Think In Truth

'15ปีที่จอดเรือเมืองพัทยา'ส่งมอบแล้ว... แต่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ โดย...ฟอนต์ สีดำ



ที่จอดเรือเมืองพัทยา ก่อสร้างมา 15 ปี ใช้งบประมาณ ก่อสร้าง ไป 300 กว่าล้านบาท ส่งมอบงานแล้ว แต่เข้าใช้ประโยชน์ไม่ได้  แถมยังทิ้งวัสดุเกลื่อนเมืองพัทยา ประจานความไร้ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณแผ่นดินของเมืองพัทยา อีกทั้งยังอุทรณ์ศาลปกครองสูด เอาผิดผู้ออกแบบโครงกลาง หลังศาลปกครองกลาง พิพากษาไม่ใช่ความผิดของผู้ออกแบบโครงการ เมืองพัทยาต้องรับผิดอบ

จากกรณีที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ 733 ล้านบาท ก่อสร้างที่จอดรถยนต์แบบอัตโนมัติบนดิน และใต้ดิน พร้อมกล้องวงจรปิดพื้นที่ประมาณ 8,833 ตารางเมตร รองรับรถได้ถึง 417 คัน และที่จอดเรือแบบไฮโดรลิก รองรับเรือได้กว่า 360 ลำ บริเวณท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้ ต.หนองปรือ อ.บางละมุง เพื่อรองรับยานยนต์ของนักท่องเที่ยวและเรือนำเที่ยว ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2556 ส่งมอบงานจากผู้รับเหมาให้แก่เมืองพัทยาแล้วนั้น

ปรากฏว่า อาคารที่จอดรถ และที่จอดเรือยังไม่เปิดให้บริการแต่อย่างใด แต่กลับปิดกั้นตัวอาคารพร้อมกันแนวเขตโดยรอบ มีเพียงคำชี้แจงจากเมืองพัทยา ว่าโครงการทั้ง 2 แห่งยังอยู่ในขั้นตอนออกแบบ และวางมาตรฐานการบริหารจัดการ การกำหนดราคาค่าธรรมเนียมการใช้บริการ จนเป็นที่สงสัยแก่ประชาชน และผู้ประกอบการทั่วไปว่า ทำไมจึงล่าช้าจนเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา

เมืองพัทยาได้ว่าจ้างให้ บ.เทสโก้ เข้ามาศึกษาออกแบบโครงการที่จอดเรือก่อนจะว่าจ้างกิจการร่วมค้า Ping เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโครงการที่จอดเรือแหลมบาลีฮาย ตั้งแต่ปี 2551 ในงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท เพื่อรองรับการจอดเรือท่องเที่ยวจำนวนกว่า 360 ลำ ซึ่งโครงการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งโครงการในแผนการจัด สร้างอาคารที่จอดรถ-จอดเรือ มูลค่ารวมกว่า 733 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้มีการส่งมอบงานไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2556

โครงการดังกล่าวไม่สามารถเปิดใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปล่อยให้มีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งมาจากกรณีที่ผู้ประกอบการกลุ่มเรือสปีดโบ๊ตกว่า 1,000 ลำ ที่ได้แจ้งไปก่อนหน้านี้แล้วว่าระบบไฮดรอลิกของโครงการนี้คงไม่สามารถรองรับและใช้งานจอดเรือได้จริง เมืองพัทยาควรต้องทำการศึกษาและจำลองทดสอบเพื่อการออกแบบก่อนจึงดำเนินโครงการ จึงส่งผลให้การก่อสร้างที่จอดเรือเสร็จ ไม่สามารรถใช้งานได้ ด้วยปัญหาและปัจจัยอื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวของตะกอนทรายใต้น้ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้โครงการไม่สามารถเปิดใช้งานได้ อีกทั้งยังได้รับผลกระทบภัยธรรมชาติคือ “พายุหว่ามก๋อ” ได้ก่อความเสียหายต่อโครงการอย่างหนักในปี 2558 ทำให้โครงการพังเสียหาย ชำรุดไปเกินกว่า 50 % ซึ่งเป็นผลให้โครงการไม่สามารถใช้งานได้จริง

เมืองพัทยาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสอบข้อเท็จจริงถึงปัญหาดังกล่าว โดยขอความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานหลักด้านวิศวกรรมทะเลและชายฝั่งจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมแกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้ามาร่วมสอบสวนข้อเท็จจริง

พล.ต.ต.อนันต์ เจริญชาศรี อดีตนายกเมืองพัทยาที่ได้รับการแต่งตั้งมาจาก คสช.ได้ออกมาเปิดเผยว่าผลการตรวจสอบสวนข้อเท็จจริงว่าพบความผิด 2 ประเด็น คือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความผิดเข้าข่ายการละเมิด ผิดพลาด ปล่อยปละละเลย ข่ายความผิด ม.157 ที่ละเลยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินราชการ และความเสียหายจากภัยธรรมชาติ จนโครงการไม่สามารถใช้การได้ แต่จนถึงปัจจุบันเรื่องดังกล่าวก็เงียบหายไป ทั้งๆที่มีการติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณทั้งในส่วนของ ปปช. ปปท. หรือสำนักงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง      

มีการรายงานว่า  ที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณโดยรอบอาคารสนามกีฬาในร่ม ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก ซอยชัยพฤกษ์ 2 เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เมืองพัทยามีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจำนวนมาก ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นส่วนประกอบของโครงการที่จอดเรือ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทุ่นเรือหลายร้อยชุดมูลค่าหลายสิบล้านบาท  ล่าสุดมีการสั่งการให้ขนไปเก็บรักษาไว้ในที่ที่มีความเหมาะสมและลับสายตามเพื่อให้ทัศนียภาพเมืองพัทยาดูดีขึ้น

นายปรเมศวร์ งามพิเชษญ์ นายกเมืองพัทยา ระบุว่าโครงการนี้ไม่ได้อยู่ในสมัยที่เข้ารับตำแหน่งนายกเมืองพัทยา แต่ก็ได้ติดตามเรื่องมาโดยตลอด และทราบว่าเมืองพัทยาได้ส่งเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางไปเพื่อให้เอาผิดบริษัทผู้ออกแบบโครงการ โดยระบุว่าการออกแบบไม่รัดกุม ศาลปกครองกลางได้พิพากษาออกมาแล้วว่าผู้รับจ้างไม่มีความผิดต่อความเสียหายของโครงการที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความผิดจากการออกแบบโครงสร้างของโครงการตามที่เมืองพัทยาฟ้องร้อง

เมืองพัทยาจึงได้ชะลอการดำเนินโครงการก่อนเป็นการชั่วคราว เพื่อรอผลการพิจารณาใหม่  หลังทราบผลคำพิพากษาจากศาลปกครองกลางแล้ว เมืองพัทยาได้อุทธรณ์และส่งเรื่องฟ้องร้องต่อไปยังศาลปกครองสูงสุดเพื่อดำเนินการให้ผู้แบบโครงการรับผิดอบต่อความเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่า การพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคงจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีกว่า ซึ่งเมืองพัทยาก้จะดำเนินการตามขั้นตอนทางราชการต่อไป