Think In Truth

Land Bridge เมืองไทยไม่มีความจำเป็น โดย : หมาเห่าการเมือง



ประเทศไทยมีโครงการที่จะขุดคลองคอดกระ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านเรือสินค้าที่จะผ่านจากทางทะเลจีนไปยังอันดามัน ซึ่งจะลดเสนทางเดินเรือและระยะเวลาในการขนส่งสินค้า ถึง3-7 วัน ตามกำลังขับของเรือเดินสมุทร ซึ่งเดิม เรือสินค้าจะขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกา โดยมี สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางในการจัดการการขนถ่ายสินค้า จึงทำให้เศรษฐกิจของสิงค์โปร์มีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่าประเทศในเอเชียทุกประเทศ การขุดคลองคอดกระจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์มาก ซึ่งอาจจะทำให้สิงค์โปร์กลายเป็นเพียงเกาะของชาวประมงเหมือนก่อนที่จะเป็นเมืองท่าก็เป็นได้ จึงส่งผลถึงการนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ ไม่ว่าทั้งในยุโรปและอเมริกามีการแทรกแซงการเมืองในประเทศไทย เพราะทั้งยุโรปและอเมริกามีผลประโยน์ในเกาะสิงค์โปร์มาก รวมทั้งเป็นกองบัญชาการการควบคุมความสงบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องกำกับพันธมิตร ไม่ว่าประเทศไทย มาเลเซีย อินโนีเชีย ฟิลิปินส์ ญี่ปุ่น และใต้หวัน

หลายครั้งที่ประเทศไทยมีนโยบายในการขุดคลองคอดกระ ก็จะเกิดปัญหาความไม่สงบเกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยอยู่เสมอ ครั้งใหญ่สุดคือวันที่ 1 สิงหาคม 2536 ที่เกิดการเผาโรงเรียนในภาคใต้ของประเทศไทย ถึง 36 โรงเรียน และมีการเผาโรงเรียนในทางภาคใต้ตลอดมา รวมทั้งการปูความคิดว่า ถ้าตัดแผ่นดินออกจากกัน หรือขุดคลองคอดกระ จะทำให้เกิดการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งเจตคตินี้ยังคงติดอยู่ในความรู้สึกของคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้

ในรัฐบาล คสช. รวมกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน จึงมีแนวความคิดในการขุดคลองเชื่อมในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการขุดคลองไทย ทั้ง 2A , 5A , 7A และ 9A แต่แล้ว คณะกรรมการศึกษาการศึกษาความเป็นไปได้ ก็มาจบที่การสร้าง Land Bridge

เเลนด์บริดจ์ (Land Bridge) เป็นโครงการก่อสร้างท่าเรือนํ้าลึก 2 ฝั่งทะเล คือ ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ในจังหวัดชุมพร เเละ ท่าเรือนํ้าลึกฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง โดยมีเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 เเห่ง ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ได้แก่ ทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร ทางรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 2 ทาง เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกับ “คลองไทย” ที่ต้องการเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า คาดว่าการศึกษาทั้งโครงการฯจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2567 จากนั้นจะหาผู้รับจ้างในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เพื่อเริ่มก่อสร้างโครงการในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ในปี 2573 โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง 1.5 ล้านล้านบาท

หากจะมีการสร้าง (Land Bridge) ควรศึกษาการสร้าง (Land Bridge) ในประเทศมาเลเซีย มาเป็นเครื่องมือในการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อเป็นโมเดลในการทำ Bench Mark เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ ก็ลองพิจารณาข้อมูลนี้ดูบ้างว่า

ในปัจจุบัน มาเลเซียยังไม่มี Land Bridge ที่เชื่อมระหว่างชายฝั่งตะวันออกกับชายฝั่งตะวันตกของประเทศมาเลเซีย เนื่องจากทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียมีลักษณะเป็นคาบสมุทรที่ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ ทำให้มีช่องแคบขนาดใหญ่กั้นระหว่างชายฝั่งตะวันออกและชายฝั่งตะวันตก จึงทำให้การสร้าง Land Bridge ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างยากและต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียยังมีแผนที่จะสร้าง Land Bridge แห่งใหม่ เชื่อมระหว่างรัฐกลันตันบนชายฝั่งตะวันออกกับรัฐยะโฮร์บนชายฝั่งตะวันตก สะพานแห่งนี้มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2573 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ประมาณ 4 แสนล้านบาท

โครงการ Land Bridge นี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลมาเลเซียในปี พ.ศ. 2565 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2569 สะพานแห่งนี้จะเป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก และจะช่วยเชื่อมระหว่างชายฝั่งตะวันออกและชายฝั่งตะวันตกของมาเลเซียเข้าด้วยกัน ทำให้การเดินทางระหว่างสองฝั่งเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ประเทศมาเลเวียได้ดำเนินการสร้าง  Land Bridge มาแล้วหนึ่งปี และดำเนินการไปแล้วประมาณ 40% แทนที่ประชาชนในประเทศมาเลเซียจะรู้สึกภาคภูมิใจ ในการสร้างแลนด์บริจด์  Land Bridge ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศ กลับรู้สึกกังวลว่า การสร้างแลนด์บริจด์  Land Bridge จะก่อให้ประเทศมีภาระหนี้สินที่เกิดแลนด์บริจด์โดยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจตามมา เพราะภาวะของการพัฒนาของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว การลงทุนแบบทุนข้ามชาติเพิ่มขึ้น ผุ้ลงทุนเล็งการทำตลาดที่ได ก็จะไปลงทุนสร้างฐานผลิตที่นั่น ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งโลก ซึ่งจะส่งผลต่อธุรกิจลอจิสติกส์การขนส่งสินค้าลดจำนวนลง ซึ่งจะกระทบต่อท่าเรือและเส้นทางการขนส่งสินค้าเป็นอย่างมาก

อีกทั้งความตึงเครียดระหว่างมหาอำนาจอเมริกากับจีน เหนือน่านน้ำทะเลจีน รวมทั้งความพยายามจะควบรวมประเทศใต้หวันเข้าไปอยู่ในการปกครองของจีน และการขยายอิทธิพลเหนือหมู่เกาะสแปรซลี่ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสากลที่ประเทศจีนพยายามมีอิทธิพลเหนือหมู่เกาะดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ร่องน้ำลึกเพื่อการเดินเรือในน่านน้ำสากลของประเทศต่างๆ ที่ใช้เส้นทางเดินเรือผ่านหมู่เกาะสแปรสลี่

หลังจากที่ประเทศจีนได้อ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรซลี่ ก็ได้ขีดเส้นน่านน้ำสากล ขยายออกมามาจนชิดดินแดนประเทศต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศฟิลลิปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเชีย เวียดนาม ไม่พอใจที่จีนได้ขีดเส้นดินแดนในทะเล คร่อมหมู่เกาะต่างๆ ที่อยู่ในการปกครองของประเทศเหล่านนั้น เป็นของประเทศจีน ความขัดแย้งเหล่านี้ยังคงเป้นข้อพิพาททางทะเลในทะเลจีนใต้ไปอีกยาวนาน ซึ่งจะส่งผลกระทบถึง เส้นทางการเดินเรือในการขนส่งสินค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศมาเลเซียรู้สึกกังวลต่อโครงการสร้างแลนด์บริจด์ ว่าจะไม่ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างที่คาดหวัง และจะยังคงเป็นภารวะในความรับผิดชอบในการใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ถึง 4 แสนล้านบาทอีก

ลองหันกลับมาดูการสร้างแลนด์บริจด์  Land Bridge ในประเทศไทยดูบ้าง

Land Bridge ที่เชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทย กับทะเลอันดามัน เป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างศึกษาและวางแผน โดยโครงการนี้จะเป็นการสร้างสะพานบกที่เชื่อมระหว่างจังหวัดชุมพรในประเทศไทย กับรัฐกลันตันของมาเลเซีย ความยาวของสะพานแห่งนี้ประมาณ 100 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2573

โครงการ Land Bridge นี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาคเป็นอย่างมาก สะพานแห่งนี้จะช่วยให้การเดินทางระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามันเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าและการลงทุนในภูมิภาค

ประโยชน์ของ Land Bridge ที่เชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทย กับทะเลอันดามัน

  • ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
  • ทำให้ผู้คนสามารถเดินทางเข้าออกได้อย่างสะดวกมากขึ้น
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • กระตุ้นเศรษฐกิจ

ตัวอย่างการใช้ Land Bridge ที่เชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทย กับทะเลอันดามัน

  • นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจากอ่าวไทยไปยังทะเลอันดามันได้อย่างรวดเร็วและสะดวก
  • สินค้าและบริการสามารถขนส่งจากอ่าวไทยไปยังทะเลอันดามันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
  • แรงงานจากอ่าวไทยสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในทะเลอันดามันได้สะดวกมากขึ้น

รายละเอียดของโครงการ Land Bridge ที่เชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทย กับทะเลอันดามัน

  • เส้นทางของสะพาน จะเริ่มต้นจากบริเวณอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพรของประเทศไทย ข้ามทะเลอ่าวไทย ไปยังบริเวณรัฐกลันตันของมาเลเซีย สิ้นสุดที่บริเวณเมืองโกตาบารู
  • สะพานแห่งนี้จะเป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
  • โครงสร้างของสะพาน จะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ประกอบด้วยสะพานแขวนและสะพานคอนกรีต
  • งบประมาณในการก่อสร้าง ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
  • ระยะเวลาในการก่อสร้าง ประมาณ 10 ปี

โครงการ Land Bridge นี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียในปี พ.ศ. 2565 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2570  โดยงบประมาณในการก่อสร้าง ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท สะพานแห่งนี้จะเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาคเป็นอย่างมาก

หากได้นำข้อกังวลใจของประเทศมาเลเซียมาร่วมพิจารณา ประเทศไทยจะยังคงแผนแม่บทในการสร้างแลนด์บริจด์ เพื่อหวังเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอีกอยู่ไหม??...ลองมองสิ่งอื่น ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจที่เร็วกว่า โดยไม่ต้องเสี่ยงในการแข่งขันกับสิงคโปร์และมาเลเซียจะดีกว่าไหม สร้างศูนย์กลางทางการค้า ศูนย์กลางในการซ็อปปิ้ง ศูนย์กลางในการท่องเที่ยว ศูนย์กลางอาหารเพื่อสุขภาพ โดยปล่อยให้อ่าวไทย เป็นอ่าวแห่งความปลอดภัย Save Zone ที่จะเกิดมูลค่า โดยไม่ต้องลงทุนก่อสร้างสิ่งใดๆ เพียงแค่บริหารจัดการที่ดี ก็จะเกิดรายได้มาหาศาลทางบริการเข้าประเทศไม่ดีหรือ???....

ประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องไปยืนอยู่ท่ามกลางของการต่อสู้ของกระทิงเปลี่ยวที่กำลังต่อสู้กัน แต่ประเทศไทยสามารถนั่งอยู่ข้างๆ ขอบสนาม ดูกระทิงไล่ขวิดกัน และคอยยื่นผ้าพันแผล แอลกอฮอล์ หรืออย่างอื่นที่สนามการต่อสู้ของกระทิงเปลี่ยวต้องการก็ได้ ดังนั้นแลนด์บริจด์  Land Bridge จากชุมพร ไปถึงระนอง จึงไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้าง ให้สิ้นเปลืองงบประมาณถึง 1.5 ล้านล้านบาท ที่ต้องมานั่งกังวลต่อเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่โยนภาระหนี้สินผูกพันไว้ให้กับคนรุ่นหลัง รับผิดชอบ ผมเห็นด้วยกับรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ที่หยุดโครงการแลนด์บริจด์ Land Bridge  นี้ไว้ก่อน