Think In Truth

ถอดรหัส'นางสีดา'กับคติชนความเชื่อ วรรณกรรมไทย : โดย ฟอนต์ สีดำ



วรรณกรรมที่กำลังเป็นไวรัลระว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ได้นำมาแสดงผ่านศิลปะการแสดงโขนอยู่ในปัจจุบัน คือ “รามเกียรติ์” หรือเวอร์ชั่นของฤาษีวาลมิกิ คือ “รามยณะ” ซึ่งตามข้อมูลเวอร์ชั่นเดิม มีทั้งหมด 5 กัณฑ์ ประกอบด้วย 1.อโยธยากัณฑ์ 2.อรัณยกัณฑ์ 3.กีษกินธกัณฑ์ 4.สุนทรกัณฑ์ 5.ยุทธกัณฑ์ หลังจากนั้นก็ถูกประพันธ์ขึ้นมาอีกสองกัณฑ์ คือกัณฑ์ก่อนหน้า และกัณฑ์สุดท้าย ดังนี้  1.พาลกัณฑ์ 2.อโยธยากัณฑ์  3.อรัณยกัณฑ์  4.กีษกินธกัณฑ์  5.สุนทรกัณฑ์  6.ยุทธกัณฑ์ และ 7.อุตตรกัณฑ์ โดยเวอร์ชั่นเดิมนั้น่าจะประพันธ์โดยขอม แห่งเมืองละโว้ ส่วนเวอร์ชั่นฤาษีวาลมิกิ นั่นคลาดว่าเป็นเวอร์ชั่นแก้การต่อต้านศาสนาฮินดูในแผ่นดินสยาม จึงประพันธ์กัณฑ์แรกให้มีตัวตนของพระนารายณ์ และกัณฑ์ที่ 7 สุดท้าย ประพันธ์เพื่อยกพระนารายและพระวิษณุให้อยู่เหนือเหล่าเทพทั้งปวง

วรรณกรรมรามเกียรต์ เป็นวรรณกรรมที่น่าจะต่อต้านศาสนาฮินดู เนื่องจาก ก่อนพุทธกาลในดินแดนสุวรรณภูมิมีความเชื่อทางศาสนาอยู่เพียงสองศาสนาความเชื่อ คือศาสนาผี(ศาสนาพระอินทร์) กับศาสนาพราหมณสยาม(ศาสนาพระพรหม) ซึ่งตามหลักฐานในการตรวจดีเอ็นเอของ รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ ภาควิชาชีวะวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น พบว่า ดีเอ็นเอของคนภาคอีสานเป็นการผสมระหว่างชาติพันธุ์ไตที่อพยบมาจากทางใต้ของจีน กับเขมรโบราณ(ขอม) ซึ่งถ้าวิเคราะห์ถึงความเชื่อแล้วก็พบว่า ขอมหรือที่ รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ เรียกว่าเขมรโบราณนั้น นับถือศาสนาพราหมณ์สยามหรือศาสนาพระพรหม และกลุ่มชาติพันธุ์ไต เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาผีหรือศาสนาพระอินทร์ ซึ่งทั้งเมืองขอมและเมืองศาสนาผี ก็อยู่รวมกัน ในพื้นที่เดียวกัน มีการแต่งงาน เป็นครอบครัว หรือสร้างเครือญาติในการดำรงอยู่ซึ่งอำนาจในการอยู่ร่วมกัน แต่ก็มีการความขัดแย้งกันบ้าง แต่ก็ไม่มีความรุนแรงจนถึงขนาดต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างเช่นตามตำนานสังข์สินไซ ก็เป็นความขัดแย้งระหว่างเมื่อที่นับถือศาสนาผี และศาสนาพราหมณ์สยาม

ต้องขออภัยกับท่านที่มีความเชื่อว่าศาสนาพุทธอุบัติขึ้นที่อินเดียนะครับ ผมวิเคราะห์ตามสมมุติฐานว่าศาสนาพุทธอุบัติขึ้นที่ประเทศไทย ด้วยตรรกะที่เกี่ยวกับวันวิสาขาบูชา พระจันทร์เต็มดวงหรือขึ้น 15 ค่ำ ที่ประเทศไทย แต่ที่อินเดียในวันเดียวกัน ไม่เต็มดวงครับ หรือตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เท่านั้น

ในความขัดแย้งทางความคิดหรือความเชื่อนี้ ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมและครอบครัว ของทั้งสองความเชื่อ ที่แต่งงานอยู่ร่วมกัน แต่ก็เกิดการหลวมรวมความเชื่อทั้งสองศาสนาเข้าด้วยกัน เป็นศาสนาพุทธ(วิเคราะห์จากคำสอน บทสวดมนต์ และพิธีกรรม) โดยศาสนาพุทธจะใช้หลักเหตุผลจากศาสนาพราหมณ์ มาเป็นพระธรรมในพระพุทธศาสนา เช่น พรหมวิหารสี่ หรือการอาราธนาธรรมจะขึ้นด้วย “พรหมา จะ โลกา” และทุกบทสวด จะไม่มีการเอ่ยถึง พระศิวะ พระนาราย์ หรือพระอิศวร หรือเทพองค์อื่นที่นับถือกันในอินเดียเลย โดยเฉพาะบทชุมนุมเทวดาก็ไม่มี นั่นหมายถึงเทวดาในอินเดีย ไม่มีส่วนในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก่อนเลย หลักฐานที่พบไม่ว่าศิวะลึงค์ รูปเคารพของศาสนาที่มาจากอินเดีย ก็เป็นเพียงการรุกรานเพื่อยึดครอง ส่วนพิธีกรรมศาสนาผีที่มีอยู่ในศาสนาพุทธ ที่อุบัติในประเทศไทย เนื่องจากศาสนาผี นับถือขวัญ ก่อนผู้ชายจะบวชเป็นพระภิกษุ จะต้องเข้าพิธีสู่ขวัญนาค นาคหมายถึงคนเปลือย ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคนไม่สวมเสื้อผ้า หมายถึงคนที่ยังไม่ได้รับศีล เพื่อถือปฏิบัติ หรือในพระสูติเองก็ระบุว่าครอบครัวของเจ้าชายสิทธิทัตถะนั้นนับถือศาสนาผี คือ ในวัยเยาว์ พระองค์ทรงเสด็จตามพระบิดาไปทำพิธีแรกนาขวัญ แล้วไปนั่งพักใต้ต้นหว้า(มีผลสุกสีม่วง เวลาร่วงลงพื้นดินจะทำให้ดินมีสีชมพู ซึ่งเป็นที่มาของชมพูทวีป) เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจนทำให้เกิดฌาณแรกในครั้งนั้น

การแผ่อิทธพลของฮินดูเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ เข้ามาตามการเดินทางค้าขาย ในยุคทวารวดี(เมืองท่าการค้าสากล) ในดินแดนสุวรรณภูมิมีเมืองทวาวรดีหลายเมือง แขกจามหรือชาวทมิฬได้ตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ตั้งเป็นอาณาจักรจามปาม และแผ่อิทธพลเข้ามาในเสียมราฐ และมีแขกจามได้แต่งงานกับกษัตริย์ผู้หญิงนามโสมาราชินี และสถาปนาเป็นกษัตริย์นามพระเจ้าโกณฑิณญวรมันต์เทวะ แล้วจัดการให้ประชาชนในปกครองนับถือศาสนาฮินดู ยึดนครวัดเป็นศาสนาสถานในศาสนาฮินดู ขับพราหมณ์ขอมออกจากศาสนถานหรือนครวัด แต่ด้วยขอมเหล่านั้นเป็นพระญาติของโสมาราชินี จึงได้ที่เพื่อสร้างศาสนาสถาน พราหมณ์ของเหล่านั้น จึงสร้างปราสาทตาพรหม บันทึกในปราสาทตาพรหมที่ระบุกษัตริย์นครธมเป็นผู้สร้างเพื่อถวายแก่พระบิดา มารดา นั้น น่าจะเป็นการบูรณะให้ใหญ่โตขึ้น

ในศวรรษที่ 11 พระเจ้าจิตเสน ได้แผ่อิทธิพลไปตามลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำมูล และลุ่มน้ำชี ได้สู้รบกับเมืองต่างๆ และได้ปักหลักศิลาจารึกไว้ ทุกเมืองที่รบชนะ รศ.ดร.กังวล  คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาภาคตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปกรณ์ ได้อ่านจารึกของพระเจ้าจิตเสน ไม่น้องกว่า 25 หลัก โดยเนื้อความทุกหลัก ได้ระบุถึงการได้ตั้งศิวะลึงค์เป็นรูปเคารพ ที่เมืองที่ตนได้รบชนะ ตามความต้องการของพระบิดา และมารดาที่ได้สั่งไว้และสรรเสริญต่อเทพที่อยู่เทวะสถานในอินเดีย  โดยไม่ได้ระบุบว่าได้สร้างปราสาทแต่อย่างได พระเจ้าจิตเสนเมื่อรบชนะแล้วก็ยึดเมืองและศาสนสถาน เอารูปเคารพเดิมไปทำลาย และเอาศิวลึงค์ แท่นโยนี และรูปปั้นโคนนทิ และ มาวางไว้แทน  พร้อมทั้งปักและไว้เป็นการประกาศถึงอาณาเขตที่ตนได้รบชัยชนะในการขยายอาณาเขตการปกครอง

การรุกรานของชาวทมิฬ ที่มีต่อขอมและชาวไตหรือชาวอีสานปัจจุบัน ซึ่งถ้าสร้างปราสาททุกหลัง พระองค์คงใช้เวลานานมาก ในขณะที่ประวัตอของพระเจ้าจิตเสน มีระยะที่ระบุในประวัติศาสตร์ไม่นานพอที่จะสร้างปราสาททุกหลังได้

ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าที่ได้หลอมรวมความเชื่อเป็นศาสนาพุทธ และทั้งศาสนาผี และพราหมณ์สยามซึ่งเป็นพุทธบริษัท จึงได้ประพันธ์วรรณกรรมรามเกียรติ์ เพื่อต่อต้านการรุกรานของศาสนาฮินดู โดยอาศัยความสามารถทางด้านการแสดงของกลุ่มศาสนาผีเป็นฝ่ายถ่ายทอด ได้แสดงผ่านหนังตะลุง ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่าหนังบักตื้อ เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมเพื่อต่อต้านการรุกรานของแขกจาม โดยสร้างตัวร้ายคือทศกัณฑ์ ที่อยู่ลงกา ซึ่งถือว่าเป็นการชี้เป้าใกล้เคียงกับศูนย์กลางของการบัญชาการการล่าอาณานิคม และการครองำความเชื่อศาสนาฮินดู คือเมืองทมิฬนาดู และเส้นทางการเดินทัพเพื่อตามไล่ล่าความชั่วร้าย จากอโยธยา ไปยังอินเดีย นั่นหมายถึง ผู้ประพันธ์ ต้องไม่ใช่คนอินเดียแน่ๆ ถ้าผู้ประพันธ์เป็นคนอินเดีย ไม่น่าจะประพันธ์ให้คนอินเดียเป็นคนชั่วร้าย เป็นคนที่ไร้จริยธรรม ถึงขนาดอยากได้เมียผู้อื่น จนถึงฉุด ไปอยู่ที่เมืองตน

การสื่อความหมายในตัวละครในในวรรณกรรมรามเกียรติ์ พระรามจะมีผิวกายเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นสีของผิวกายพระอินทร์ แสดงว่า การนำต่อต้านด้านการปลุกระดมด้วยหนังตะลุง เรื่องรามเกียรติ์ ผู้นำการต่อสู้คือฝ่ายศาสนาผี ซึ่งก็สอดคล้องกับตำนานการต่อสู้ของกองทัพผู้หญิงเปลือยอก ไม่ว่าตำนานพระธาตภูเพ็ก พระธาตุพนม ปราสาทหินพิมาย และที่ต่างๆ ที่มีปราสาทหินที่ศาสนาฮินดูยึดทำศาสนพิธี ส่วนพระลักษณ์ มีผิวกายเป็นสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นผิวกายสีเดียวกับพระอินทร์ นั่นหมายความว่า กองทัพในการต่อต้านฮินดูนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างศาสนาพราหมณ์สยาม กับ ศาสนาผี หรือขอมกับชนชาติพันธุ์ไต ส่วนกองทัพลิงนั้น เป็นการบูลลี่หรือดูถูกกองทัพยักษ์ ในการประพันธ์ และอีกอย่างหนึ่งก็เป็นการกระตุ้นชาวขอมและชาวไต ที่มีกำลังที่ด้อยกว่า ก็มีปรีชาสามารถในการเอาชนะยักษ์ ซึ่งมีกำลังมากกว่า

แล้วนางสีดาหละในความหมายของรามเกียรติ์ คืออะไร ในบทประพันธ์ ได้กำหนดให้นางสีดาเป็นคนสวย เป็นที่หมายปองกับผู้พบเห็นทุกคน แม้แต่หนุมานยังเคลิ้ม เมื่ออยู่ใกล้ หากจะวิเคราะห์ตามบริบทของการล่าอาณานิคมของชาวทมิฬแล้ว นางสีดา หมายถึงประชาชน ภายใต้การปกครองในอาณาจักรนั้นๆ ถ้าจะวิเคราะห์ตามเนื้อหาของพระเจ้าจิตเสน จากบันทึกในหลักหินแล้ว ก็จะพบว่า การรบชนะในเมืองใดแล้ว ก็จะมีการปักรูปเคารพศิวลึงค์ แท่นโยนี และรูปปั้นวัวนนทิ พร้อมทั้งปกเสาหินประกาศชัยชนะ นั้น เท่ากับการบังคับให้ประชาชนในเมืองนั้น ต้องเคารพนับถือศาสนาฮินดู เคารพต่อพระศิวะ เสมือนกับการอุ้มนางศรีดาไปกรุงลงกานั่นเอง

นัยของนางสีดา กับการอาสาฆ่านกหัสดีลิงค์ตำนานนกหัสดีลิงค์ ในวัฒนธรรมล้านช้าง ระบุในนครตักกะศิลาเชียงรุ้งแสนหวีฟ้ามหานคร พระมหากษัตริย์ถึงแก่สวรรคต ตามธรรมเนียมต้องอัญเชิญพระศพออกไปฌาปนกิจที่ทุ่งหลวง พระมหาเทวีให้จัดการพระศพตามโบราณประเพณี ได้แห่พระศพออกจากพระราชวังไปยังทุ่งหลวงเพื่อถวายพระเพลิง แต่เมื่อนกหัสดีลิงค์ได้เห็นพระศพจึงบินโฉบลงมาเอาพระศพจะไปกิน พระมหาเทวีเห็นเช่นนั้นก็ประกาศให้คนดีต่อสู้นกหัสดีลิงค์เพื่อเอาพระศพคืนมา แต่ก็ถูกนกหัสดีลิงค์จับกินหมด ธิดาแห่งพญาตักกะศิลา นามว่า สีดา จึงเข้ารับอาสาสู้นกหัสดีลิงค์ โดยใช้ศรอาบยาพิษยิงนกหัสดีลิงค์จนถึงแก่ความตายตกลงมาพร้อมพระศพ นัยแห่ง ธิดาแห่งพญาตักกะศิลาหรือนางสีดา ก็จะหมายถึง ประชาชน ซึ่งเป็นที่พญาเมืองต้องปกครองด้วยความรักและห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร นั่นเอง

ส่วนนัยของนางสีดา ตามตำนาน “โฮงนางสีดา” ปราสาทหินที่อยู่ใกล้กับปราสาทวัดพู เขตสะหวันเขต สปป.ลาว มีอยู่ว่า เมื่อกะลิงคนครที่ปกครองโดยพญากมมะทา ถูกยักบุกเข้ามากินคน จนเกิดความวุ่นวาย บุคคลสาบสูญ จนกลายเป็นเมืองร้าง พญากมมะทาจึงได้สร้างปราสาทหินเป็นหอโฮงกลางป่า แล้วเอานางสีดา ซึ่งเป็นธิดามาซ่อนไว้ เพื่อให้พ้นจากการจับกินของยักษ์ เมื่อเจ้าชายคันทะนา เทพบุตรรูปงาม โอรสของเจ้านครสีสาเกด เป็นผู้มีวิชาอาคมที่แก่กล้า มีพิณวิเศษ และมีไม้เท้า ต้นชี้ตาย ปลายชี้เป็น เป็นอาวุธ เมื่อเดินทางผ่านมา ณ เมืองลิงค์นคร เจ้าชายคันทะนาจึงได้เข้าไปหลบในปราสาทหินที่นาสีดาหลบซ่อนอยู่  จึงได้พบกับนางสีดา และรู้ความจริงว่ายักษ์บุกเข้ามาจับคนกินหมดทั้งเมือง เจ้าชายคันทะนาจึงอาสาที่จะปราบยัก โดยขอให้นางสีดาช่วยส่งเสียงให้ยักษ์ได้ยิน เมื่อยักได้ยินเสียงนางสีดา จึงได้ปรากฏตัวออกมา พร้อมกับเจ้าชายคันทะนาได้ใช้ไม้เท้าวิเศษด้านกกชี้ไปยังยักษ์ ยักษ์ตนนั้นจึงตาย และได้ใช้ท่อนปลายชี้ไปยังปราชาชนที่ตายไปทุกคนก็ฟื้นขึ้นมา จากตำนานของปราสาท “โฮงนาสีดา” ของวัดพูก็พอที่จะวิเคราะห์นัยของเรื่องได้ว่า นางสีดา คือ พสกนิกร หรือปราชาชนนั่นเอง

ตำนาน “โฮงนางสีดา” ที่ปราสาทภูเพ็ก ก็มีตำนานในแบบเดียวกับ ตำนาน “โฮงนางสีดา” ที่ปราสาทวัดพู ที่ สปป.ลาว จึงพอที่จะบอกได้ว่า นางสีดา คือประชาชน ที่เป็นเป้าหมายในการครอบงำในความเชื่อของกลุ่มอำนาจ ที่แผ่กระจายอำนาจ ไปสู่ดินแดนนั้น เพื่อให้ประชาชนในดินแดนนั้นได้มีความจงรักภักดี ต่ออำนาจที่เข้ามาปกครอง นัยของนางสีดา จึงเป็นเป้าหมายของผู้ล่าอาณานิคม นอกจากทรัพยากรแล้ว คือการยอมรับในอำนาจของผู้ล่าอณานิคมนั้น