Digitel Tech & AI

ประชุมความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัลโลก งานสำคัญของงานGDEC 2025



เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 การประชุมความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัลโลก (Global Digital Economy Collaboration Forum) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของการประชุมเศรษฐกิจดิจิทัลโลก ประจำปี 2568 (GDEC 2025) ได้จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในหัวข้อ "Sail Together, Thrive Together" โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การส่งเสริมนวัตกรรมความร่วมมือ และการสร้างศูนย์กลางความร่วมมือทางอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ ยังได้มีการสำรวจรูปแบบบริการในการสนับสนุนองค์กรเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อก้าวสู่สากล และเป็นกำลังขับเคลื่อนความร่วมมือด้านนวัตกรรมในระดับนานาชาติ

บรรดาแขกผู้มีเกียรติจากนานาประเทศได้เข้าร่วมงานครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง อาทิ จ้าว โหวหลิน (Zhao Houlin) ประธานกิตติมศักดิ์ของกลุ่มพันธมิตรเมืองเศรษฐกิจดิจิทัลโลก (Global Digital Economy City Alliance) อดีตเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และที่ปรึกษาอาวุโสของสมาคมองค์กรการสื่อสารแห่งประเทศจีน, ฟรานซิส เกอร์รี (Francis Gurry) ประธานของกลุ่มพันธมิตรเมืองเศรษฐกิจดิจิทัลโลก อดีตผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) และประธานร่วมของคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ, เฉียว จ้าน (Qiao Zhan) รองผู้แทนถาวรของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศจีน และไมเคิล แคมป์เบลล์ ฮุกเกอร์ (Michael Campbell Hooker) เอกอัครราชทูตนิการากัวประจำประเทศจีน ตลอดจนผู้แทนกว่า 800 คนจากองค์กรเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งรวมถึง IBM, Thales และ Yonyou

การประชุมความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัลโลกถือเป็นส่วนสำคัญของ GDEC 2025 โดยเป็นการประชุมแรกที่มุ่งเน้นประเด็นโลกาภิวัตน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลและความร่วมมือระหว่างประเทศ ในโอกาสนี้ ผู้เข้าร่วมงานได้หารือในเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ "โอกาสของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในตลาดเกิดใหม่" "การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านองค์กรระหว่างประเทศ" และ "การก้าวสู่สากล: แนวปฏิบัติขององค์กรดิจิทัลจีน"

ในการกล่าวสุนทรพจน์หลัก ผู้แทนจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก, สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศจีน, ภาคการศึกษาของอินโดนีเซีย, สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน (CAICT), เขตต้าซิงในกรุงปักกิ่ง, iSoftStone และสถาบันต่าง ๆ ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกจากมุมมองที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งความเป็นผู้นำด้านนโยบาย แนวปฏิบัติทางอุตสาหกรรม ความร่วมมือระหว่างประเทศ การวิจัยเชิงวิชาการ และนวัตกรรมขององค์กร นับเป็นการนำเสนอมุมมองที่หลากหลายและข้อมูลเชิงลึกเชิงกลยุทธ์ให้แก่องค์การต่าง ๆ เพื่อบูรณาการและสร้างสรรค์นวัตกรรมในบริบทของโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดเวทีให้นานาประเทศได้มาร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ภายในเศรษฐกิจดิจิทัล

ในการประชุมครั้งนี้ ยังได้มีการจัดพิธีร่วมลงนามในเอกสารของโครงการสาธิตนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นมิตรและยั่งยืนในปักกิ่งของ UNDP โดยผู้แทนจาก 4 ฝ่าย ได้แก่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), ศูนย์แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและเทคนิคระหว่างประเทศของจีน สังกัดกระทรวงพาณิชย์, สำนักเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศเทศบาลกรุงปักกิ่ง และรัฐบาลประชาชนเขตต้าซิงของเทศบาลกรุงปักกิ่ง

นอกจากนี้ ศูนย์บริการนวัตกรรมสำหรับองค์กรเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อก้าวสู่สากลประจำกรุงปักกิ่ง (Beijing Innovation Service Hub for Digital Economy Enterprise Going Global) ยังได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับองค์กรชั้นนำ 16 แห่ง อาทิ China Silk Road Group Co., Ltd., China Digital Culture Group Co., Ltd. และ Global Infotech Co., Ltd รวมถึงบริษัทที่ติดอันดับ Fortune Global 500, รัฐวิสาหกิจ, บริษัทจดทะเบียน, บริษัทไฮเทคระดับชาติ ตลอดจน SME ที่ทำธุรกิจเฉพาะทาง โดยข้อตกลงดังกล่าวมีมูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านหยวน

ในการประชุมยังได้มีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศด้านบริการเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อก้าวสู่สากล (International Alliance for Digital Economy Going Global Services) อย่างเป็นทางการ โดยสมาชิกกลุ่มแรกประกอบด้วยสมาคมธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 รวม 24 แห่ง เช่น สมาคมวิสาหกิจสหภาพยุโรป-จีน, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน, China Telecom, Li Auto และ KPMG

ที่มา: การประชุมเศรษฐกิจดิจิทัลโลก ประจำปี 2568