างามนัก จึงถูกสังคมคอยจับผิดแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นการโยนปากกา เป็นต้น

แต่นั่นก็เป็นเพียงดรรชนีที่ชี้ให้เห็นว่า ต้นทุนทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยที่สะสมความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นของประชาชนลดหายไปมาก หรือแทบจะไม่เหลืออย่างที่นายเศรษฐา นายกรัฐมนตรีได้บอกไว้ แต่การทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองนั้น พรรคเพื่อไทยต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อแลกกับการได้ความเชื่อถือ และศรัทธาต่อพรรคเพื่อไทยกลับมา ซึ่งพรรคเพื่อไทยต้องเป็นนายแบก ที่จะต้องรับภาระกับผลของการกระทำที่เกิดจากการบริหารของพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อรักษาฐานอำนาจการปกครอง และรักษาซึ่งฐานแห่งความน่าเชื่อถือและศรัทธาประชาชน “เกมส์การเมือง” เกมนี้ของพรรคเพื่อไทย ถือว่าเป็นเกมที่ยาก เป็นเกมที่เสี่ยงต่อความล่มสลายของพรรคเพื่อไทย แต่ถ้าหากดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้ก็จะรักษาสถานะพรรคอันดับสอง ในทางการเมืองในสมัยต่อไปเท่านั้น และถ้าจะต้องพลิกกลับมาเป็นพรรคอันดับหนึ่ง เพื่อชิงความเป็นแชมป์กลับมานั้น คงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย

นโยบายเร่งด่วนของพรรคเพื่อไทยที่จะดำเนินการในรัฐบาลเศรษฐา1 คือ ลดค่าครองชีพของประชาชนลง โดย ลดค่าไฟฟ้า ค่าพลังงาน ลง ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นโยบายที่จะพยายามรักษาความรู้สึกของประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ THAIRATT Money ระบุว่า นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ แกะนโยบาย ลดค่าไฟฟ้า ที่เป็นประเด็นสำคัญของการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ที่ต้องการเข้ามาปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีค่าไฟที่ถูกลง ทั้งนี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า จะไม่กระทบกับกำไรของธุรกิจโรงไฟฟ้า เนื่องจาก เน้นลดต้นทุนเป็นหลัก " นั่นหมายถึงพรรคเพื่อไทยจะต้องดำเนินนโยบายที่รักษาผลประโยชน์ของทุน และประชาชน ไว้เพื่อเป็นฐานสนับสนุนทางการเมืองของตน การแบกรับภาระราคาพลังงานที่หายไป โดยที่รายได้ของนายทุนพลังงานยัคงไม่ได้รับผลกระทบนั้น ก็จะเห็นได้ว่า พรรคเพื่อไทยต้องทำหน้าที่เป็นนายกแบก เพื่อรองรับการแก้ปัญหานี้

นโยบายเร่งด่วนอีกหนึ่งนโยบาย คือ นโยบายแจกเงิน Digital Wallet 10000 บาทนั้น ก็เป็นนโยบายหนึ่งที่เสี่ยงต่อการบริหารการเงินการคลัง ซึ่ง Digital Money นั้น เป็นคูปองเครดิต ที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าได้โดยรัฐเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่ง ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย มองว่า “Digital Money ที่รัฐบาลจะแจกให้ประชาชนนั้น ไม่ได้อยู่ในสถานะของความเป็นเงิน เพราะเงินจะมีค่าก็ต่อเมื่อ 1. มีอัตราดอกเบี้ย คือราคาของเงินในปัจจุบัน เทียบกับมูลค่าของเงินในอนาคต ถ้าเราคิดว่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต  2.อัตราแลกเปลี่ยน คือราคาของเงินสกุลที่ออกโดยธนาคารกลางประเทศหนึ่ง เทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ถ้ามีปัจจัยด้าน demand supply ความน่าเชื่อถือ 3. เงินเฟ้อ คือ ราคาของเงินเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการ ที่เงินสามารถซื้อได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมถึงปริมาณเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ demand supply ของสินค้า  4.Par หรือราคาของเงินสกุลเดียวกันในรูปแบบต่างกัน เช่น เราอาจจะนับว่า ธนบัตร เหรียญ เงินฝากธนาคารทึ่ออกโดยแต่ละธนาคาร เงินใน wallet ที่ออกโดย provider แต่ละคนว่าเป็นเงินบาทเหมือนกัน” ความเสี่ยงในการทุ่มหมดหน้าตักของพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ ถือว่าเสี่ยงมาก คือ เงินดิจิตัล ที่เป็นเพียง TOKEN CIOL ถึงแม้จะถูกบริหารจัดการบน Blockchain ก็ตาม แต่มันเริ่มต้นจากเครดิตที่รัฐบาลรับรอง โดยผ่านมือประชาชน ถ้าการผ่านเงินรอบแรกสำเร็จ ประชาชนสามารถบริหารจัดการเงินเหล่านั้นให้เกิดผลผลิตที่ก่อรายได้ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง TOKEN CIOL ก็จะกลายเป็นสิ่งมีค่าเสมือนเงิน ที่จะเป็นตัวชี้วัดจีดีพีได้จริง และผลประโยชน์จะตกที่ประชาชน 1 ส่วน คือการผ่านเงิน แล้วมูลค่าของ TOKEN CIOL ก็จะไปอยู่ในมือของทุน อีก 5 ส่วน ซึ่งนั่นก็ยังถือว่าประชาชนเกิดผลผลิตที่เกิดจาก TOKEN CIOL ที่ยังผลต่อเศรษฐกิจต่อเนื่อง แต่ถ้า TOKEN CIOL เหล่านี้ เป็นเพียงเครดิตในการแลกกิน เมื่อหมดแล้ว TOKEN COIL จะมีค่าในระยะสั้น หลังจากนั้น ภาวะความเหลื่อมล้ำจะเกิดขึ้น ภาวะเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้น กลุ่มทุนที่ได้ประโยชน์ก็ไปแล้ว ภาระทั้งหมดก็จะเกิดกับประชาชนคนไทย ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลเศรษฐา1 จะตัดสินใจบริหารจัดการอย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อกล้าเสี่ยงทุ่มหมดหน้าตัก ก็ต้องกล้าได้กล้าเสียแบบสิ้นสูญวอดวายกันทั้งบ้านทั้งเมือง หรือการกลับมายิ่งใหญ่ของพรรคเพื่อไทย ในฐานะพรรคการเมืองที่ประสบผลสำเร็จในการบริหาร

ต่อนโยบายขึ้นค่าแรงนั้น ทางรัฐบาลเศรษฐา1 ได้ให้คำตอบว่า จะสามารถดำเนินการได้ ประมาณปี 4570 ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นเกมที่จะใช้นโยบายขึ้นค่าแรงในการหาเสียงในสมัยต่อไปด้วย ซึ่งในปี พ.ศ. 2570 ยังตอบไม่ได้ว่าจะมีความพร้อมในการขึ้นค่าแรงกันหรือไม่ แต่ก็ยังคงรักษานโยบายนี้ไว้เพื่อเลี้ยงความรู้สึกของชาวผู้ใช้แรงงานให้รู้สึกมีความหวัง และให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยต่อไปนั่นเอง

ส่วนการดำเนินการบริหารกระทรวงกลาโหมนั้น หลังจากที่นายสุทิน คลังแสง ได้เข้าพบผู้นำเหล่าทัพ ก็แสดงออกถึงความสบายใจ ที่ทางผู้นำเหล่าทัพพร้อมที่จะปฏิรูปกองทัพ โดยเดือนเมษายนปี 2567 กองทัพจะรับทหารเกณฑ์โดยสมัครใจ แต่การปรับอัตรานายพลลงนั้นคงจะสามารถดำเนินการได้ในปี 2570 นั่นก็เป็นการผ่อนปรนความรู้สึกของประชาชนลง โดยที่ครั้งนี้ มี รมต.กลาโหมเป็นพลเรือน และเสมือนว่า รมต.พยายามที่จะรักษาสมดุลการดำเนินการตามนโยบายที่เป็นความประสงค์ของประชานด้วยความประนีประนอม และปฏิรูปไปด้วยความสงบ เรียบร้อย ไม่เกิดความขัดแย้ง

แนวทางในการดำเนินโยบายของพรรคเพื่อไทย เท่าที่เห็นการดำเนินการก่อนเข้าถวายสัตย์ในการดำรงตำแหน่ง ทั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี สามารถที่จะมองได้ว่า พรรคเพื่อไทยมีความพยายามที่จะดำเนินการทางการเมือง โดยให้ได้อำนาจในการปกครองมาอยู่ในมือของฝ่ายตน เพื่ออาศัยอำนาจที่มี ดำเนินการสร้างความปรองดองของคนในชาติ ด้วยการสลายขั้วทางการเมือง สลายสีเสื้อเพื่อความสมานฉันท์ ซึ่งก็พอที่จะมองเห็นภาพได้ แต่ภาพหนึ่งที่ทำให้สังคมเห็นเด่นชัดมากขึ้น คือพรรคเพื่อไทยกำลังหยุดสงครามสีเสื้อ แต่ก่อสงครามชนชั้น สงครามชนชั้นที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากพรรคเพื่อไทย แต่เกิดจากความแตกต่างกันระหว่างชนชั้นสามัญชน กับชนชั้นนำ ขนขั้นนายทุนและชนชั้นข้าราชการ สื่อกลางที่ทำให้เกิดการปะทะกันทำให้เกิดความแตกต่าง คือ การเข้าถึงทรัพยากร โดยเฉพาะงบประมาณที่มาจากรายได้ของรัฐที่มาจากภาษีของประชาชน ถึงแม้ว่ากลุ่มทุนจะมองว่า ฝ่ายตนเสียภาษีมากกว่า แต่ในความเป็นจริง กลุ่มทุนไม่เคยเสียภาษีเลย เพราะบิลทุกใบที่ประชาชนต้องจ่ายจะมีภาษีกำกับทุกใบ นั่นหมายถึงประชานเป็นผู้จ่ายภาษีโดยผ่านมือกลุ่มทุนเท่านั้น ประชาชนมองว่า รายได้ของรัฐที่มาจากภาษีประชาชนและการประกอบการของรัฐในฐานะรัฐวิสาหกิจ ควรต้องเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ประชาชนมองกลุ่มชนชั้นนำ กลุ่มทุน กลุ่มข้าราชการ จะมองงบประมาณคือขุมทรัพย์ที่ต้องเข้าไปกอบโกยโดยกีดกันไม่ให้ประชาชนชนชั้นสามัญไม่ให้เข้าถึง

ในความแตกต่างทางความคิดระหว่างชนชั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ดร.ทักษิณ ชินวัตร เคยบอกไว้ว่า การบริหารบ้านเมืองในสมัยที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี มีความผิดพลาดในเรื่องของการสร้างสมดุลของอำนาจ จนทำให้ ดร.ทักษิณ ชินวัตรเองต้องระเห็ดระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศถึง 17 ปี แต่การกลับมาครั้งนี้ ถึงแม้ว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตรจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือว่ากันเป็นนัยๆ ว่าเป็นตัวประกัน ก็ตาม เชื่อว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร คงจะได้ถ่ายทอดประสบการณ์และนวัตรกรรมการบริหารความขัดแย้ง ที่เกิดจากความแตกต่างทางความคิด สู่นักการเมืองรุ่นใหม่ ที่จะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารประเทศ ให้สามารถบริหารความขัดแย้ง และนำพาองคาพยบประเทศไทยยืนอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นที่รักของคนทั้งโลก เป็นผู้นำทางคุณธรรม จริยธรรมของโลก รวมทั้งแนวทางการอยู่ร่วมกันของคนทั้งโลกอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานความคิดของชาวโลกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่สมดุล เอื้อเฟื้อ สันติ มีวัฒนธรรมที่เป็นศูนย์กลางของโลกต่อไป