Think In Truth

'นิทานเวตาล' การช่วงชิงศรัทธาเหนือ... 'การปกครอง'  : โดย ฟอนต์ สีดำ



เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวที่เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากเกี่ยวกับ “ครูกายแก้ว” ตั้งแต่การนำมาตั้งเพื่อให้คนศรัทธาได้บวงสรวงสักการะ และการมีข่าวให้มีการย้ายออกจากพื้นที่ใหม่ ซึ่งเป็นกระแสวิจารณ์กันจนถึงปัจจุบัน ก็ทำให้นึกถึงปีศาจในตำนานตัวหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมกันทั้งในประเทศไทย อินเดีย รวมถึงเปอร์เซีย จนทำให้มีการใช้โครงสร้างและสไตล์การเขียนเรื่องไปแต่งนิทานเรื่อง “อาหรับราตรี” ซึ่งก็ได้รับความนิยม ปีศาจตัวนั้นอยู่ในนิทานที่เขียนในสไตล์ นิทานซ้อนนิทาน ที่ซับซ้อนหลายๆ มิติในเรื่องเดียวกัน ปีศาจตัวนั้นคือ “เวตาล” ในนิทานเวตาลปัญจวิงศติ

นิทานเวลาตาลมีความเชื่อว่า นิทานเวตาล (สันสกฤต: वेतालपञ्चविंशति เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล 25 เรื่อง) เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว ซึ่งในประเทศไทยถูกแปลและพิมพ์เผยแพร่กันอยู่สองเวอร์ชั่น คือ นิทานเวตาล ของ ศ.ดร.ศรีศักดิ์  แย้มนัดดา ได้ประแปลมาอย่างครบถ้วน 25 เรื่อง  และ ของ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ที่แปลและประพันธ์เพิ่มเติม ทั้งหมด 10 เรื่อง ซึ่งทั้งสองเวอร์ชั่น จะมีทั้งเรื่องที่คล้ายกัน และแตกต่างกัน

ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์ตามช่วงเวลา และโครงสร้างเรื่องและตัวละครแล้ว เป็นนิทานที่ถูกประพันธ์ขึ้นมาหลังพุทธกาล ประมาณ 300 – 400 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงพระเจ้าอโศรกมหาราช ผู้ซึ่งมีความพยายามที่จะบุรกเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ แต่ก็ไม่สามารถที่จะฝ่ากองทัพของชาวสิงหนวัตร ของเมืองเชียงแสนได้ จึงกลับไปจับนักบวชเชนซึ่งเป็นศาสนาที่ตนนับถืออยู่ มาบวชเป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธ และตั้งเป็นนิกายมหานิกาย โดยเหยียดศาสนาพุทธในสุวรรณภูมิว่าเป็นนิกายชั่วหรือหินยาน พร้อมทั้งมียุทธศาสตร์ในการรุกรานเข้ามาชี้นำดินแดนสุวรรณภูมิสู่ยุครุ่นลูก รุ่นหลาน จนทำให้มีการรุกรานจากชาวฮินดูเข้ามาในดินแดนสุวรณภูมิได้ โดยเฉพาะพระเจ้าจิตเสน ที่มีการรุกรานเข้ามาถึงศรีเทพ มีหลักฐานจารึกศิลามากมายที่เป็นภาษาปัลวะ ที่สรรเสริญต่อพระศิวะ และการได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระบิดา มารดา ที่คาดหวังในการแผ่อิทธิพลในดินแดนต่างๆ ให้กว้างไกล

ยุทธศาสตร์การแผ่อิทธิพลของชาวทมิฬในดินแดนสุวรรณภูมิ นอกจากจะยึดครองดินแดนด้วยแล้ว ยังมีการตั้งรูปเคารพที่เป็นศิวะลึงค์ แท่นโยนี รูปปั้นโคนนทิ และศิลาจารึกภาษาปัลวะยังมีการเคลมวรรณกรรมของคนในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่มีการใช้ในการสื่อสารเพื่อปลุกระดมสร้างขวัญและกำลังใจในการป้องกันการรุกรานของชาวทมิฬ เช่น รามเกียรติ์ ซึ่งเดิม มี 5 กัณฑ์ ชาวฮินดูทมิฬก็เอาไปแต่งเพิ่ม 2 กัณฑ์ เพื่อให้ พระนารายณ์มีตัวตนในเรื่องรามเกียรติ์ แล้วใส่ชื่อผู้ประพันธ์ เป็นพราหมณ์วามิกิ เพื่อบอกว่า รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมของอินเดีย นิทานเวตาลปัญจวิงศติก็เช่นกัน ตามโครงสร้างเรื่องและตัวละครแล้ว เป็นการประพันธ์ขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่เป็นการแข่งขันความเชื่อและศรัทธาที่มีต่อศาสนาพราหมณ์(สยาม)หรือศาสนาพระพรหม กับศาสนาผีหรือศาสนาพระอินทร์ ซึ่งถ้าประพันธ์ที่อินเดียจริง จะโยงและเกี่ยวข้องกับเทพองค์อื่นมากมาย จะไม่ใช่เพียงแค่สองความเชื่อเท่านี้

ส่วนตัวละครที่สำคัญ ก็จะประกอบด้วยพระเจ้าวิกรมทิตย์  วิกกรมทิตย์ เป็นคำสองคำ คือ วิกรม กับคำว่าอาทิตย์ เมื่อนำมาสนธิก็จะได้ วิกรมามิตย์ ซึ่งแปลว่า พระอาทิตย์ที่เก่งกล้า  โยคีหรือฤาษี ศานติศีล แปลว่า สันติอย่างเป็นปกติ  เวตาล น่าจะมาจากคำว่า อวตาล ที่แปลว่า จำแลง ปลอมตัว กลายเป็น จำลอง ฯ ทั้งเรื่องมีตัวละครอยู่แค่สามตัวเท่านั้น ซึ่งก็สามารถจำแนกได้ว่า ตัวละครประกอบด้วย ราชอาณาจักร ที่มีพระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นตัวละคร และศาสนจักรที่มีโยคีศานติศีล เป็นตัวละคร และเวตาลซึ่งเป็นปีศาจเป็นตัวละคร โดยนัยของเรื่อง คือการช่วงชิงศรัทธาจากราชอาณาจักรของศาสนาจักรพราหมณ์สยาม(โยคี) กับศาสนจักรผีคือเวตาล

หากจะวิเคราะห์โดยสรุปทั้งเรื่อง ก็จะพบว่า ฝ่ายผี เป็นฝ่ายกำชัยชนะ ที่อยู่เหนือราชอาณาจักร นั่นคือเวตาลเป็นฝ่ายชนะที่ควบคุมราชอาณาจักร ให้สามารถดำเนินการปกครองตามแนวทางของศาสนาผีได้ ซึ่งมันสอดคล้องกับการปกครองในดินแดนสุวรรณภูมิหรือชมภูทวีป หรือดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน ในสมัยก่อนพุทธกาล ที่ศาสนาผีอยู่เหนือศาสนาพราหมณ์สยาม ตามตำนาน “สังข์สินไซ” และเกิดเมืองอินทรปัตย์หรือเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองโดยพระอินทร์ซึ่งน่าจะมีหลายเมือง และรวมทั้งนควัดนครธมด้วย เพราะก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการบังคับประชาชนให้นับถือศาสนาฮินดู นครธมปกครองโดยกษัตริย์ผู้หญิงมาโดยตลอด จนองค์สุดท้าย คือ พระนางราชินีโสมา ซึ่ง แต่งงานกับแขกฮินดู และสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ด้วยความหลง นามพระเจ้าโกณฑิณญวรมันต์เทวะ แล้วพระเจ้าโกณฑิณวรมันต์เทวะก็ขับขอมออกจากศาสนจักรในนครวัด บังคับให้ประชาชนนับถือฮินดู ขอมซึ่งนับถือพระพรหมจึงออกมาสร้างประสาทตาพรหมด้วยแรงศรัทธาที่มีอยู่กับประชาชน หรือแม้แต่ปัจจุบันนี้ก็ตามตามกฏมณเฑียรบาลของราชอาณาจักรไทย ก็จะเป็นฝ่ายหญิง(ฝ่ายศาสนาพระอินทร์)เป็นฝ่ายกำหนดกษัตริย์ซึ่งเป็นชาย ผู้จะขึ้นครองแผ่นดิน

การเคลมนิทานเวตาลปัญจวิงศติของอินเดียที่มีพิรุธ คือ ด้วยโครงเรื่องของนิทานเวตาลปัญจวิงศติ ฝ่ายผี เป็นผู้ชนะ ดังนั้น ผู้ประพันธ์เรื่องนี้ ต้องเป็นฝ่ายผี เป็นผู้ประพันธ์ แต่นิทานเวตาลปัญจวิงศติที่อ้างว่าเป็นวรรณกรรมของชาวฮินดู ที่ประพันธ์โดย ฤาษีศิวทาส นั้นเป็นความไม่สมเหตุสมผล ที่จะประพันธ์เรื่องนิทานเวตาลปัญจวิงสติ ให้ฝ่ายพราหมณ์หรือฝ่ายโยคี เป็นผู้แพ้ และไม่สามารถชี้นำอาณาจักรโดยการปกครองของพระเจ้าวิกรมาทิตย์ได้ ซึ่งมันเป็นพิรุธแบบเดียวกันกับวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ที่เขียนให้ทศกัณฑ์ซึ่งตำแหน่งเมืองที่อินเดีย โดยผู้ประพันธ์คือฤาษีวามิกี ซึ่งเป็นคนอินเดีย จะเขียนเรื่องให้คนอินเดียเป็นผู้ร้าย เป็นคนชั่ว มันเป็นไปได้ไหม??....คำถามโตๆ เหล่านี้ เป็นเงื่อนงำ ที่คนไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาและตีความวรรณกรรม ที่เชื่อมโยงกับโบราณคดี ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครองในแต่ละยุค

ในเว็บไซด์ของ The People คอลัมบ์ HISTORY ;  NOSTALGIA เรื่อง “นิทานเวตาล การเปลี่ยนผ่านจากอินเดียยุคบริติชราช สู่อาณานิคมในสยาม ถึงบริบทคณะราษฎร” ระบุไว้ว่า เรื่องราวที่เวตาลเล่าเต็มไปด้วยการยั่วยุให้พระเจ้าวิกรมาทิตย์แสดงพระสติปัญญาความรอบรู้และจิตใจเที่ยงธรรม ทำให้เวตาลเองรู้สึกประทับใจขึ้นเรื่อย ๆ ต่อคำตอบของพระเจ้าวิกรมาทิตย์ จนบอกความลับว่าโยคีที่พระองค์มี ดีลลับ’ อันอยู่นั้นกำลังคิดปองร้ายจะปลงพระชนม์พระองค์เป็นเครื่องบูชายัญแก่เจ้าแม่ทุรคา และเวตาลได้บอกวิธีจัดการกับโยคี เมื่อพระเจ้าวิกรมาทิตย์นำเวตาลไปให้แก่โยคีแล้ว ก็ได้ปฏิบัติตามที่เวตาลบอกเอาไว้ จึงเอาชนะโยคีได้สำเร็จ

ถึงแม้ว่าชื่อเรื่องจะชื่อ‘นิทาน (ของ) เวตาล’ แต่ตัวเอกของเรื่องจะเห็นว่าไม่ใช่เวตาล หากคือพระเจ้าวิกรมาทิตย์ เป็นวรรณกรรมที่มีเนื้อหายกย่องวีรกษัตริย์ของอินเดียโบราณ ในด้านความเพียร ความกล้าหาญ อดทน มีขันติธรรม และจิตใจเป็นธรรม วินิจฉัยตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ อย่างยุติธรรม อันเป็นคุณสมบัติโดดเด่นที่พระมหากษัตริย์พึงมีในทัศนะของพราหมณ์ ซึ่งการตีความทั้งเรื่อง ก็ยังคงเป็นการเทิดพระกษัตริย์ของกษัตริย์พราหมณ์ของอินเดีย โดยไม่มองไปจนถึงตอนสุดท้าย ที่ต้องถูกฝ่ายผีชี้นำ และทำตามโดยเป็นผู้ลงมือฆ่าโยคีที่เป็นผู้มีสันติเป็นศีลได้ลงคอ แล้วก็ใช้ศาสนาผีเป็นศาสนจักรเพื่อก้าวสู่ความเป็นมหาราช แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีพระอิศวร ซึ่งเป็นหนึ่งเทพในศาสนาฮินดูเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนให้พระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นมหาราช โดยความเป็นจริงแล้ว ศาสนาผีกับศาสนาฮินดูนั้น ไม่น่าจะทำงานร่วมกันในการสนับสนุนพระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นมหาราชได้ แต่เรื่องมันก็จบห้วนๆ โดยทิ้งความสงสัยในพิรุธของเรื่อง ที่เหมือนตอนเริ่มต้นกับตอนจบไม่ได้ถูกวางแผนในการพล็อตเรื่องให้แนบเนียนเลย เพราะถ้าเป็นฝ่ายผีชนะ เทพผู้ที่จะสนับสนุนให้พระเจ้าวิกรมทิตย์เป็นมหาราช คือ พระอินทร์ ไม่ใช่พระอิศวร

จากเว็บไซด์ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com/culture/article_114774ได้มองว่า สำหรับพระเจ้าวิกรมาทิตย์ หลังจากตอบคำถามนิทานเวตาลมาจนถึงเรื่องสุดท้าย เมื่อพระองค์ไม่ทราบคำตอบจึงเลือกที่จะเงียบ ทำให้เวตาลพอใจในตัวกษัตริย์พระองค์นี้มาก เพราะทรงซื่อตรง กล้าหาญ และไม่ย่อท้อ จึงเผยความจริงถึงแผนการร้ายของโยคี ที่ตัวพระองค์เองจะถูกใช้เป็นเครื่องสังเวยด้วย ก่อนจะแนะนำแผนจัดการโยคีเจ้าเล่ห์จนเป็นผลสำเร็จ

เหตุการณ์เสด็จไปจับเวตาลแบบวนเวียนซ้ำ ๆ หลังการตอบคำถามของพระเจ้าวิกรมาทิตย์นี้เรียกว่า “ไวตาลียโยคะ” ถือเป็นการบำเพ็ญเพียรที่เพิ่มพูนบารมีแก่พระองค์อย่างสูง ก็ยังตีความและวิเคราะห์เพียงลักษณะของตัวละคร ที่ได้รับผลจากการบำเพ็ญเพียร เท่านั้น โดยไม่ได้ตีความโดยทั้งเรื่องถึงเจตนาในการเขียนของผู้ประพันธ์ และวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์กับบริบททางสังคม ว่าสอดคล้องกันหรือไม่

ดังนั้นจากการวิเคราะห์โดยสรุป ก็จะพอสรุปได้ว่า นิทานเวตาลปัญจวิงศติ เป็นนิทานที่ไม่ได้ประพันธ์ขึ้นในอินเดีย เนื่องจากเนื้อเรื่องไม่มีความสัมพันธ์กับบริบทความเชื่อในอินเดีย โดยเฉพาะความเชื่อทางศาสนาฮินดู แต่เนื้อเรื่องกลับสอดคล้องกับความเชื่อของกลุ่มคนสองกลุ่มในดินแดนสุวรรณภูมิ หรือดินแดนสยาม ที่มีกลุ่มสิงหนวัตรหรือกลุ่มนับถือผี ศาสนาพระอินทร์ที่มีเวตาลเป็นตัวละคร กับกลุ่มขอมหรือกลุ่มศาสนาพรหามณ์ที่นับถือพระพรหม โดยมีโยคีศานติศีล เป็นตัวละคร ทั้งสองความเชื่อมีเป้าหมายที่จะเข้าไปสร้างศรัทธาเหนือการปกครองของราชอาณาจักรที่มีพระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นตัวละคร จึงเชื่อได้ว่า นิทานเวตาลปัญจวิงศติ นั้นไม่ได้ประพันธ์ขึ้นโดยชาวอินเดีย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามีชาวอินเดียเอาไปเพิ่มตัวละครหรืออาจะเปลี่ยนตัวละครจากพระอินทร์ไปเป็นพระอิศวร เพื่อให้เข้าใจผิดว่าเป็นวรรณกรรมฮินดูของชาวอินเดีย ที่เขียนโดยภาษาสันสกฤต