Think In Truth

ถึงเวลากวาดบ้านปฏิรูปสำนักงานตำรวจฯ โดย : หมาเห่าการเมือง



ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 กรมตำรวจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้ถ่ายโอนไปขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้มีการกราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นประธานในการทำพิธีเจิมป้ายชื่อใหม่ โดยมี พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรกเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย

ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ตลอด เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

จากการปรับเปลี่ยนกรมตำรวจ มาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ร่วมเวลามา 25 ปีกว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดในการปฏิรูปจนถึงปัจจุบัน คือ ประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งาติ มีระบบ มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น มีการประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ แต่ในความมีประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับไม่ได้เพิ่มความพึงพอใจให้กับประชาชนเท่าที่ควร โดยเฉพาะการทำงานของตำรวจทางหลวง ที่ให้บริการประชาชนในการเดินทาง สัญจรไปมาบนเส้นทางการเดินทาง แต่กับกลายเป็นความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ แต่พึงพอใจกับผู้ประกอบการขนส่งที่สามรรถหลีกเลี่ยงกฏหมายให้ทำงานได้สะดวกมากขึ้น

จากการเปิดประเด็นส่วยสติ๊กเกอร์ของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร การยิงสารวัตรทางหลวง ในบ้านกำนันนก จังหวัดนครปฐม และการยิงตัวเองของ ผกก2 .บก.ทล. ซึ่งเป็นประเด็นที่โยงกับส่วนทางหลวงที่ตกลงกันไม่ได้ รวมทั้งเหตุการณ์กองปราบผสานกำลังเข้าจับกุมสารวัตรสืบสวนเรียกรับสินบนวิ่งเต้นสำนวนคดี และเหตุการณ์อื่นที่ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทำผิดวินัย นั่นคือฟังชั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีประสิทธิภาพสูง แต่ไม่ได้มุ่งเป้าไปสู่การสร้างสันติสุขแก่ประชาชนโดยสมบูรณ์ ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอาศัยช่องว่างของกฏหมายและประสิทธิภาพในการทำงาน กระทำผิดวินัยและก่อความเดือดร้อนให้กับประชาชนจำนวนมาก ระเบียบปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาจจะเก่าเกินไป ไม่ทันสมัยต่อการกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ให้อยู่ในระเบียบวินัยได้อย่างสมบูรณ์ จึงถึงเวลาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องทำความสะอาดบ้านตนเอง และปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดวามพึงพอใจแก่ประชาชน

แนวทางในการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นสิ่งที่สังคมไทยเรียกร้องมาอย่างยาวนาน เนื่องจาก สตช. ประสบปัญหาหลายประการ เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และการแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพล เป็นต้น แนวทางในการปฏิรูป สตช. มีดังนี้

  1. การปรับโครงสร้างองค์กร สตช. เป็นองค์กรขนาดใหญ่และซับซ้อน ทำให้มีช่องว่างในการทุจริตและการแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพล จึงควรมีการปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับขึ้น โดยลดจำนวนหน่วยงานและตำแหน่งที่ไม่จำเป็น
  2. การกระจายอำนาจ สตช. ควรมีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานระดับท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง
  3. การปรับปรุงระบบการสรรหาและแต่งตั้ง สตช. ควรมีระบบการสรรหาและแต่งตั้งที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ได้ตำรวจที่มีความสามารถและคุณธรรมมาทำหน้าที่
  4. การปรับปรุงระบบการบังคับใช้กฎหมาย สตช. ควรปรับปรุงระบบการบังคับใช้กฎหมายให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรม
  5. การปรับปรุงระบบตรวจสอบ สตช. ควรมีระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบของตำรวจ

แนวทางการปฏิรูป สตช. ดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น จำเป็นต้องมีการถกเถียงและหาข้อสรุปร่วมกันจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การปฏิรูป สตช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับจากประชาชน

นอกจากแนวทางการปฏิรูป สตช. ดังกล่าวแล้ว ยังมีแนวทางอื่น ๆ ที่อาจนำมาพิจารณาเพิ่มเติม เช่น

  • การปรับปรุงระบบสวัสดิการและค่าตอบแทน เพื่อให้ตำรวจมีขวัญกำลังใจในการทำงานและลดการทุจริตเพื่อหาผลประโยชน์
  • การปรับปรุงระบบการศึกษาและการอบรม เพื่อให้ตำรวจมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
  • การปรับปรุงระบบเทคโนโลยี เพื่อให้ตำรวจสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การปฏิรูป สตช. เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลาและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ตำรวจเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน

นี่เป็นเพียงข้อเสนอในหลักการทางวิชาการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรต้องมีการปฏิรูปเท่านั้น ไม่ใช่เป็นประเด็นที่ต้องใช้ในการบังคับในการปฏิรูป หากแต่จะดำเนินการปฏิรูป ก็เป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น เพื่อร่วมกันคิดในการปรับปรุงแก้ไข ให้ได้มาซึ่งแนวทางการปฏิรูปร่วมกัน ที่ชัดจน แล้วจึงใช้แนวทางนั้นในการบีบบังคับใช้ หวังว่า จะเสียงที่แผ่วเบา จากประชาชนคนหนึ่ง ที่เสนอออกมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะได้นำมาทบทวนและร่วมมือกับคนในสังคมในการปฏิรูป ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เป็นหน่วยงานที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นที่พึงในการสร้างความสงบ สันติ สมกับคำขวัญของตำรวจที่ว่า “ตำรวจ คือ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์”