Think In Truth

ภาพเขียนผาผักหวานและผาขาม3.6พันปี ประตูแห่งกาลเวลา  : โดย ฟอนต์ สีดำ



หลังจากที่เราได้ฉลองปีใหม่ 2567 ผ่านพ้นไป สถานการณ์ก็กลับเข้าสู่โหมดปกติของชีวิต คือวงจรแห่งการทำงาน วงจรแห่งการดำรงชีวิตนั่นเอง บางคนก็ทำงานเป็นเจ้าของกิจการ บางคนก็ทำงานเป็นลูกจ้าง บางคนก็ทำงานเป็นข้าราชการ บางคนก็ทำงานอิสระ และอื่นๆ ในช่วงสิ้นปีนี้ได้เดินทางไปจังหวัดสกลนคร และได้ไปเยี่ยมชมภาพเขียนสีผนังหินที่อุทธยานภูผายล ที่ผาผักหวาน และผาขาม อำเภอศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ภาพเขียนสีผนังหินสีแดงอายุกว่า 3600 ปี ยังคงเป็นภาพที่มีความชัดเจน สีแดงที่ใช้เขียนยังติดฝังลึกเข้าไปในเนื้อของหิน ที่ยังคงรักษาคุณภาพของภาพเขียนนั้นไปอีกนานแสนนาน แรกๆ ก็ยังไม่ได้คิดอะไรกับภาพเหล่านี้ เพราะยังคิดว่าเป็นเพียงภาพเขียนสีตามประเพณีศพครั้งที่สองของกลุ่มคนที่นับถือผีหรือกลุ่มศาสนาผีที่นับถือพระอินทร์เป็นเทพอันสูงสุด ซึ่งเป็นเป็นบรรพชนของคนไทยที่อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิและลุ่มแม่น้ำโขงมาก่อนสมัยพุทธกาลมาแล้ว ซึ่งอยู่คู่กับกลุ่มที่นับถือพราหมณ์หรือพวกขอมที่นับถือศาสนาพราหมณ์สยามที่มีพระพรหมเป็นเทพเคารพสูงสุด

ภาพที่สะดุดตาและติดอยู่ในความรู้สึกตลอดเวลานั้น คือภาพที่อักษรตัว U คว่ำ นอกจากเป็นภาพที่ต้องถูกเขียนซ่อนไว้ในหลืบหินที่ต้องนอนหงาย แล้วสอดตัวเข้าไปใต้หลืบหินเข้าไปมองแล้ว ยังเป็นที่สงสัยมากว่า คนสมัยก่อนเขารู้จักอักษรภาษาละตินกันแล้วหรือ ทั้งที่ภาษาละตินเพึ่งเกิดมาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือประมาณ 200 ปีมานี้เอง

ความสงสัยนี้ได้นำไปสู่การถามเจ้าหน้าที่ ซึ่งก็ไม่ได้คำตอบอะไรมากนัก นอกจากว่ามีสถานที่หนึ่งที่เป็นช่องเขาคล้ายประตู ซึ่งคนโบราณบอกว่าเป็นประตู่สู่เมืองบังบด จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ทำให้เราได้ตามหาประตู่สู่เมืองบังบด จนได้พบกับช่องประตูหินที่เหมือนกับประตู่ที่ไปมาหาสู่กับระหว่างดินแดนสองดินแดน ที่โบราณบอกไว้ คือโลกมนุษย์ และโลกแห่งมิติที่มองไม่เห็น ดั่งที่โบราณเรียกว่าเมืองบังบดนั่นเอง

ในขณะที่กำลังสำรวจประตูหินอยู่นั้นก็เกิดความคิดหนึ่งขึ้นมา คือนึกถึงประตูของพระธาตุภูเพ็ก ที่มีเส้นกึ่งลางประตู เมื่อเอาเข็มทิศไปวางตามแนวเส้น ก็พบว่าตัวพระธาตุถูกวางตามแนวเส้นตะวันออก ตะวันตก หรือเส้นสุริยะวิถี ในวันที่มีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน หรือวันอีควิน็อกซ์ จึงได้หยิบโทรศัพท์มือถือออกมาแล้วเปิดโปรแกรมเข็มทิศที่กำหนดทิศด้วย GPS ออกมา ตั้งแนวผ่านกลางประตู ไปตามเส้นจนาดหับประตูหินนั้น ในทิศตะวันออก ตะวันตก ก็พบว่า เส้นแนวตะวันออก ตะวันตก เป็นทิศตั้งฉากกับแนวทิศเหนือ กับ ทิศใต้พอดี คือแนวขนานผ่านกลางประตูหิน ทำมุม 90 องศา และ 270 องศา กับแนวทิศเหนือ หรือในวันอีควิน็อก หรือวัน ศารทวิษุวัต ดวงอาทิตย์จะเดินทางผ่านแนวตะวันออก และตะวันตกพอดี ซึ่งมันตรงกับเส้นแนวกลางประตูของพระธาตุภูเพ็ก ซึ่งทำให้เกิดความสงสัยมากยิ่งขึ้น ว่าประตูหินแห่งนี้ มันมีความสัมพันธ์กับภาพใต้หลืบหินหรือไม่ และ ทำไมถึงมีทิศตรงกับปราสาทของของพระธาตภูเพ็ก ทั้งที่ภาพเขียนสีเหล่านี้ เป็นพิธีกรรมของศาสนาผี

และสิ่งหนึ่งที่คิดได้ในเวลานั้น คือทั้งศาสนาพราหมณ์สยาม และศาสนาผี ตั้งใช้ปฏิทินร่วมกัน คือปฏิทินจันทรคติ และปีนักษัตเดียวกัน ซึ่งแตกต่างไปจากทางตะวันตกที่ยึดเอานักษัตรต่างๆ มาเป็นการกำหนดรอบปี คือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุล โดยที่ทางตะวันตกจะกำหนดโดยตัวเลข และการกำหนดก็จะกำหนดตามราศี คือดวงอาทิตย์เคลื่อนไปอยู่กลุ่มดาวได ก็จะเรียกเป็นเดือนนั้น เช่น ราศีมังกร ราศีกุมภ์ ราศรีมีน ราศีเมษ ราศีพฤกศภ ราศีเมถุน ราศีกรกฏ ราศีสิงห์ ราศีกัณฑ์ ราศีตุล ราศีพิจิก ราศี ธนูเป็นต้น และในแต่ละเดือนจะถูกแบ่งออกเป็น 30 วัน ฝนสามสิบวันจะถูกแบ่งออกเป็นข้างขึ้น ข้างแรม คือข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วัน และแต่ละวันจะแบ่งออกเป็นสองช่วง คือกลางวัน กับกลางคืน กลางวันจะแบ่งออกเป็น 12 ช่วง แต่ละช่วงเรียกตามเสียงโปง คือ โมง  ส่วนกลางคือ คือ 6 ช่วงแรกเรียกตามเสียงกลอง คือ ทุ่ม 6 ช่วงเวลาหลัง เรียกตามเสียงยามรักษาการที่เคาะระฆัง เรียกว่า ยาม ก็ได้ หรือจะเรียกว่า ตี ก็ได้

มาตราเวลาที่ทั้งศาสนาผี และศาสนาพราหมณ์สยามใช้ร่วมกันนี้ ทำให้โยงความคิดไปถึงการใช้ปฏิทินตามมาตราเวลา ที่ขึ้นกับระบบสุริยะจักรวาล จึงส่งผลต่อศาสตร์ต่างของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อความเข้าใจตรงกัน เช่น เวลา ทิศ ความยาว น้ำหนัก ขนาด ซึ่งมาตราวัดเหล่านี้ จะเป็นเครื่องมือที่สร้างการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ที่จะนำไปสู่วิวัฒนการในศาสตร์ต่างๆ ได้

ในทางดาราศาสตร์แล้ว .ส.ประพีร์ วิราพร เลขาธิการสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่าในวันนี้หากใช้เข็มทิศดูทิศเหนือ-ใต้ ก็จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ขึ้นและตกอยู่ในระนาบตะวันออก-ตะวันตก และหลังจากวันนี้ไปดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ขยับไปทางทิศใต้ จนถึงวันที่ 22 ธ.ค. ดวงอาทิตย์จะปัดลงใต้ที่สุด ทำให้วันดังกล่าวมีกลางวันที่ยาวที่สุดและกลางคืนสั้นที่สุด แต่ชาวบ้านจะเรียกวันดังกล่าวว่า “ตะวันอ้อมข้าว” เพราะดวงอาทิตย์ไม่ได้เคลื่อนตัวข้ามยอดข้าว

จากความเห็นของ น.ส.ประพีร์ วิราพร เลขาธิการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ทำให้นึกถึงวันปีใหม่ ไทย คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถัดจากวันลอยกระทงเพียงแค่วันเดียว ซึ่งก็ใกล้เคียงกับวัน “ตะวันอ้อมข้าว” พอดี

แต่ในทางดาราศาสตร์แล้ว วันอีควิน็อกซ์ จะมีสองวัน ในรอบปี คือ วันที่ 23 กันยายน กับ วันที่ วันที่ 21 มีนาคม จากข้อมูลจารีตประเพณีที่กำหนดในสังคมของศาสนาผีหรือที่เรียกว่า “ฮีตสิบสอง” แล้วก็พบว่า วันที่ 23 กันยายน จะตกอยู่ในเดือน 9 ในทางศาสนาผี จะต้องทำประเพณี “บุญข้าวสาก” หรือข้าวประดับดิน ซึ่งมันสอดคล้องกับประเพณีศพของศาสนาผี คือเวลาจะนำศพไปยังป่าช้า(ป่าที่เอาร่างหรือมิ่งไปรอไว้ให้ขวัญเข้าร่าง เพราะศาสนาผีเชื่อว่าคนที่ตายแล้วอาจจะฟื้นขึ้นมาอีก) คือญาติผู้ตายจะต้องเอาข้าวเปลือกไปขั่วให้ข้าวแตกออกมาเป็นดอกขาว ที่ชาวอีกสานเรียกว่า “ข้าตอกแตก” หรือ “ข้าวสาก” แล้วเอาไปโรยตามเส้นทางที่นำศพไปฝัง จนถึงหลุ่มฝังศพ เผื่อถ้าคนตายฟื้นขึ้นมา จะได้เดินตามเส้นทางข้าวสากกลับบ้าน

ถ้าวิเคราะห์ตาม .ส.ประพีร์ วิราพร เลขาธิการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ก็จะพบว่า วันอีควิน็อกซ์ใน 1 ปีนั้นจะมีวันอิควินอกซ์ 2 วัน คือวันที่เป็นสัญญาณเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ (Spring Equinox) และวันที่เป็นสัญญาณเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วง (Autumn Equinox) สำหรับประเทศญี่ปุ่นถือว่าวันอิควินอกซ์ของฤดูใบไม้ผลินั้นเป็นหยุด หรือตามประเพณีของไทย ก็จะเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับน้ำ คือวันที่น้ำมาก ก็เป็นประเพณี “ลอยกระทง” และวันที่น้ำน้อย ก็จะเป็นประเพณี “สรงกรานต์”

ประตูหินแห่งภูผาขาม อุทยานแห่งชาติภูผายล อำเภอศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนครแห่งนี้ ถือว่าเป็นประตูแห่งกาลเวลา ที่ทำให้เราได้ย้อนกลับไปสู้อดีต ที่เชื่อมโยงเรื่องราวที่เป็นรากเหง้าของบรรพบุรุษของเราอย่างแท้จริง สมกับเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งทำพิธีกรรมในการนัดหมายบุตรหลานที่อยู่ในปัจจุบันได้พบกับบรรพชนผู้ที่ตายไปแล้ว ได้มาพบกัน ณ ที่ประตูแห่งกาลเวลาแห่งนี้ ตามความเชื่อของศาสนาผี แต่ถึงแม้ว่า เราได้เปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาพุทธไปแล้ว แต่ความเชื่อในทางศาสนาผี ก็ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสำนึกของความเป็นคนไทยอยู่ตลอดเวลา นั่นคือสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นได้ว่า ศาสนาพุทธไม่สามารถที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องพึ่งพาศาสนาผี ซึ่งประหนึ่งว่าเป็นศาสนาแม่ และศาสนาพราหมณ์สยาม ที่ประหนึ่งเป็นศาสนาพ่อ ในการอุปภัมภ์ อย่างนี้อยู่ร่ำไป และจะเป็นพุทธบริษัทที่ค้ำจุนศาสนาพุทธให้มีความมั่นคงสถาพร ยืนอยู่ในโลกในนี้ได้อย่างมีคุณค่า