In News
นิด้าโพลสำรวจ2ทศวรรษแก้ปัญหาจชต. มองแย่เหมือนเดิม/รัฐฯไม่ให้ความสำคัญ

กรุงเทพฯ-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “2 ทศวรรษ แก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,100 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงสถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.45 ระบุว่า สถานการณ์แย่เหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 20.36 ระบุว่า สถานการณ์ดีเหมือนเดิม ร้อยละ 18.55 ระบุว่า สถานการณ์ค่อนข้างดีขึ้น ร้อยละ 14.64 ระบุว่า สถานการณ์ค่อนข้างแย่ลง ร้อยละ 10.00 ระบุว่า สถานการณ์แย่ลงมาก และร้อยละ 3.00 ระบุว่า สถานการณ์ดีขึ้นมาก
ด้านการพัฒนาความเจริญในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.18 ระบุว่า การพัฒนาค่อนข้างดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 37.45 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการพัฒนาเท่าไร ร้อยละ 14.55 ระบุว่า ไม่มีการพัฒนาเลย และร้อยละ 5.82 ระบุว่า การพัฒนาดีขึ้นมาก
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.55 ระบุว่า ความสัมพันธ์ดีเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 30.64 ระบุว่า ความสัมพันธ์ค่อนข้างดีขึ้น ร้อยละ 19.91 ระบุว่า ความสัมพันธ์แย่เหมือนเดิม ร้อยละ 7.09 ระบุว่า ความสัมพันธ์ค่อนข้างแย่ลง ร้อยละ 5.64 ระบุว่า ความสัมพันธ์ดีขึ้นมาก ร้อยละ 3.00 ระบุว่า ความสัมพันธ์แย่ลงมาก และร้อยละ 0.17 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับการให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.36 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ รองลงมา ร้อยละ 31.82 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย ร้อยละ 18.82 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ ร้อยละ 5.91 ระบุว่า ให้ความสำคัญมาก และร้อยละ 1.09 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการให้ความสำคัญกับนโยบายการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.55 ระบุว่า ให้ความสำคัญมาก รองลงมา ร้อยละ 27.36 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ ร้อยละ 15.55 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ร้อยละ 9.18 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย และร้อยละ 0.36 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ซึ่งร้อยละ 37.82 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 33.73 จังหวัดปัตตานี และร้อยละ 28.45 จังหวัดยะลา โดยตัวอย่าง ร้อยละ 48.64 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.36 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.73 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 22.55 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 21.91 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.26 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 20.55 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตัวอย่าง ร้อยละ 37.82 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 61.82 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.36 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.45 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.73 สมรส และร้อยละ 2.82 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่โดยตัวอย่าง ร้อยละ 0.92 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 15.18 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 37.36 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.09 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 34.45 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.00 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.18 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.82 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.45 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 9.64 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.36 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.55 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงานและร้อยละ 5.00 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.36 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 2.73 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 17.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 33.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 1.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.73 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.18 ไม่ระบุรายได้