Think In Truth

'สังคมไทย'อ่อนแอปชช.ขาดความเชื่อมั่น โดย : หมาเห่าการเมือง



ประเทศไทยเคยผ่านวิกฤตทางเศรษฐกิจมาแล้ว 5 ครั้ง วิกฤติเศรษฐกิจแต่ละครั้ง โดยส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจการเงินที่มักเอาตัวเองไปผูกมัดกับธุรกิจการลงทุนในต่างประเทศ บวกกับการค้าราคาของเงินที่โยงลงมาควักเงินในกระเป๋าประชาชนในรูปแบบของภาษีเพื่อพยุงธุรกิจการเงินการลงทุนให้สามารถดำรงอยู่ได้ แต่ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลร่วมกับกลุ่มธุรกิจการลงทุนการเงิน ก็จะหันกลับมาพึ่งพาการเติบโตทางด้านการผลิตจากประชาชน แล้วธุรกิจก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่ผลงานทุกครั้ง กลายเป็นความดีงามของกลุ่มลงทุน ที่มองว่ามาตรการทางการลงทุนและการเงินของฝ่ายตนเป็นหลักที่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ที่ประชาชนไม่เคยมีเอี่ยวด้วยเลย

1. วิกฤตราชาเงินทุน  วิกฤตนี้นับเป็นครั้งแรกของตลาดหุ้นไทย ที่ตอนนั้นพึ่งก่อตั้งได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ยังขาดกฎเกณฑ์ในการควบคุมที่ชัดเจนและครอบคลุม โดยจุดเริ่มต้นคือ บริษัทราชาเงินทุน ประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักรัพย์ให้กู้ เข้า IP/ ในตลาดหุ้นในปี 2520 โดยมีราคาอยู่ที่ 275 บาทต่อหุ้น แต่ทะยานไปแตะที่ 2,475 บาทต่อหุ้นภายในปีเดียว โดยสาเหตุที่ราคาหุ้นขึ้นสูงขนาดนั้นมี 2 ปัจจัยได้แก่

  • ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวขาขึ้นพราะกระแสกรลงทุนในสังคมไทยกำลังบูม นักลงทุนต่างเข้าถือหุ้นโดยเฉพาะกลุ่มไฟแนนซ์
  • การปั่นหุ้นของบริษัทราชาเงินทุนเอง ที่มีการปล่อยกู้ให้ซื้อหุ้นของบริษัทราชาเงินทุนโดยไม่สนใจคุณภาพของผู้กู้ และต่อมาก็มีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาซื้อหุ้นตัวเองโดยเฉพาะด้วย

จากการดำเนินการที่ไร้ประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง จนทำให้นักลงทุนพากันเทขายหุ้น ต่อมารัฐบาลเข้าควบคุมและกระทรวงการคลังก็เพิกถอนใบอนุญาตในเดือนสิงหาคม 2522 ทำให้บริษัทราชาเงินทุนต้องปิดกิจการ ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก นักลงทุนต่างพากันเทขายหุ้นทุกตัวในมือเพราะขาดความเชื่อมั่น จนทำให้ดัชนีลดลงกว่า 50% (จาก 200 จุดลงมาที่ราว 100จุด) กลายเป็นวิกฤตการณ์ตลาดหุ้นครั้งแรกของไทยการรับมือเหตุการณ์นี้ หลายฝ่ายต่างเข้ามาช่วยเพื่อพยุงตลาด เช่น ตลาดหลักรัพย์ลดอัตราส่วนวงเงินกรณีกู้ยืมในการซื้อหลักทรัพย์ (ระบบมาร์จิน (MARGIN) เพื่อกระตุ้นตลาด, รัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าระบบประคองสถานการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยยื่นมือช่วยบริษัทต่าง ๆ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ

เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หลายอย่าง เช่น

  • มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2522 เพื่อกำหนดขอบเขตธุรกิจแต่ละประเภท
  • มีแนวคิดจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก
  • จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน

ต่อมามีการเริ่ม "โครงการ 4 เษายน 2527" เพื่อรวมบริษัทเงินทุนที่มีปัญหามาอยู่ในความดูแลของทางการนั่นคือ สิ่งที่รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงการคลังได้แถลงต่อสาธารณะ ว่าเป็นมาตรการในการแก้ปัญหาที่ทำให้วิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งนั้นผ่านพ้นไปได้ แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่ทำให้มาตรการครั้งนั้นผ่านไปได้ ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นการหมุนเวียนของเงิน Money Flow มากขึ้น มาตรการที่รองรับจึงสามารถที่ดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจได้

การที่ให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เกิดจากนโยบายเงินผันของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่างหาก ที่ทำให้เกิดการจ้างงานเกิดขึ้นในชุมชน ชุมชนได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตนเองในการผลิตผลิตทางการเกษตร กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การจ้างงานด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น การซื้อขายในตลาดเพิ่มขึ้น การหมุนเวียของเม็ดเงินในตลาด และผ่านธนาคารมากขึ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก

2. วิกฤตสงครามอ่าวเปอร์เซีย สงครามครั้งนี้เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างอิรักและคูวต โดย 'ซัดดัม ฮุดเชน' ผู้นำอิรักออกมากล่าวหาว่าคูเวตแอบขโมยน้ำมันของอิรักมาขายจำนวนมาก จึงพยายามเจรจาให้คูเวตแบ่งดินแดนเพื่อเป็นชดใช้ แต่คูเวตก็ไม่ยอม อิรักจึงใช้กำลังคนกว่า 100,000 นาย บุกเข้าคูเวตในวันที่ 2 สิงหาคม 2533 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอ่าวเปอร์เชีย ทำให้ราคาน้ำมันมีราคาพุ่งขึ้นไปแตะ 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล  กระทบเศรษฐกิจทั่วโลก สหประชาชติต้องออกมาตรการคว่ำบาตรมากมาย สุดท้ายสหรัฐอเมริกาและอีก 28 ประเทศก็ร่วมกันใช้ยุทธวิธีทางทหารเข้าจัดการอิรักในช่วง มกราคม 2534 กระทั่ง 27 กุมภาพันธ์ 2534 กองกำลังผสมก็สามารถประกาศอิสรภาพให้คูเวตได้

ผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรงคือราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและตลาดหุ้นร่วงอย่างรวดเร็ว ทั้งที่พึ่งทำสถิติใหม่โดยขึ้นไปแตะ 1,129 จุด ในวันที่ 2 สิงหาคม 2533 แต่สงครามอ่าวเปอร์ซี่ยทำให้การลงทุนของไทยลดลงมาต่ำสุดอยู่ที่ 544 จุด ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 และต้องใช้เวลากว่า 3 ปี เพื่อทำให้ดัชนีกลับไปแตะที่ 1,129 จุด อีกครั้งในวันที่ 12 ตุลาคม 2536

วิกฤตินี้ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยนโยบายเปลี่ยนสนามรบมาเป็นสนามการค้าของรัฐบาลชาติชาย ชุณหวรรณ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขายที่ดินจำนวนมาก ราคาที่ดินก็ขยับตัวขึ้นหลายเท่าตัว อาชีพนายหน้าที่ดินเกิดขึ้นเป็นดอกเหตุ กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ การลงทุนของภาคเอกชนและทุนจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศไทย จำนวนมหาศาล วิกฤติตลาดการเงินการลงทุนของประเทศจึงหมดไป

3. วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มีต้นตอจากประเทศไทย โดยปัจจัยของวิกฤตครั้งนี้มีหลายอย่าง เช่น

  • การเติบโตแบบก้าวกระโดดมาตลอดระยะเวลา 10 ปีก่อนวิกฤต ทำให้สังหาริมทรัพย์ราคาสูง ทั้งบ้าน ที่ดิน คอนโดฯ ประชาชนกล้าทุ่มลงทุนในธุรกิจนี้
  • นาคารพณิชย์กู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ต่อภายในประเทศ หรือเปิด BIBFซึ่งตอนนั้นดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ที่ราว ๆ 5% แต่ในไทยดอกเบี้ยอยู่ที่ 14-16% จึงเป็นช่องทางทำเงินให้สถาบันการเงิน - ตลาดหุ้น ดัชนีพุ่งสูงขึ้นเป็นสถิติไปแตะระดับ 1,789 จุด ในต้นปี 2537 นักลงทุนใช้วิธีการลงทุนด้วยเงินกู้เพราะเชื่อว่าได้กำไรแน่ ๆ
  • รัฐบาลตรึงราคาเงินบาทไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากแนวคิดที่ว่า เมื่อเศรษฐกิจดี นักลงทุนเก็บเงินบาท ทำให้แข็งค่าและราคาสินค้าของไทยจะสูง ซึ่งจะกระทบการส่งออก

จะเห็นได้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจดีมาก แต่ความจริงคือ เงินที่หมุนเวียนในระบบเป็นเงินกู้ที่สถาบันการเงินกู้เข้ามา ส่วนการส่งออกก็ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง เมื่อเงินจากธุรกิจไม่มี ความสามารถในการชำระหนี้ก็ลดลง จนกระทั่ง 2539 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ขายไม่ได้ แต่การกู้เงินสร้างอสังหาริมทรัพย์ยังมีปริมาณสูง

นักลงทุนต่างชาติริ่มมองเห็นความบิดเบี้ยวพากันเทขายเงินบาททำให้ค่าเงินอ่อนลง นาคารแห่งประเทศไทยพยายามตรึงค่าเงินด้วยการกว้านซื้อเงินบาท ทำให้เงินสำรองของประเทศจาก 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเหลือ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กระทั่งตรึงราคาต่อไปไม่ไหว

ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อรัฐบาลออกมาประกาศให้ค่เงินบาทลอยตัว ทำให้ธุรกิจที่กู้เงินจากต่างประเทศจะเป็นหนี้ 2 เท่าทันที ค่าเงินพุ่งขึ้นไปสูงสุดอยู่ระดับ 56บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สถาบันการเงินล้มระเนรนาดจากปัญหาหนี้สิน นักลงทุนสิ้นเนื้อประดาตัว จากนั้นก็ลุกลามกลายเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลก

ผลกระทบต่อประเทศไทย

  • ตลาดหุ้นร่วงหนัก จากจุดสูงสุด 1,789 จุด ในปี 2537 ลงมาอยู่ที่ 204 จุด ในวันที่ 4 กันยายน 2541 หายไปกว่า 88% ในระยะเวลา 4 ปี กว่าจะกลับมาอยู่ที่ 1,700ได้ ก็เดือนมกราคม 2561 ใช้เวลา 24 ปี
  • การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2540-2542 ติดลบ -2.6
  • เงินเฟ้ออยู่ที่ 6-8 %ส่งผลให้ต้นทุนประกอบการสูง กิจการล้ม อัตราการว่างงานสูงโดยการแก้ไขปัญหาในครั้งนั้น รัฐบาลต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กว่า 72,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เงินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF) เพื่อพยุงเศรษฐกิจกว่า 1,138,000 ล้านบาท

วิกฤติครั้งนี้มีความพยายามแก้ปัญหาถึงสองครั้ง โดยครั้งที่ 1 ในสมัยรัฐบาล พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ ที่ผลักงบประมาณลงไปสนับสนุนประชาชนระดับล่าง โดยหวังว่าจะทำให้เกิดกำลังซื้อ เกิดการจ้างงาน และการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่รัฐบาล พล.อ.เชาวลิต คาดการณ์ผิด ที่ไปทำโครงการอีสานเขียว ที่เอาวัวไปแจกให้ประชาชน สิ่งที่เป็นปัญหาตามมาคือ ประชาชนไม่มีเม็ดเงินในการหมุเวียนหรือเป็นกำลังซื้อให้กับประชาชน ซึ่งนโยบายอีสานเขียน จะเกิดผลการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบมากขึ้นก็ต่อเมื่อ ประชาชนได้ขายสินค้าในมือของตน(วัว)ออกไปแล้ว จึงส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงนั้น ติดลบถึง 2.6% แต่วัวในโครงการอีสานเขียน ก็ทำให้เกิดตลาดนัดโคกระบือในอีสานและตลาดทั่วไปในประเทศมากขึ้น เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบมากขึ้นตามมาภายหลัง

การแก้ปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้งในยุครัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร คือนโยบายกองทุนหมู่บ้าน คือการผลักดันเม็ดเงินลงสู่ชุมชน โดยผ่านกระบวนการของชุมชน แต่ที่แน่ๆ ประชาชนมีกำลังซื้อทันที เพราะเงินถึงมือประชาชนโดยตรง อีกทั้งยังสามารถดึงเม็ดเงินจากกระเป๋าของประชาชนออกมาเพิ่มเป็นกำลังชื้อเพิ่มขึ้น จากกองทุนหมู่บ้านที่ประชาชนร่วมกันออม เพื่อเพิ่มกองทุน ให้ประาชนเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจึงฟื้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นรัฐบาลทักษิณ จึงสามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ จากวิกฤตต้มยำกุ้งได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถคืนหนี้ IMF ได้ในระยะเวลาก่อนกำหนด

4. วิกฤตซับไพรม์ (Sub-prime Crisis) วิกฤตนี้เกิดขึ้นในสหรัฐอมริกา ส่งผลต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยไม่น้อย เพราะวิกฤตครั้งนี้ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุหลักของวิกฤตชับไพรม์คือ เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2540 ที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากการที่นโยบายและกฎหมายหลายอย่างเอื้อให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) ให้สะท้อนกับความเสี่ยง รวมทั้งบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์(Sub-Prime Mortgage) ผิดพลาดและฟองสบู่ก็เริ่มแตกในปี 2549 ยาวมาจนกระทั่งปี 2552 กระทบความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ และมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันลดลง สร้างความปั่นป่วนกับสภาพคล่องทางการเงินจนบริษัทใหญ่หลายบริษัทในสหรัฐอมริกต้องล้มละลายปิดกิจการ กลายเป็นเศรษฐกิจถดถอยลุกลามไปทั่วโลก

ประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจผ่าน 3 ช่องทางได้แก่

  • ภาคการเงิน ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินเพียงเล็กน้อย
  • การส่งออก โดยส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมชึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกอันดับต้น ฯ ของสินค้าไทย
  • ตลาดทุน เกิดปรับตัวลดลงของดัชนี โดยตลาดหุ้นไทยทำจุดสูงสุดในช่วงที่เกิดวิกฤตคือ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ 927 จุด แต่เพียง 1 ปี ก็ดิ่งลงมาเหลือเพียง 380 จุด ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 และใช้เวลากว่า 2 ปี ถึงจะกลับไปแตะ 900 จุด ในช่วงเดือนกันยายน 2553

ประเทศไทยผ่านวิกฤตซับไพรม์ไปได้ด้วยนโยบายจำนำข้าว ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร ที่ผลักราคาข้าวให้สูงขึ้น และเม็ดเงินเกิดจากมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรของประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น มีการหมุนเวียนของเม็ดเงินเพิ่มขึ้น อีกทั้งในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์จะทำเรื่องราคาข้าวให้สูงขึ้นแล้ว ยังทำการตลาดยางพาราผลักดันให้ราคายางพาราสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ยังส่งเสริมกระตุ้นให้ประชาชนใช้กำลังซื้อของประาชนออกมาใช้จ่ายเงินในตลาดเพิ่มขึ้น เช่น นโบายรถคันแรก นโยบายบ้านหลังแรก และนโยบายส่งเสริมการใช้จ่ายในอีกหลายโครงการ ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบ

5. วิกฤตโควิด-19 (COVID-19)  โควิด-19 มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่อู่ฮั่นประเทศจีน ก่อนลุกลามไปทั่วโลก ถือว่าเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระบต่อคนทั้งโลกในหลายมิติ ทั้งการใช้ชีวิต การศึกษา การเดินทาง รวมถึงเศรษฐกิจด้วย โดยวิธีการที่ทั่วโลกใช้คือการล็อกดาวน์ (Lockdown) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต่าง

ต้องหยุดชะงัก

สำหรับประเทศไทย การล็อกดาวน์เข้มข้น ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก มีบริษัทที่ขาดสภาพคล่องมากกว่า 192,046 บริษัท ธุรกิจร้านอาหาร สายการนิน โรงแรมต่างปิดตัวไปเพราะไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มฟื้นตัวช้าเพราะอิงกับรายได้จากการท่องเที่ยว, อัตราเงินเฟ้อสูง สินค้าราคาแพง ต้นทุนเพิ่มขึ้น

ส่วนดัชนีตลาดหุ้นไทยในวิกฤตนี้โดยนับจากเดือนธันวาคม 2562 ที่เริ่มพบผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,589 จุด ร่วงมาอยู่ที่ 969 จุดในวันที่ 13 มีนาคม 2563 แต่อย่างไรก็ดี จากการช่วยกันแก้ปัญหาจากหลายภาคส่วนจนสามารถควบคุมได้ ตลาดหุ้นไทยก็มีแรงซื้อกลับเข้ามา และแม้จะมีการแพร่ระบาดระลอกที่ 2-3 แต่ก็ไม่ได้ลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนมากนัก ก่อนจะกลับมาแตะระดับ 1,600 จุด เมื่อเดือนมีนาคม 2564

จะเห็นได้ว่าทั้งประเทศไทยและทั่วโลก ต่างเชิญปัญหาจากวิกฤตต่าง ๆ ไม่มากก็น้อย ซึ่งการเรียนรู้จากอดีตจะสามารถช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น aomMONEY มองว่าสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อเกิดวิกฤตคือการถือเงินสด มีเงินสำรองฉุกเฉิน วิเคราะห์ค่าใช้จ่าย มีการทำประกันความเสี่ยงตามสถานการณ์ มองหาช่องทางหารายได้ หากมีกรลงทุนก็ควรปรับแผนที่เหมาะ ติดตามข่าวสาร และเตรียมสภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมอยู่เสมอ

วิกฤตโควิตนี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจลุกลามไปจนไม่สามารถจะควบคุมได้ ถึงแม้นว่า โรงงานอุตสาหกรรมได้ปิดตัวลง หรือย้ายฐานผลิตไปมาก ประเทศไทยยังคงชะลอการถดลอยทางเศรษฐกิจไปได้ ด้วยนโยบาย “กระเป๋าตังค์” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ที่ผลักดันงบประมาณลงมาเพื่อให้ประชาชนมีกำลังชื้อและเกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบ อีกทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการใช้เม็ดเงินภายในประเทศ ด้วยการจำกัดเวลาในการใช้ เพื่อให้เกิดการใช้เม็ดเงินตามกำหนดเวลา วิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในยุโควิด จึงไม่รุนแรงอย่างที่คิด และยังคงประคองความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศมาได้จนทุกวันนี้

จะเห็นว่า วิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ มักจะแก้ปัญหาได้จากประชาชนในทุกระดับ และวิกฤตทางเศรษฐกิจทุกครั้ง ไม่เคยแก้ได้จากการสนับสนุนของรัฐให้กับกลับนักลงทุนเลยแม้แต่ครั้งเดียว ที่เลวร้ายที่สุดก็ทำให้เกิดการล้มบนฟูก โดยที่ไม่ได้แก้ปัญหาไดให้กับประเทศเลย การผลักดันงบประมาณลงมาถึงประชาชนโดยตรง และกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงิน จะทำให้เกิดการผลิต การจ้างงาน การซื้อขาย และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย นั่นคือเป็นการเพิ่มรายได้ของรัฐบาล ที่มีรายได้หลักจากภาษีมูลค่าเพิ่ม มากกว่า 50% ของรายได้ของรัฐ ดังนั้น นโยบายเงินดิจิมัลของรัฐบาลเศรษฐา1 เป็นนโยลายที่ผลักดันเม็ดเงินมาถึงประชาชนโดยตรง เป็นการนโยบายที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะถ้ารัฐบาลผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในระบบครอบครัวด้วย ยิ่งจะทำให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น มีสถาบันทางการเงินและกลุ่มแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งกลุ่มนักวิชาการ หลายกลุ่ม ยังคัดค้านการดำเนินนโยบายเงินดิจิทัลอยู่ และหาเหตุผลมาอ้างโดยโยนความไม่รับผิดชอบให้กับประชาชนมาเป็นเหตุผล ถือว่าเป็นความไม่ไว้ใจ และขาดความเชื่อมั่นในประชาชนของประเทศ ผมว่าเอาความจริงมาพูดกันเถอะครับ ถ้าลองคิดกลับกัน ถ้ารัฐบาลผลักงบประมาณมาสนับสนุนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มธรุกิจการลงทุน การเงิน และนักเลงหุ้นทั้งหลาย เชื่อไหมว่า เขาจะสนับสนุนในทันที ทั้งที่ไม่มีช่องทางเลยว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร  ขออภัยนะครับเขียนยาวเกินไป เพราะอยากให้จบในตอนเดียว