Think In Truth

ศิลปะวัฒนธรรมไทย คือ...ตัวตนคนไทย  โดย ฟอนต์ สีดำ



หากจำแนกความเชื่อในสยามประเทศ หรือคนไทยในอดีตก่อนสมัยพุทธกาล จะประกอบด้วยความเชื่อสองความเชื่อหลักๆ คือความเชื่อผี หรือกลุ่มศาสนาผี ที่มีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” มีพระอินทร์เป็นเทพสูงสุด และความเชื่อเรื่องไสยเวทย์ หรือ  “ขอม” เป็นกลุ่มคนที่นับถือพระพรหมเป็นเทพสูงสุด มีความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของมนตราหรือพระเวทย์ ที่ผู้ที่มีการฝึกฝนจนมีฌานสูง จะสามารถใช้มนตราในการควบคุมสิ่งต่างๆ ได้

ทั้งสองความเชื่อนี้เป็นกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติ โดยที่กลุ่มที่มีความเชื่อเรื่องผีหรือศาสนาผี จะอาศัยอยู่ในเมือง ในหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มที่นับถือพระพรหมหรือมีความเชื่อเรื่องพระเวทย์หรือ “ขอม” จะปลีกวิเวก อาศัยอยู่ในป่า มุ่งปฏิบัติ สันโดด เป็นผู้มีศิลปะวิทยาการด้านการต่อสู้ รักษาศีล รักษาคำพูด มีความคิดชอบเอาชนะธรรมชาติ ซึ่งต่างจากกลุ่มศาสนาผี ที่เคารพในความเป็นธรรมชาติ ใช้ความเคารพธรรมชาติเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบทางสังคม โดยระบุการจัดระเบียบทางสังคมเป็นหมวดซึ่งแต่ละหมวดจะเรียกเป็น “ผี” เช่น หมวดป่าเขาที่เป็นต้นน้ำจะเรียกว่า “ผีป่า” “ผีเขา”ถ้าสูขึ้นไปก็จะเรียก “พฤกษเทวดา”  หมวดแม่น้ำจะเรียกว่า “ผีพราย” ถ้าสูงกว่านั้นก็จะเรียก “พระแม่คงคา” ถ้าหมวดดินจะเรียก “ผีนรก” สูงกว่านั้นจะเรียก “พระแม่ธรนี” หมดบรรพบุรุษจะเรียก “ผีปู ผีย่า” “ปู่เยอ ย่าเยอ” “ผีมด ผีเม็ง” หมวดบ้านเรือนจะเรียก “ผีบ้าน ผีเรือน” เป็นต้น

หากจะวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของคนทั้งสองความเชื่อนี้แล้ว ก็จะสามารถชี้ลงไปได้ว่า ศาสนาพราหมณ์สยามหรือ “ขอม” มีพฤติกรรมคล้ายกับพฤติกรรมของผู้ชาย คือห้าวหาญ สันโดด ไม่สะสม มีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เน้นฝึกปฏิบัติเพื่อหาคำตอบกับสิ่งที่สงสัย มักสร้างสิ่งก่อสร้างที่แข็งแรง เพราะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ

ในขณะที่กลุ่มที่นับถือศาสนาผี จะมีพฤติกรรมที่คล้ายๆ กับพฤติกรรมของผู้หญิง คือ ขี้กลัว ชอบสังคม  อยู่กันเป็นกลุ่ม มีจินตนาการด้านการสื่อสาร ชอบสะสมเพื่อความมั่นคงในการดำรงชีวิต ไม่ชอบแสวงหาความจริงที่เกินไปกว่าความสามารถ ถ้าสิ่งไดที่เกิดขึ้นแล้วอธิบายไม่ได้ก็จะเหมาเป็นเรื่องของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ คือ “ผี” แล้วก็ปรับตัวเองให้เข้ากับปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น เพื่อการอยู่รอดและการดำรงชีวิตที่สามารถประกอบอาชีพ และสะสมความมั่นคงได้ มักเอาความเชื่อที่อยู่เหนือธรรมชาติมาสร้างกติกาทางสังคมเพื่อร่วมกันปฏิบัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิดต่อสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาตินั้น โดยเฉพาะ “ผี”

ด้วยคุณลักษณะของกลุ่มคนสองความเชื่อนี้ จึงทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ คือ กลุ่มศาสนาพราหมณ์สยาม มีผู้นำความเชื่อเป็นผู้ชายที่มีความสามารถในการใช้ไสยเวทย์ ซึ่งการใช้ไสยเวทย์ จะมีข้อห้ามหลายอย่างเพื่อให้สามารถใช้พระเวทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมืองไดที่ปกครองโดยกลุ่มคนที่นับถือพราหมณ์สยาม จะมีความเจริญทางด้านวัตถุมา มีวิวัฒนการทางภาษาในการสื่อสารจากภาษาพูด ก็จะมีอักขระภาษาเพื่อการบันทึกศิลปะวิทยาการต่างๆ เช่นการบันทึกตำราพระเวทย์ จะถูกบันทึกเป็นภาษา “ขอม” ดังนั้น ภาษาขอมที่บันทึกภาษาบาลีที่เป็นตำราพระเวทย์ จึงเป็นต้นแบบของภาษาต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาปัลวะ ภาษามอญ ภาษาไทยปัจจุบัน ภาษาไทยลื้อ ภาษาไทยอาหม ภาษาไทยดำ ภาษาไทยจ้วง ภาษามคธ ภาษาล้านนา ภาษาลาวล้านช้าง ภาษาไทยใหญ่ ภาษาไทยน้อย รวมทั้งภาษาเขมร ในปัจจุบัน ส่วนวิวัฒนการทางด้านสถาปัตกรรม จะเน้นศิลปะแกะสลักหิน งานด้านศิลปะถึงจะมีความอ่อนช้อย แต่ก็มีความรู้สึกแข็ง สร้างความสะพึงกลัวต่อผู้พบเห็น ส่วนงานด้านวิศวกรรมก่อสร้างและโครงสร้าง จะเน้นการใช้หินตัดในการเรียงทับกันหรือที่เรียกว่า “ลอม” ใช้กำลังคนและช้างเป็นแรงงานในการก่อสร้าง ตำแหน่งของเจ้าครองเมืองจำมีตำแหน่ง กมรเตง ตำแหน่งที่สูงกว่าเจ้าครองเมืองจะมีตำแหน่ง กมรเตงอัน  ส่วนตำแหน่งเจ้าครองพระนคร จะมีตำแหน่ง กมรเตงคชต พระมหากษัตริย์ หรือ กมรเตงคชต นั้น จะทรงช้าง คือ คชต อ่านว่า คะ ชะ ตะ แปลว่า คชชาติ หรือ ช้าง นั่นเอง ถ้ามีความเก่งกล้าด้านไสยเวทย์ จะมีคำว่า “วรมันต์” ปรากฏในชื่อกษัตริย์องค์นั้นด้วย ซึ่ง “วรมันต์” แปลว่า “จอมขมังเวทย์” เป็นภาษาบาลี

เมืองไดที่ปกครองโดยกลุ่มศาสนาผี จะปกครองโดยกษัตริย์ฝ่ายผู้หญิงเป็นผู้กำหนดซึ่งจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย ยกเว้นเมืองนครธม(ขอมเป็นผู้สร้างแต่แพ้สงครามฝ่ายศาสนาผี ฝ่ายศาสนาผีจึงยึกครองอยู่ช่วงหนึ่ง) ที่เคยมีกษัตริย์ผู้หญิงปกครองมาในช่วงต้น สิ้นสุดลงในสมัยราชินีโสมา ที่แต่งานกับแขกจามที่นับถือฮินดู คือพระทอง หรือสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ในนาม พระเจ้าโกณฑิณญวรมันต์เทวะ เมืองที่ปกครองด้วยกลุ่มศาสนาผี จะเป็นเมืองที่รักสงบ ไม่รุกรานเมืองได้ เน้นทำมาหากิน สิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้ และจะมีผีป่า ผีเขากำกับการใช้ไม้เพื่อการปลูกสร้าง คือ ถ้าตัดไปสร้างแล้ว ต้องปลู้กต้นไม้คืน ถ้าไม่ทำ ผีป่า ผีเขาจะลงโทษ เมืองที่ปกครองโดยกลุ่มศาสนาผี มีวิวัฒนการในการก่อสร้างให้คงทนกว่าการใช้ไม้ คือการสร้างด้วยอิฐ ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่า “ดินจี่” ซึ่งเป็นอิฐและเครื่องดินเผา ที่มีวิวัฒนการถูกนำไปใช้ใช้หลายๆ พิธีกรรม เช่น พิธีเผาศพครั้งที่สอง ที่ใช้เครื่องปั้นดินเผาฝังลงไปกับศพด้วย ส่วนการเก็บศพครั้งที่หนึ่งนั้น จะเอาไปไว้บนภูเขา ตามถ้ำ ตามหน้าผ้า แล้วเขียนภาพตามหน้าผาเป็นสัตว์เลี้ยงบ้าง เป็นวิถีชีวิตของคนที่ยังอยู่บ้าง เพื่อนำทางคนตาย เมื่อ “ขวัญ” เข้าร่างและฟื้นขึ้นมาแล้ว จะสามารถกลับบ้านได้ถูก ภาพเขียนสีตามถ้ำ ตามหน้าผา ได้วิวัฒนการมาเป็นภาพ “เทพบุตร เทพธิดา” ที่สวยงามอ่อนช้อย ในปัจจุบัน

ทั้งสองศาสนา มีความสัมพันธ์กันเชิงเครือญาติ คือ ฝ่ายศาสนาพราหมณ์และศาสนาผี จะส่งลูกสาว หรือลูกชาย ไปแต่งงานกับเมืองต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติในการรักษาอำนาจการปกครอง เช่น เจ้าชายสิทธัตถะ ราชบุตรเมืองกบิลพัสดุ  ก็ได้พระนางโสธรา บุตรีของเมืองเทวทหะ เป็นมเหสี(กบิลพัสดุ์ เป็นเมืองศาสนาผี เพราะมีพิธีแรกนาขวัญ ศาสนาผีมีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ”  เทวทหะ เป็นเมืองที่นับถือพราหมณ์สยาม เพราะเมืองเทวะ ซื่อก็บอกว่าเป็นพราหมณ์สยาม) ตำแหน่งปกครองเมืองมีตำแหน่งเป็นพระราชา จะขึ้นตรงกับเมืองหลวงที่มีพระมหาราชาเป็นผู้ปกครองอีกชั้นหนึ่ง หลังจากที่ศาสนาผีเป็นส่วนหนึงของศาสนาพุทธ ผู้ปกครองเมืองก็เป็นกษัตริย์ ขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์ ในยุคปลายอยุทธยาก็ได้เปลี่ยนเป็น หลวงยกกบัตร ขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์ หลวงยกกบัตรก็ได้เป็นเปลี่ยนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภายหลัง

ความเป็นเครือญาติทั้งสองศาสนา ได้กำเนิดราชบุตร และราชบุตรี ที่ได้แต่งงานกัน จึงเกิดศาสนาใหม่เกิดขึ้น โดยเจ้าชายสิทธัตถะ คือศาสนาพุทธ คือใช้หลักธรรมและพิธีกรรมทั้งสองศาสนามาเป็นหลักธรรมของพุทธศาสนา เมื่อศาสนาพุทธอยู่เหนือศาสนาผี และศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาที่เป็นทางสายกลาง ที่ต้องอาศัยศาสนาพราหมณ์ซึ่งประหนึ่งเป็นศาสนาพ่อ และศาสนาผี ซึ่งเปรียบได้ดั่งศาสนาแม่ เป็นหลัก ที่จะขาดศาสนาได ศาสนาหนึ่งไม่ได้ หรือศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาโดดเดี่ยว ไม่ได้ ศาสนาพุทธจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้เลย นั่นคือที่มาของศาสนาพุทธ์ ต้องมีองค์ประกอบด้วยพุทธบริษัท ที่มีศาสนาพราหมณ์สยามเป็นอุบาสก และศาสนาผีเป็นอุบาสิกา นั่นเอง

จากความเข้าใจถึงความเชื่อทางศาสนาของคนไทยทั้งสองศาสนา จนอุบัติศาสนาพุทธขึ้นมาให้เราได้นับถืออยู่ทุกวันนี้ เราจะพบว่า วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปะวัฒนธรรมของ “ขอม” ทำไมไม่มีวิวัฒนการทางด้านศิลปะวัฒนธรรม อย่างกลุ่มความเชื่อของศาสนาผี นั้นเราก็ควรต้องมาศึกษาถึงกลุ่มขอม หรือกลุ่มศาสนาพราหมณ์สยาม ที่นับถือพระพรหม อยู่ที่ไหน หากติดตามกลุ่มที่สืบค้นปราสาทหินในประเทศไทย จะพบว่า ประเทศไทยมีปราสาทหินอยู่ทั่วประเทศ แต่ที่หลักๆ ก็จะมีที่ ลพบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสระเกตุ สุรินทร์ อุบล แขวงสะหวันเขต ใน สปป.ลาว ละในกัมพูชา นั่นคืออาณาจักรขอม ซึ่งมีสงครามรบพุ่งกันกับ “จาม” มาโดยตลอด ถึงแม้นขอมจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอาณาจักรศาสนาผี ซึ่งกินเนื้อที่ตั้งแต่อยู่นาน ลงไปจนสุดแหลมมาลายู และดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง แต่ก็มีการรบพุ่งกันอยู่บ้างในบางครั้ง แต่เมื่อรบกันแล้วก็มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกลับมาเหมือนเดิม ด้วยที่เมืองขอมที่นับถือศาสนาพราหมณ์สยามอยู่แล้ว ก็ถูกฮินดูเข้ามาครอบงำอย่างง่ายดาย ด้วยที่ฮินดูไม่เข้าใจถึงศิลปวัฒนธรรมขอม ศิลปะและวัฒนธรรมขอม จึงหยุดพัฒนาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ คือการแกะสลักหินที่ขอมสร้างศาสนาสถานที่เป็นปราสาทหิน เพื่อให้เข้าใจผิดว่า ปราสาทเหล่านั้นเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู แม้แต่พราหมณ์สยามแต่งวรรณกรรมรามรามเกียรติ์ เพื่อต่อต้านฮินดูซึ่งเพียง 5 บท พวกแขกฮินดูก็แต่งรามเกียรติ์สวมเข้ามาสองบท คือบทแรก เพื่อให้พระนารายณ์มีตัวตนในเรื่อง และตอนสุดท้าย เพื่อยกพระนารายณ์อยู่เหนือสิ่งได ช่วงนั้นศาสนาพุทธอยู่ในความเชื่อถือในความเป็นศาสนาหลักของคนไทยแล้ว ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มศาสนาผี จึงมีความเจริญในศาสนาสถานที่เป็นวัดในศาสนาพุทธ

สงครามระหว่างแขกจามกับขอม มีมาอย่างต่อเนื่อง จนแขกขามสามารถยึดนครธมได้ด้วยการที่แขกจามมาแต่งงานกับกษัตริยนครธม ซึ่งเป็นผู้หญิง(ตอนนั้นศาสนาผีปกครองนครธม และมีกษัตริย์ผู้หญิงปกครองต่อเนื่องมา โดยที่ “ขอม” เป็นศาสนจักรที่นครวัด เพราะมีความเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ศาสนาผี) แล้วสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์นาม พระเจ้าโกณฑิณญวรมันต์เทวะ นับตั้งแต่ พ.ศ. 1000 ศาสนาฮินดูจึงเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามายังสุวรณภูมิ แต่ศาสนาฮินดูก็ยังไม่สามารถที่จะล้างความเชื่อของคนไทยได้ แถมยังมีการต่อต้านอย่างหนัก ด้วยคำสอนที่ว่า “พบงู กับพบแขก ให้ตีแขกก่อน” จนถึง พ.ศ. 1200 ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่ตั้งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 300 โดยพระเจ้าอโศกมหาราช และมีการเผยแผ่เข้ามาในสยามประเทศ ในพ.ศ. 1200 ก็เนียนในการเผยแผ่ โดยเขียนพระไตรปิฏกบิดเบือน ถึงกำเนิดพระพุทธศาสนาที่อินเดีย แผ่เข้ามาครั้งแรกที่เมืองเพชรบุรี โดยการใส่ร้ายศาสนาพุทธที่อยู่ในประเทศไทยดั้งเดิมอยู่แล้วว่าเป็นพุทธศาสนานิกายชั่วหรือหินยาน เพราะเชื่องมงายในเรื่องของผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มนต์ดำ คาถา พุทธบริสุทธิ์คือพุทธมหานิกาย อีกทั้งยังรวมกับศาสนาฮินดูในการแผ่อิทธิพลอยู่เหนือดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีหลักฐานในถ้ำ วัดพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี

ถึงแม้นว่าศาสนาพุทธนิกายมหายานจะแผ่กระจายไปทั่งแผ่นดินสยาม แต่ก็มีพระมหากษัตริยไทย พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นภัยร้ายนี้ จึงได้ตั้งนิยกายธรรมยุติขึ้นมาเผยแผ่ ได้กราบนิมนต์เกจิอาจารย์ผู้เข้าใจในหลักธรรมและมีมาที่ไปของศาสนาพุทธมาอยู่ในสังกัด จนทำให้สาธุชนเข้าใจ และศาสนาพุทธนิกายมหายานหรือที่คนไทยเรียกทั่วไปว่า “พระบ้าน” มีวินัยที่หย่อนยาน ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ของพุทธมามกะจำนวนมาก การปรับตัวของพระสงฆ์ ไม่ว่าสายมหานิกาย สายธรรมยุติ และสายธรรมกาย ได้สรุปถึงพระธรรมที่มาจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวนั้น ไม่น่าจะมีความแตกต่างกัน จึงเกิดการหลอมรวมนิกาย เป็น “นิกายเถรวาท” ในปัจจุบัน