Biz news

สกพอ.ลงฟังความคิดใน2อำเภอปราจีนฯ ชี้ยังระแวงปัญหาขยะอุตฯและผังเมือง



ปราจีนบุรี- ระดมความคิด“ปราจีนบุรีสู่ EEC จังหวัดที่ 4 วันที่ 2 ประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2 คนประชุมพบเพียงผู้นำท้องถิ่นแห่งละ 10 กว่าคน ใน 2 อำเภอ ความเห็นคนปราจีนฯยังกลัวเป็นถังขยะโลก

วันนี้ 20 ก.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี นางนวรถ ปะรักมะสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักแผนภาพรวม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ  EECได้ขอความร่วมมือเชิญประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายขยายพื้นที่เขตพัฒนาภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ในภาคเช้า (09.00 น. – 12.00 น.) ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลกรอกสมบูรณ์ และที่ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ บ้านมาบเหียง อ.ศรีมหาโพธิ ส่วนช่วงภาคบ่าย ( 13.30น.- 16.30 น.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกปีบ และที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ชะเลือด (อบต.) อ.ศรีมโหสถ เพื่อเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน 

โดยทำการรับฟังความคิดเห็นในส่วนของภาคประชาชนอีก ก่อนจะสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นให้ได้ภายในเดือนกันยายน 2568ก่อนเสนอ ครม.เสนอ จ.ปราจีนบุรี ให้มีการประกาศพื้นที่ส่วนขยายของอีอีซีเป็นพื้นที่จังหวัดที่ 4 ของภาคตะวันออกทั้งจังหวัดหรือไม่  

บรรยากาศพบแต่ละแห่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2 รวมกับเจ้าหน้าที่แห่งละประมาณ 10 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้นำท้องถิ่นกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน   โดยการประชุมเริ่มจาก แนะนำตัวผู้สัมภาษณ์ ทีมงานเก็บข้อมูล รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุม  จากนั้นแนะนำเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ผ่านวิดีโอ รวมถึงแนะนำทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธธรรมศาสตร์ และขอบเขตการดำเนินงานโครงการฯผ่านวิดีโอ   พร้อมสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายตามข้อคำถาม   และได้เปิดโอกาลให้แสดงความคาดหวังต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จากนั้น สรุปข้อมูลการสัมภาษณ์ ตอบข้อซักถาม และ   ปิด การประชุมกลุ่มย่อยฯ

พบความคิดเห็นสรุปใน 2 อำเภอ ... ยังหวั่นเรื่องละเมิดผังเมือง-หวั่นปราจีนฯกลายเป็นถังขยะโลกรับมลพิษ  เพราะอุตสาหกรรมเดิมที่มียังมีผลมลพิษและการลอบทิ้งขยะ ตลอดรวมถึงโรงงานจีน ทุนจีนและแรงงานต่างด้าวที่แทบไม่มีแรงงานไทยเลย …

นายสงคราม ธรรมมะ  ผู้ใหญ่บ้าน  และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงนอกฤดูบ้านมาบเหียงหมู่ 10 ต.หนองโพรง อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า  ในการประชุมกลุ่มย่อย EEC.ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ บ้านมาบเหียง  มีคนมาร่วมประชุมกลุ่มย่อย EEC.ประมาณ 10 กว่าคน เพราะทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้ประสานมาให้หาคนเข้าคิดว่าทางเจ้าหน้าที่ประสานเอง  นายสงคราม กล่าว

บรรยากาศความเห็นส่วนรวม   คนในพื้นที่เป็นเกษตรกรพบปัญหาการเกษตรพื้นที่ทับซ้อนออกโฉนดไม่ได้  ปัญหาช้างป่า  ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ  มองสรุปว่าถ้าเกิดอีอีซี.มาเกษตรต้องปรับตัวเพื่อทำรายได้อย่างอื่นแทน เช่น มันสำปะหลังราคา กก.ละ1.30 บาท /กก หันมาปลูกสินค้าอื่นแทน เช่นเมลอนดีไหมให้ตรงกับแรงที่งานเข้ามาซื้อเราเพราะราคาสูงกกว่า   ถ้าปรับเป็น EEC.รับได้    

ส่วนตนเองตนเองมีความเห็นด้วยกับ EEC. เพื่อการแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ผังเมือง ถนนหนทาง น้ำไฟฟ้าต่าง ๆ  ตนรับได้  ส่วนในเรื่องด้านสิ่งแวดล้อมเชื่อว่าทางอุตสาหกรรมจังหวัดควบคุมได้  นายสงครามกล่าว

ด้านนายสุเมธ เหรียญพงษ์นาม เครือข่ายชาวปราจีนเข้มแข็งชาวตำบลกรอกสมบูรณ์ อำเภอศรีมหาโพธิ กล่าวว่า  “สำหรับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษของ EEC. เป็นนโยบายของภาครัฐ  ซึ่งมี 2 ด้าน เหมือนเหรียญคือ ดี กับด้านไม่ดี ตนคิดว่า สำหรับปราจีนบุรีมองว่าถ้า EEC.เข้ามาเป็นกฎหมายพิเศษที่ชาวบ้านยังไม่รู้ออกมาจากคำสั่งของ คสช.แปลงร่างเป็นเขตเศรษฐกิจเศษ EEC. ที่เราเรียกกันติดปาก   เนื่องจากตัวกฎหมายเองเป็นกฎหมายของเผด็จการ ให้ความเหลื่อมล้ำกับประชาชนในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี โดยเฉพาะเมื่อ EEC.มาเกิดขึ้น สิ่งที่จะตามมา วันนี้ต้องยอมรับก่อนว่า ตอนนี้มีทั้งโรงงานถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย-โรงงานเถื่อน หรือหาก ขออนุญาตถูกกฎหมาย  แต่การดำเนินกิจการไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.ตามระเบียบที่ขออนุญาตได้ นี่คือสร้างผลกระทบ

ปราจีนบุรีถ้า EEC.เข้ามา จากการพูดคุย ชาวบ้านยังไม่ทราบ. EEC.คืออะไร  ส่วนหน่วยราชการเอง ก็ยังไม่ทราบจริง ๆว่า EEC.คืออะไรแน่ ๆ วันนี้เมื่อเราไม่รู้จัก EEC เลย  เราชาวปราจีนบุรีจะเอาเข้ามาบ้านเรา ต้องทำความรู้จักก่อนไหม    

แต่ สิ่ง EEC เข้ามา  คนที่ได้ประโยชน์ คือตอนนี้ ที่ดินราคาที่สูงขึ้นเริ่มต้นคือนายทุน นายทุนที่ถือครองที่ขายที่ดินคือผู้ได้ประโยชน์   เรื่องต่อไปการที่จะสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะเข้ามามีถนนหนทางที่ดีขึ้น ความเจริญเข้ามา นั้นถ้ามี EEC.   ย้อนมองกลับดู EEC. ใน 3 จังหวัด 5 ปีผ่านมา  ยังไม่มีเวทีแถลงความสำเร็จเลย  วันนี้ผ่านเข้ามาถึงปี 2568  รวม 8 ปีแล้ว ก็ยังไม่แถลง ไม่มีผลสัมฤทธิ์อะไรเลย  ฉะนั้นถ้า EEC.เข้ามา จ.ปราจีนบุรีแทบจะไม่ได้อะไรเลย

เพราะว่าวันนี้ถ้า EEC.เข้ามาครอบคลุมทั้งจังหวัด  ด้วยกฎหมายพิเศษ EEC.สามารถตั้งโรงงานได้  สิ่งแรกกฎหมายพิเศษ EEC.ทำคือการเปลี่ยนผังเมืองรวมทั้งหมดได้ทันที  ซึ่งชาวบ้านก็ไม่รู้  ความพิเศษนี้ตรงไหนติดขัดใช้ พ.ร.บ. EEC.ทำได้เลย  ไม่ต้องฟังเสียงประชาชนเลยทำได้เลย สามารถเปลี่ยน หรือยกเลิกคำสั่งต่าง ๆ ยกเลิกผังเมือง เป็น  EEC ได้ทันทีตั้งโรงงานได้เลย  ริดรอนสิทธิคนปราจีนบุรี  เราไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้  

ตอนนี้ร้อยละเกือบ 99  ไม่มีโรงงานที่เป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกาเลย  แค่อดีตเคยเข้ามาแล้วออกไปแล้ว  แต่ตอนนี้โรงงานที่เข้ามาเป็นคนจีน ทุนจีน  โรงงานจีนใช้คนงานที่ไหน  ตรวจปรากฏแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงาน พม่า กัมพูชา ลาว ส่วนคนไทยนั้นมีน้อยมาก  เรื่องนี้ประชาชนปราจีนบุรีจะได้อะไรจากแรงงาน

อันดับต่อไป คือความเหลื่อมล้ำวันนี้ที่สูงมาก  รายได้ที่จะต้องได้รับต่อหัวของประชาชน  ที่ จ.ปราจีนบุรีมีค่าจีดีพี.ที่ว่าสูงมาก 1ใน5 ของประเทศ รายได้ 380, 000 ต่อคน/หัวนั้น   ลองถามตัวเราว่าวันนี้ เรามีเงินเดือน30,000 -40,000 บาท / เดือน  รายได้แบบนั้นจริงไหม   มันไม่ได้ตอบสนองความเป็นปราจีนบุรีเลย 

แต่ วันนี้ปราจีนบุรี เรามีทรัพยากรมากมาย ไม่ว่าด้านการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีน้ำตกมากมาย ศิลปวัฒนธรรม พื้นที่มีพื้นที่เกษตร- สินค้าเกษตร ผลไม้ ทุเรียน มะม่วง ส้มโอ ที่มีความเฉพาะทางภูมิศาสตร์ Gi คือต้องให้คนในพื้นที่ลุกขึ้นยืนได้เองก่อนนั้น คือ  เรื่องที่จะทำก่อน    ที่จะเอา EEC เข้ามา ปราจีนบุรีเรายังไม่พร้อม

ตอนนี้  ปราจีนบุรีเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาโรงงานจีนเถื่อน จีนเทา ขยะมากมาย ของเก่าในปราจีนบุรี  เรายังไม่สามารถแก้ไขได้ หากเป็น EEC. แล้วใครจะมาช่วยเหลือเรา   มองว่ามีส่วนเสียมากกว่า ส่วนดี    มองจาก 3 จังหวัดความสำเร็จที่เกิดEEC. ขึ้นยังไม่มี  และ  เรื่องหนึ่งคือประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนาในการแสดงความคิดเห็นตรงไหนที่สงวน ตรงไหนที่พัฒนา

ด้านนางนวรถ ปะรักมะสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักแผนภาพรวม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า  การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายขยายพื้นที่เขตพัฒนาภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี  ตามกำหนดการของทั้ง 7 อำเภอขอเชิญทุกท่านมาร่วมเสนอความคิด

ในการแนะนำบทบาทของ eec มี 2 คือ   ข้อ 1 ชักชวนให้เกิดการลงทุนในพื้นที่   ทุกคนคิดว่าเป็นการลงทุนของต่างชาติ ที่จริงแล้วจะเป็น การลงทุนของ ต่างชาติและในประเทศเราเอง การลงทุนไม่ใช่อุตสาหกรรมอย่างเดียว การลงทุนด้านอุตสาหกรรม  ด้านบริการและทางการแพทย์หรือ ดิจิตอล ฉะนั้นในส่วนนี้เป็นการลงทุนในสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด จะบอกผลกระทบเป็นศูนย์มันเป็นไปไม่ได้แต่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด 

เป็นการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนวิธีการในการ เป็น การเชื่อมประโยชน์กับการลงทุนที่ การของเข้ามาในจังหวัดของเรานี้เชื่อมกับตัวชุมชนเอง ถึงผลประโยชน์ที่จะกระจายสู่ ชุมชนจะเอาข้อคำถามต่างๆนี้ ไฟสะท้อนเพื่อการวางแผน ถ้ากรณีที่ปราจีนบุรีได้รับการยอมรับได้เข้าไป 1 ในจังหวัดในพื้นที่ eec ในส่วนนี้จะไม่สูญเปล่า

ประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2เป็นของการจัดทำความคิดเห็นเสนอแนะในพื้นที่ประชุมได้มาเสนอว่าพื้นที่นี้ต้องการอะไรอยากได้อะไร หรือมีปัญหาอะไรข้อมูลนี้จะได้นำเสนอต่อรัฐบาลจะพิจารณาว่าปราจีนบุรีจะเป็นพื้นที่ eec หรือเปล่า หากเป็น eec ถ้าได้เราจะเอาข้อคิดเห็นทั้งหมดเอามาวางแผนในการพัฒนาต่อไปจะได้ eec หรือ ไม่ ได้ eec ขึ้นอยู่กับ ประชาชน 

มาฟังความคิดเห็นของประชาชนฝากถึงประชาชนถ้าได้ eec ก็จะ มีการวางแผน พัฒนาการทำงานร่วมกับจังหวัดในอนาคตสิ่ง ที่เราจะบอกว่า eec ไม่ใช่ผู้ร้าย ไม่ใช่ทำอุตสาหกรรมอย่างเดียวมี 2 ส่วน ด้วยกันอุตสาหกรรมหนัก นี้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายของ eec เรา ให้แค่ 12 อุตสาหกรรมเท่านั้นที่เราจะสนับสนุนให้มาลงในพื้นที่ ฉะนั้นอุตสาหกรรมในพื้นที่ปราจีนบุรีอาจจะเป็นอุตสาหกรรมเกษตร หรือทางการแพทย์ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของจังหวัด   นางนวรถกล่าว

มานิตย์ สนับบุญ-ข่าว/ณัฐนันท์ – จุฑารัตน์ - ภาพ/ ปราจีนบุรี