Think In Truth

SOFT POWER พลังละมุนพรรคเพื่อไทย โดย : หมาเห่าการเมือง



จากบทเขียนของ หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ ผู้สื่อข่าว บีบีซีไทย เรื่อง ซอฟต์พาวเวอร์(เพื่อ)ไทย นโยบายที่ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี การันตีว่า “คิดครบ ทำได้” ซึ่งพอสรุปได้ว่า

ในยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย (พท.) เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ คนที่ 30 นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือ “หมอเลี๊ยบ” เอ่ยปากขอให้เขามาช่วยผลักดันนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ คราวนี้ได้ทำงานเคียงข้าง “ชินวัตรผู้ลูก” แพทองธาร ชินวัตร รองประธานกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

ก่อนออกนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์” (One Family One Soft Power – OFOS) รัฐบาลภายใต้การนำของพรรค พท. แบรนดิ้งประเทศไทยเป็น “ประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยวัฒนธรรม” ซึ่ง นพ.สุรพงษ์มองว่าเป็นขุมทรัพย์และภูมิปัญญาที่เรามีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้บริหารจัดการให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วโลก

นพ.สุรพงษ์ระบุว่า โจทย์ในการออกแบบนโยบายของพรรค พท. คือ การต่อจิ๊กซอว์ให้ครบตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ และเปรียบเปรยกระบวนการเอาไว้ ดังนี้

  • ต้นน้ำ: การสร้าง “นักรบซอฟต์พาวเวอร์” ซึ่งกองกำลังทหารของซอฟต์พาวเวอร์ ประกอบด้วย นักดนตรี นักเขียน นักมวย ดีไซเนอร์ เชฟอาหาร ฯลฯ
  • กลางน้ำ: การพัฒนา “อาวุธยุทโธปกรณ์ของซอฟต์พาวเวอร์” อันหมายถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องให้เข้มแข็ง มีศักยภาพมากขึ้น
  • ปลายน้ำ: นโยบายต่างประเทศที่ดี สร้างการทูตเชิงวัฒนธรรม เพื่อผลักดันนักรบซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปสู่ตลาดโลก โดยมี THACCA (Thailand Creative Content Agency) คอยเชื่อมต่อสถานทูตไทยในต่างประเทศ หรืออาจมีสาขาในอเมริกา ยุโรป จีน

ในยุค “คิดใหม่ ทำใหม่” รัฐบาลไทยรักไทยได้ริเริ่มโครงการ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และ “กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น” เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งและผลักดันสู่ระดับโลก แต่ต้องสะดุดหยุดลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองปี 2548-2549

นพ.สุรพงษ์แจกแจงว่า จุดเริ่มต้นของนโยบายนี้คืออยากทำให้คนไทยทุกคนได้มีโอกาสในชีวิต จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมี 21-22 ล้านครอบครัว จึงตั้งต้นให้อย่างน้อย 1 คนในแต่ละครอบครัวมีโอกาสฝึกฝนทักษะซึ่งเป็นพรสวรรค์ติดตัว หรือมีความใฝ่ฝันจะเป็นเช่นนั้น รัฐก็จะมอบพรแสวงให้

นโยบาย OFOS ของรัฐบาลเศรษฐาที่กำลังจะเดินหน้า น่าจะทำให้หลายคนหวนนึกถึงโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์” (One Tambol One Product - OTOP) ของรัฐบาลทักษิณ และโครงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand - CPOT) ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า OFOS คือการจำแลงแปลงร่างของ OTOP+CPOT

  • OTOP: มุ่งส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำสินค้าระดับตำบลให้ผงาดขึ้นมา กลายเป็นที่รับรู้และนิยมชมชอบของคนไทยและต่างชาติ “ตอนทำโอทอป เราไม่ได้เน้นกระบวนการพัฒนาสินค้ามาก ส่วนใหญ่ให้ทุกคนผลิตสินค้า แล้วเรามาคัดเลือกเอาว่าใครเหมาะสมที่จะมาเชิดชูในระดับประเทศได้”
  • OFOS: มุ่งพัฒนาคน ไม่ใช่ตัวสินค้า เพราะเชื่อว่าคนคือสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ “โอฟอสเริ่มต้นจากศูนย์เลยก็ได้ บางคนไม่มีทักษะเลยก็ได้ แต่กระบวนการครั้งนี้ต้องเกิดการฝึกอบรม บ่มเพาะ มีการจัดการศึกษาครั้งใหญ่ ซึ่งอันนี้ไม่เคยทำในโอทอป”

นพ.สุรพงษ์ ซอฟต์พาวเวอร์มีดัชนีชี้วัดหลายแบบ ขณะนี้มีอย่างน้อย 4 ดัชนีชี้วัด  คือ 1.คนไทย 20 ล้านคนมีทักษะสูง 2. เศรษฐกิจเติบโตโดยมีซอฟต์พาวเวอร์เป็นธงนำ 3. พาไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง   4. คนไทยมีรายได้ 4 ล้านล้านบาทต่อปีจากซอฟต์พาวเวอร์ (แรงงาน 20 ล้านคน มีรายได้ 2 แสนบาทต่อปี)

ในปี 2565 ผลการจัดอันดับความสามารถด้านซอฟต์พาวเวอร์ของโลก (Global Soft Power Index) โดย Brand Finance พบว่า ไทยอยู่ในอันดับ 35 จาก 120 ประเทศทั่วโลก ได้คะแนน 40.2 และถือเป็นอันดับ 6 ของเอเชีย รองจากจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์ และอินเดีย

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ยังย้ำอีกว่า ซอฟต์พาวเวอร์ของเพื่อไทยจะแตกต่างจากซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการไปยังหน่วยงานใช้ซอฟต์พาวเวอร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยผ่านวัฒนธรรม 5F ประกอบด้วย Food (อาหาร) Fashion (แฟชั่น) Fight (ศิลปะการต่อสู้/มวยไทย) Festival (เทศกาล/ประเพณี) และ Film (ภาพยนตร์) ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งกรรมการที่เป็นผุ้ประกอบในหลายภาคส่วนเข้ามาร่วม ซึ่งกรรมการเป็นตัวจริง เสียงจริง ที่จะมาขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดการผลักดันในทุกมิติในระดับครอบครัว ที่หนึ่งครอบครัวต้องมีผู้สร้างคอนเทนต์ซอฟต์พาวเวอร์เพื่อส่งเสริมให้เกิดรายได้ของครอบครัวตามมา ซึ่งจะไม่จำกัดอยู่เพียง 5F เท่านั้น

นอกจากนายแพทย์สุรพงษ์สืบ วงศ์ลี จะได้ชี้แจงเรื่องนโยบายซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติแล้วยังแสดงโรดแม็บในการดำเนินการตามนโยบายมาอย่างละเอียด ตั้งแต่เริ่มแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามนโยบายซอฟต์พาวเวอร์แห่งาติ ที่ประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีนางสาวแพทองธาร ชืนวัตร หัวหน้าครอบครัวพรรคเพื่อไทย  มีรัฐมนตรี 9กระทรวง และผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาอีก 10 คน รวม 29 คนเป็น “ซุบเปอร์บอร์ด”ในวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา และได้เชิญ “ซุบเปอร์บอร์ด” มาประชุมในวันที่ 3 ตุลาคม

หลังจากนี้อีก 100 วัน ก็จะเกิดแผนงานส่งเสริทซอฟต์พาวเวอร์และกิจกรรมเบื้องต้น เช่น เทศกาลประจำเดือนของไทย ภายใน 3 เดือน (ธ.ค.66) เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแสดงความจำนงในการพัฒนา/เพิ่มทักษะ โดยใช้กลไกกองทุนหมู่บ้านฯ และแอปพลิเคชันลงทะเบียน, ใน 3-6 เดือน (ธ.ค. 66-มี.ค. 67) สร้างศูนย์บ่มเพาะ เตรียมวิทยากร อุปกรณ์ และเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ เบื้องต้นอาจใช้ รร.อาชีวศึกษา 800 แห่งทั่วประเทศ และ รร.สารพัดช่าง โดยคาดว่าจะเริ่มฝึกอบรมได้ในเดือนที่ 4 , ใน 3-6 เดือน (ธ.ค. 66-มี.ค. 67) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เป็นปัญหาและอุปสรรคให้หมดไป หากเป็นกฎกระทรวงจะจบภายใน 3 เดือน หากเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จะเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรภายใน 6 เดือน, ใน 1 ปี (ต.ค. 67) พัฒนา/เพิ่มทักษะแรงงานได้นับล้านคน, ใน 1-1.5 ปี (ต.ค. 67-เม.ย. 68) จัดตั้ง THACCA (Thailand Creative Content Agency) ขึ้นมาดูแลส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย โดยเป็นหน่วยงานเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และมีงบประมาณเป็นของตัวเอง ลักษณะคล้าย KOCCA - Korea Creative Content Agency ของประเทศเกาหลี (ในระหว่างรอเสนอร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งองค์กรนี้ จะขับเคลื่อนงานผ่านคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ฯ ไปพลางก่อน), ใน 4 ปี (ต.ค. 70) พัฒนา/เพิ่มทักษะแรงงานได้ 20 ล้านคน

จากบทความของคุณ หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ ผู้สื่อข่าว บีบีซีไทย บทนี้ผู้เขียนขอเพิ่มเติมในแง่มุมของผู้เขียนว่า นี่คืออีกหนึ่งความหวัง ที่เป็นเสรีภาพในการนำเสนอสินค้า และบริการที่เป็นพื้นฐานสำคัญของครอบครัว ที่สามารถสร้างมูลค่าและเป็นรายได้ที่เกิดจากภูมิปัญญา ความสามารถ ทักษะที่เกิดขึ้นในระดับครอบครัว โดยไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการถูกครอบงำจากทุนผูกขาด และส่วนราชการที่มีข้อจำกัดด้านภูมิปัญญาและความสามารถในการจัดการทรัพยากร ภายใต้วัฒนธรรมของท้องถิ่น และจะผลักดันให้เกิดทุนความร่วมมือในอนาคต หากท้องถิ่นสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลิตที่เป็นความต้องการของตลาดในวงกว้าง ซึ่งทุนที่เห็นช่องทางในการรวบรวมผลืตภัณฑ์เหล่านี้เข้ามาเพื่อทำการตลาด ก็จะทำให้เกิดความร่วมมือในการขยายฐานทั้งการผลิตและตลาดให้กว้างไกลออกไป ซึ่งเป็นนโยบายที่เสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน เกิดการกระจายรายได้ที่แท้จริง เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคมไทย ซึ่งะนำไปสู่ความสามัคคีและความเข้มแข็งของประเทศในอนาคต

อีกส่งหนึ่งที่รัฐไม่เคยพูดถึงเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ คือ การสืบทอดศิลปวัฒนธรรมที่เปรียบเสมือนการบันทึกประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นลิเก หนังตะลุง หรือหมอลำก็ตาม หรือศิลปะวัมนธรรมอื่นๆ ที่เป็นการแสดงเพื่อการสืบทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ รัฐบาลพึงเข้าไปส่งเสริมสนับสนุน ตัวอย่างเช่น หมอลำสังข์สินไซ เป็นคณะหมอลำที่สืบทอดเรื่องราววิวัฒนาการทางความเชื่อของคนไทยในยุคโบราณ ระหว่างการต่อสู้ทางความเชื่อของศาสนาผี หรือศาสนาพระอินทร์กับศาสนาพราหมณ์(สยาม)หรือศาสนาพระพรหม(ไม่เกี่ยวกับพระณารายณ์) โนราห์(ได้ขึ้นทะเบียนเป็๋นมรดกโลกแล้ว)เป็นการสืบทอดในการเล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อศาสนาผี(ศาสนาผู้หญิง)กับความเชื่อศาสนาพราหมณ์(ศาสนาผู้ชาย) หรือหมอลำเรื่องขุนลู-นางอั้ว เป็นการเล่าเรื่องความเชื่อศาสนาผี ซึ่งเป็นศาสนาที่ฝังลึกในความเชื่อของคนที่ยอมจำนนในการที่จะอุปถากศาสนาพุทธ(ศาสนาบุตรของศาสนาผีกับศาสนาพราหมณ์)ซึ่งเป็นศาสนาที่ยึดหลักทางสายกลางระหว่างบิดากับมารดา หรือหมอลำที่แสดงเรื่อง “เรวัตตะ ลีลาวดี” ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องพระอรหันต์องค์หนึ่งนามเรวัตตะ ที่ต้องต่อสู้ระหว่างความรักทางโลกเพื่อก้าวสู่ทางธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้ว เพียงแต่รัฐบาลเอานโยบายเข้ามาแตะเพื่อส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้เกิดการสืบทอดฝังอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของคนไทย นั่นเป็นการปลูกฝังอัตตลักษณ์ที่สำคัญ ที่ใครต่อใครเข้ามาเยือนเมืองไทยก็จะได้พบกับอัตตลักษณ์นี้

สิ่งที่น่าห่วงใยและเป็นสิ่งที่เปราะบางในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ คือ FAKE CONTENT และ TOXIC CONTENT ที่รัฐต้องส่งเสริมให้ชุมชนและท้องถิ่นสามารถตรวจสอบและควบคุมเนื้อหาที่จะทำให้เกิดการทำลายความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่หลอกลวง เนื้อหาที่มโน ที่กลายเป็นหลุมพลางในการเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ จำเป็นรัฐเองต้องมีมาตรการในการป้องกันที่ร่วมมือกันในทุกระดับ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องเปราะบาง คือ การเป็นเครื่องมือที่ยืนข้างคู่แข่งขันซอฟต์พาวเอวร์การเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะมหาอำนาจที่กำลังแข่งขันกันหนักมากในเวลานี้ ที่รัฐบาลพึงมีมาตรการในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดของมิตรประเทศ ที่จะก่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสูญเสียไป ซึ่งสร้างกระบวนการความร่วมมือในการตรวจสอบ