Think In Truth

'วาเลนไทน์'เป็นวันสักขีมรณะการแต่งงาน  : โดย  ฟอนต์ สีดำ



คดีอุ้มฆ่าหนุ่มโรงงาน และโลกสามใบของ “น้องพร” ที่สามารถกลบกระแสการตัดสินคดีการใช้ ม.112 หาเสียงของพรรคก้าวไกล และการย้อนเกล็ดจับนักร้องชื่อดังตบทรัพย์อธิบดีกรมการข้าว ที่สามารถเบี่ยงเบนความสนใจของสังคม ให้มาจับจ้องมองผลการสืบคดีอุ้มฆ่า จากโลกหลายใบของน้องพร ที่เกิดจากอิทธิพลของพหุวัฒธรรมของสังคมที่ ที่แยกแยะคุณค่าทางวัฒนธรรมของตนเองไม่ออก จนส่งผลให้คนในสังคมตระหนักถึง “ศีล” น้อยลง โดยเฉพาะ “กาเม สุมิจฉา จาร” จนนำไปสู่การแย่งชิงถึงขั้นเอาชีวิตคนด้วยกัน เพียงเพื่อครอบครองในสิ่งที่ตนรัก ทั้งที่เป็นมิจฉาทิฐิ ที่ตนไม่มีสิทธิ์ในการครอบครองสิ่งนั้น

พหุวัฒนธรรม ที่มีผลต่อสำนึกของคนในสังคมไทยที่เปลี่ยนไป คือ วัฒนธรรมการครองเรือนของชาวมุสลิม ที่ไม่ได้ลงลึกให้กับสังคมไทย ที่สร้างความเชื่อถึง มุสลิมสามารถมีภรรยาได้ถึง 4 คน ซึ่งนั่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้กับชายไทย ที่มีความประสงค์อยากมีภรรยาหลายคนเหมือนกับชายมุสลิม โดยไม่เข้าใจถึงหลักปฏิบัติของชาวมุสลิม ที่จะมีเมียถึง 4 คนได้ เขาต้องพิสูจน์อะไรบ้าง ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูอย่างไร และต้องมีกติกาอย่างไรในการครองเรือน ที่ต้องมีภรรยาอยู่ในครัวเรือนถึง 4 คน อีกทั้งยังผนวกกับวัฒนธรรมชาวเขา ที่สังคมไทยรับมาเพียงชายชาวเขาบางเผ่า สามารถมีเมียได้หลายคน ซึ่งก็ไม่ได้ลงลึกถึงความรับผิดชอบต่อการทำหน้าที่ของชายผู้ซึ่งต้องปกครองภรรยาในครอบครัวอย่างไร

นอกจากกระแสวัฒนธรรมในการครองเรือนของชาวมุสลิมที่มีผลต่อวิถีของคนไทยในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ยังคงมีกระแสวัฒนธรรมวันวาเลนไทน์ ที่ส่งผลถึงความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมไทยที่มีต่อการครองตนในวัยเจริญพันธุ์เป็นอย่างมาก จนสังคมวัยรุ่นก็เข้าใจว่า วันวาเลนไทน์เป็นวันเสียตัวแห่งชาติ สังคมไทยในวัยเจริญพันธุ์กลายเป็นสังคมที่หมกมุ่นในกาม จนให้ความสำคัญต่อคุณภาพของครอบครัวต่ำลง ปัญหาการหย่าร้างเกิดขึ้นในสังคมไทยสูงมาก เด็กกำพร้า ต้องอาศัยอยู่กับคนที่ไม่ใช่พ่อ ไม่ใช่แม่ที่แท้จริง มีสูงขึ้น ปัญหาที่เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนในครอบครัวเดียวกันที่ไม่ใช่พ่อ ไม่ใช่แม่ที่แท้จริงก็มีมากขึ้น จากความไม่ชัดเจนในวัฒนธรรมที่จะคัดกรองความคิดที่ถูกต้องทางกาม ถูกสะสมในสังคมไทย จนเกิดธุรกิจที่ผิดกฏหมาย และขัดจริยธรรมทางสังคมสูงขึ้น เช่นการค้ามนุษย์ในรูปแบบต่างๆ รวมไปจนถึงการฆาตรกรรมเพื่อแย่งชิงคนที่ตนรักจากผู้อื่น อย่างคดีอุ้มฆ่า ของโลกหลายใบของน้องพร ที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึงอยู่ในปัจจุบัน

วันวาเลนไทน์ หรือวันที่ 14 กุมพาพันธ์ของทุกปี คนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกความเชื่อ ทุกศาสนา ก็จะจับจ่ายซื้อกุหลาบ ซื้อสติ๊กเกอร์รูปหัวใจสีชมพู เอาไปมอบให้คนที่ตนรู้สึกรัก หรือเอาสติ๊กเกอร์รูปหัวใจไปแปะให้กับคนที่รู้จักเพื่อแสดงความรักที่มีต่อกัน ซึ่งการแสดงออกแบบนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เสียหายแต่อย่างได และยังเป็นการแสดงออกที่ดีต่อกันและกับของคนในสังคมด้วยซ้ำ หากแต่การแสดงออกถึงความรักในวันวาเลน์ไทน์ ที่คนในสังคมไม่รู้ที่มาที่ไปและไม่รู้ถึงความหมายที่แท้จริงแล้ว ก็จะกลายเป็นการแสวงหาความรักบนแรงกระตุ้นกิเลส ที่นำไปสู่ปัญหาของสังคมอย่างที่ผ่านมา

วันวาเลนไทน์ สืบเนื่องมาจากสังคมโรมัน เมื่อก่อนเครพต่อเทพี จูโน่ เฟรบูเอต้า (Juno Frebuata) ซึ่งเป็นสตรีแห่งการแต่งงาน หรือที่ชาวโรมันทั่วไปเรียกว่า เทพี Terra ซึ่งในวันที่ 14 กุทพาพันธ์ของทุกปี จะมีการฉลองต่อเทพีจูโน่ เฟรบูเอต้า ซึ่งมีเทพ Cupid หรือชาวโรมันเรียกว่า Erose เป็นสื่อแห่งความรักที่จะแผลศรเข้าตรงหัวใจของชายหนุ่มและหญิงสาว ที่เข้าร่วมฉลองต่อเทพี จูโน่ เฟรบูเอต้า (Juno Frebuata)

ในวันที่ 14 กุมพาพันธ์ ของทุกปี โดยสังคมคนหนุ่มสาวของชาวโรมันจะแยกสังคมกันอยู่ จะแยกในการใช้ชีวิตต่อกัน พอถึงวันฉลองเทพีจูโน่ เฟรบูเอต้า ก็จะนำรายชื่อหญิงสาวมาทำเป็นฉลากให้ชายหนุ่มไปจับ เมื่อชายหนุ่มจับได้หญิงสาวคนได ชายหนุ่มคนนั้นก็จะมีสิทธ์ในการเข้าคู่เต้นรำ และออกไปเที่ยวด้วยกัน ในวันถนัดไป คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ซึ่งชาวโรมันเรียกว่าวันเทศกาลหมาป่า (Luperecar Lia) ถ้าชายหนุ่มและหญิงสาวมีความชอบพอรักกัน ก็จะนำไปสู่การแต่งงานในลำดับต่อไป

ในรัชสมัยของจักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้าย และทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วมในกองทัพ เนื่องจากไม่อยากจากคู่รักและครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโองการสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง

และขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ร่วมมือกับเซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนาดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับ และระหว่างนั้นเขาก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เชื่อกันว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิงสาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า "From Your Valentine"
หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัสผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพอันสวยงาม ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่ยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่าในช่วงยุคกลาง วาเลนไทน์นับเป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส

ต่อมานักบวชในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลวันแห่งความรัก และดูเหมือนว่ายังคงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

หากแต่ดูจากประวัติศาสตร์แล้ว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ นั้นไม่ได้เป็นวันเฉลิมฉลองต่อความรัก หรือเป็นวันแห่งความรักแต่อย่างได หากแต่เป็นวันมรณสักขีในศาสนาคริสต์ยุคแรกหลายคนมีชื่อว่าวาเลนไทน์ ซึ่งวาเลนไทน์ที่มีการฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คือ วาเลนไทน์แห่งโรม (Valentinus presb. m. Romae) และวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี (Valentinus ep. Interamnensis m. Romae)วาเลนไทน์แห่งโรมเป็นนักบวชในโรมผู้พลีชีพเพื่อศาสนาราว ค.ศ. 269 และฝังที่เวียฟลามีเนีย (Via Flaminia) กะโหลกที่สวมมาลัยดอกไม้ของนักบุญวาเลนไทน์จัดแสดงในมหาวิหารซานตามาเรียในคอสเมดิน โรม เรลิกอื่นพบได้ในมหาวิหารซานตาพราสเซเด (Santa Prassede) ในโรมเช่นกัน เช่นเดียวกับที่โบสถ์คาร์เมไลท์ถนนไวท์ไฟร์เออร์ (Whitefriar Street Carmelite Church) ในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์

วาเลนไทน์แห่งเทอร์นีกลายมาเป็นบิชอปแห่งอินเตรัมนา (Interamna, ปัจจุบัน คือ เทอร์นี) ราว ค.ศ. 197 และกล่าวกันว่าเขาได้พลีชีพในช่วงการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในรัชสมัยจักรพรรดิออเรเลียน ศพเขาฝังที่เวียฟลามีเดียเช่นกัน แต่คนละตำแหน่งกับที่ฝังวาเลนไทน์แห่งโรม เรลิกของเขาอยู่ที่มหาวิหารนักบญวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี

ในขณะเดียวกัน ในเดือนเดียวกันนี้ ในสังคมไทยมีวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญต่อสังคมไทยมายาวนาน แต่ก็ถูกลดความสำคัญลงกลายเป็นเพียงแค่วันหยุดเพื่อให้สังคมไทยมีเวลาฉลองวันวาเลนไทน์มากขึ้น นั่นคือ “วันมาฆะบูชา” ก็สืบเนื่องมากจากสังคมไทย โดยเฉพาะหน่วยงานราชการให้ความสำคัญกับวันมาฆะบูชาต่ำลงไปมาก วันมาฆะบูชากลายเป็นเพียงแค่วันหยุดราชการ กับแทนที่หน่วยงานราชการจะหยุดราชการเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา แต่กลายเป็นวันหยุดราชการเพื่อให้ข้าราชการพักผ่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ ที่สังคมไทยไม่ได้อาศัยวันสำคัญทางศาสนาอย่างนี้ได้สืบทอความสำคัญของปรัชญาแห่งความมั่นคงของชาติและสังคมไทยในวันมาฆะบูชานี้เลย

มาฆะบูชา มาจากชื่อมานะผู้มีจิตอาสา ในอดีตเมื่อนานมาแล้ว มฆมาณพเป็นจิตอาสาผู้ทำความดีด้วยหัวใจ นอกจากทำหมู่บ้านของเขาให้เป็นรมณียสถาน คือ เป็นที่น่ารื่นรมย์ น้ำอุดม ร่มรื่นด้วยพฤกษา แล้ว เขายังรณรงค์ให้ชาวบ้านรักษาศีล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันกัน อันยังมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวประชา

การทำงานจิตอาสาของมฆมาณพทำให้เกิดอานิสงส์แรงกล้า ส่งให้ภายหลังเขาคือ ท้าวสักกะ ผู้เป็นพระอินทร์ เทพเจ้าที่ใครๆ ล้วนเคยได้ยินชื่อมาแล้วทั้งสิ้น เพราะพระอินทร์เกี่ยวข้องกับเรื่องราวบ้านเมืองของเราอย่างสำคัญ เช่น รัตนโกสินทร์ ชื่อของราชธานีแห่งนี้ แปลว่า แก้วของพระอินทร์ หรือหมายถึง พระแก้วมรกต นั่นเอง

ในทางสำนักพุทธศาสนาระบุว่า"มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ซึ่งในความเป็นจริงเป็นอย่างไรนั้นคงต้องหาคำตอบเพิ่ม เนื่องจากประเทศอินเดียมีการใช้ปฏิทินจันทรคติเหมือนประเทศไทยหรือไม่นั้นก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ แม้แต่บันทึกในเสาศิลาพระเข้าอโศกมหาราช ก็ไม่ได้ระบุถึงการใช้ปฏิทินจันทรคติแต่อย่างใด

การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

ความสำคัญของวันมาฆบูชาที่สำนักพุทธศาสนาระบุไว้ คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9  เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า

" ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
                 1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
                 2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                 3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

                 4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเองทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์

ด้วยความไม่ใส่ใจต่อการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมของหน่วยงานราชการไทย ที่จะทำให้คนในสังคมได้คัดกรองวัฒนธรรมที่ถูกต้องเพื่อถือปฏิบัติ สังคมไทยจึงมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่อ่อนแอลงไปจากเดิมมาก แม้แต่สำนักพุทธศาสนาที่ดูแลพระพุทธศาสนาโดยแท้ ไม่ได้เฉลียวใจบ้างเลยหรือว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้ เพียง 9 เดือน พระองค์ยังต้องทบทวนอริยะสัจใต้ต้นไม้อีกเก้าชนิด นานถึง 45 วัน จึงเดินทางไปโปรดปัญจวัคคี และเกิดไตรลักษณ์ขึ้นครั้งแรก ที่โกณฑัญญะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์องค์แรก กับเวลาที่เหลืออยู่ สามารถบวชพระที่เป็นเอหิภิกขุ ที่มีอภิญญา 6 ถึง 1250 รูป ในเวลาเพียง 7 ครึ่ง ถ้าลำพังเพียงแค่บวชพระภิกษุฌฉยๆ ก็น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าทั้งสั่งสอนพระสงฆ์ที่บวชกับพระพุทธเจ้า ใช้เวลาเพียงไม่นานแล้วเกิดอภิญญา 6 ทั้ง 1250 รูป เป็นเรื่องที่ต้องทบทวนอย่างหนักว่าเป็นไปได้ไหม??...แล้วสำนักพุทธจะสร้างการคัดกรองวัฒนธรรมให้กับสังคมไทยได้เลือกปฏิบัติได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร?....และคำว่า “จาตุรงค์สันนิบาต” ไม่น่าจะหมายถึงพระสงฆ์ที่เป็นเอหิภิกขุ ที่มีอภิญญา6 เพียงแค่กลุ่มเดียว เพราะสันนิบาตน่าจะประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีลักษณะต่างกันออกไปรวมกันทำภาระกิจเดียวกัน ในความเห็นของผู้เขียน มองว่า “จาตุรงคสันนิบาต” หมายถึง พุทธบริษัทสี่ มากว่า ที่จะเป็นเพียงแค่พระสงฆ์ที่เป็นเอหิภิกขุ 1250รูปเท่านั้น

หน่วยงานราชการอีกหน่วยหนึ่งที่ไม่ได้ส่งเสริมการคัดกรองวัฒนธรรมทางสังคมแต่กลับส่งเสริมวัฒนธรรมที่ไม่หยั่งลึกถึงรากเหง้าของสังคมไทย คือ กระทรวงมหาดไทย ที่ส่งเสริมสังคมไทยให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์ จนถึงจัดให้มีการจดทะเบียนสมรสในวันวาเลนไทน์โดยได้ทะเบียนสมรสทองคำ โดยที่ไม่เข้าใจความหมายว่า วันวาเลนไทน์เองเป็นวันระลึกถึงการตายของเซนต์วาเลนไทน์ ที่ได้รับการประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ สิ่งที่อยากจะสะท้อนให้สังคมไทยและหน่วยงานราชการได้สร้างความตระหนักต่อการคัดกรองวัฒนธรรมที่ถูกต้องในกระแสสังคมพหุวัฒนธรรมนี้ คือการส่งเสริมและการเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้สังคมได้ตระถึงการป้องกันปัญหาทางสังคมที่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ