Authority & Harm

กอ.รมน.จันท์บูรณาการลงพื้นที่ตรวจสอบ ผู้เลี้ยงกุ้งปล่อยน้ำเสียลงคลองสาธารณะ



จันทบุรี-เมื่อวันที่ 27 ม.ค.68 เวลา 14.00 น.    น.อ.พจน์รัฐ พ่วงรักษ์ หน.กลุ่มงานแผนนโยบายเเละข่าว น.อ.ณัฐพงศ์ สุวรรณวงศ์ หน.กลุ่มงานบริหารงารบุคคลฯ บูรณาการร่วมกับ นายศุภกฤต โอ่งเคลือบ หัวหน้างานตรวจการขนส่งทางน้ำ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาจันทบุรี  กรมประมงจังหวัดจันทบุรี ปลัดอำเภอนายายอาม  สมาชิก อส. นายพิษณุ  แสงมณี กำนัน ตำบลช้างข้าม   ณรงค์เดช ผ่องมณีผู้ใหญ่บ้าน ม.10 ตำบลช้างข้าม   ตำรวจ สภ.นายายอาม  เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลช้างข้าม  นำโดยนางสาวพัชรินทร์  จินดำพรรณ  นายกเทศบาลตำบลช้างข้าม ได้บูรณาการ นำกำลังลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ว่ามีการปล่อยน้ำเสีย ฉีดเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้งลงสู่คลองสาธารณะโดยไม่ผ่านระบบการบำบัดทำให้เกิดน้ำเสียเเละลำคลองตื้นเขินสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ใช้ประโยชน์สาธารณะ ในพื้นที่ ต.ช้างข้าม ม.13 บ้านคุ้งตะเคียน อ.นายายอาม จ.จันทบุรี  

           

จากการตรวจสอบพบว่าเจ้าของที่ได้มีการปล่อยน้ำเสียลงสู่พื้นที่สาธารณะจริง  จึงได้ดำเนินการให้เจ้าของที่ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย และทางเจ้าของที่ก็ได้ยืนยันว่าจะดำเนินการให้เรียบร้อยจะไม่นำน้ำเสียทิ้งลงคลอง สาธารณะอีก ซึ่งในละแวกนั้นจะมีพื้นที่เลี้ยงกุ้ง กุลาดำจำนวน หลายบ่อ  หลายเจ้าของ   ซึ่งการที่นำน้ำที่ ผ่านการฉีดเลน   ปล่อยลงคลองสาธารณะ   ซึ่งการฉีดเลนหลังจากการจับกุ้งในบ่อที่เลี้ยงแล้ว   ต้องมีบ่อพักน้ำเสีย  ของตัวเอง  การจะต้องน้ำที่ทำการฉีดเลนนั่นไปใส่ บ่อพัก  เพื่อทำให้ตกตะกอนและแห้งเสียก่อน   เพราะเลนนั้นเป็นเลนที่ หมักหมม ด้วยของเน่าเน่าเสียจากการให้อาหารกุ้งและเน่าเสียจากตัวกุ้งที่ตาย   ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่นำไปติดต่อกับกุ้งที่เลี้ยงบ่ออื่นหากน้ำเสียจากฉีดเลนเล็ดลอดออกไปตามลำคลองสาธารณะที่มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ    

                       

ซึ่งเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง กุลาดำ ต่างก็ต้องใช้น้ำและ ต้องดูดน้ำจากคลองสาธารณะนั้นนำไปใส่บ่อกุ้งของตนเพื่อรักษาระดับน้ำให้คงที่ และเป็นการนำน้ำใหม่เข้ามาเพื่อปรับสภาพน้ำในบ่อกุ้งค่าพีเอสต่างๆต้องคงที่ ในบอกกุ้งของตน และน้ำที่เสียจากการฉีดเลนนั้นถ้านำปล่อยลงไปในคลองสาธารณะแล้วนั้นบอกกุ้งต่างๆบริเวณนั้นซึ่งมีจำนวนหลายบ่อและหลายเจ้าก็จะดูดน้ำเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อทำให้กุ้งในบ่อที่กำลังเลี้ยงอยู่นั้นเกิดอาการติดเชื้อและตายในที่สุด  เจ้าของบ่อต่างๆที่อยู่บริเวณที่มีคลองสาธารณะจึงได้ร้องเรียนไปทาง เทศบาลและอำเภอนายายอาม จึงได้ประสานทาง กอรมน.  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงตรวจสอบ  และได้พูดคุยและหารือข้อตกลงต่างๆ ได้ข้อสรุปว่าจะไม่นำน้ำเน่าเสียที่ทำการฉีดเลนลงคลองสาธารณะ และจะแก้ไขดำเนินการให้เป็นที่เรียบร้อยตามคำเสนอของเจ้าหน้าที่   และยอมรับว่าตนนั้นได้นำน้ำเน่าเสียจากการ ฉีดเลนหลังจากจับกุ้งจากบ่อกุ้งลงคลองสาธารณะ  และจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบและจะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ต่อไป

กิตติพงศ์  คงคาลัย  ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี