Think In Truth

'นาค-ครุฑ'ตำนานยื้อยุทธมหากาพย์แห่ง เทพนครหลวง โดย: ฟอนต์ สีดำ



ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่กรมศิลป์ได้ทำการขุดค้น และพบข้อมูลใหม่ ก็พบว่า คนไทยมีถิ่นฐานอยู่บนผืนแผ่ดินไทยมากนานมากกว่า 4000 ปีแล้ว และแหล่งโนนวัด อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ก็พบว่าเป็นชุมชนที่มีอายุในการอยู่อาศัยประมาณ 6000 ปี ซึ่งพอๆ กับการค้นพบแหล่งอริยธรรมบ้านเชียง ที่มีอายุมากกว่า 6000 ปี จากการค้นพบแหล่งโบราณสถาน ไม่ว่าจะพบโครงกระดูกและวัตถุโบราณ รวมทั้งโบราณสถานต่างๆ ก็พอที่จะลำดับวิวัฒนการทางประวัติศาสตร์ ได้ดังนี้

1.ยุคก่อนพุทธกาล

ตามหลักฐานการขุดโบราณสถานที่ไม่ว่าแหล่งบ้านเชียง บ้านโนนวัด แหล่งบ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จะพบว่าแหล่งที่ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และวัตถุโบราณ ไม่ว่าเครื่องประดับ ไห ถ้วยชาม รวมทั้งเครื่องมือทำการเกษตรและอาวุธ ส่วนใหญ่พบในหลุมศพ ซึ่งพอที่จะประเมินได้ว่า หลุ่มศพที่พบนั้นเป็นหลุ่มศพที่ทำพิธีฝังศพของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาผี หรือที่เคารพพระอินทร์เป็นเทพสูงสุด หรือเป็นเมืองที่ปกครองโดยความเชื่อของพระอินทร์ ที่เรารู้จักกันในนามเมืองอินทรปัตย์ หลุมศพอีกกลุ่มหนึ่งเป็นหลุมศพที่อยู่บนหน้าผาสูงบนภูเขา ไม่ว่าแหล่งภาพเขียนสีต่างๆ ที่มีการค้นพบทั้งในจังหวักสกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมาและหลายๆ แหล่งที่พบ นั่นก็เป็นหลุ่มศพตามความเชื่อของศาสนาผี ของกลุ่มคนที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยใกล้กับภูเขาสูง หลุมศพในลักษณะนี้จะพบอยู่ในสถานโบราณที่ก่อสร้างด้วยอิฐ หรือดินเผา(ดินจี่) กับปูนปั้น ที่ใช้หินปูมาเผาไปแล้วบดให้ละเอียด ผสมกับส่วนผสมต่างๆ แล้วผสมกับน้ำให้พอเหนียวหมาดๆ ที่จะทำให้อิฐสามารถประสานติดกัน และพบในสถานโบราณ ที่มีสิ่งปลูกสร้างปะปนกัน ที่เป็นศิลาแลงบ้าง หินตัดบ้าง และอิฐ ซึ่งพอประเมินได้ว่าชุมชนนั้นมีการนับถือศาสนาผี และพราหมณ์ปะปนกันตามยุคสมัยของการปกครอง อย่างเช่นเมืองศรีเทพ ส่วนสถานโบราณที่ก่อสร้างด้วยหินตัดวางซ้อนทับกัน และมีลวดลายแกะสลักตามแท่งหินตัด จะไม่พบหลุมศพแต่อย่างได ประเมินได้ว่ากลุ่มชนที่มีสิ่งปลูกสร้างเป็นปราสาทหินนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ ที่นับถือพระพรหมณ์เป็นเทพสูงสุด โบราณสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ แต่ไม่ได้สร้างเป็นกู่ หรือปราสาท หรือพระธาตุ แต่สร้างเป็นสิมหรือพระอุโบสถนั้น ประเมินได้ว่าเป็นชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธ

2.ยุคพุทธกาล

ในยุคสมัยพุทธกาล จะไม่ได้พบโบราณสถานที่เห็นได้ชัดเจน อันเนื่องจากขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสองไม่ให้สะสมวัตถุ และทรงปฏิเสธแม้กระทั่งการสร้างอารามใหญ่โต แต่อนุญาตให้สร้างที่พักสงฆ์พอที่สงฆ์จะได้พรำนักเท่านั้น โดยประวัติต่างๆ ได้บันทึกอยู่ในพระสูตร พระไตรปิฎก แต่ด้วยมีการสังคายนาพระไตรปิฎกหลายรอบ เนื้อหาบางส่วนก็ถูกเปลี่ยนไป โดยโยงให้เห็นถึงการรับถวายสิ่งก่อสร้าง ในสถานที่ต่างๆ ในประเทศอินเดีย ถึงขนาดอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งเกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อว่า “สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดมาแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้ว่า “สุทัตตะ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากจนอนาถา ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์ตามวันวิสาขบูชาแล้ว ในวันเพ็ญเดือนหก พระจันทร์ไม่ได้เต็มดวงที่ประเทศอินเดีย หรือตำแหน่งสังเวชยสถานที่เป็นแหล่งประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้าเลย แต่ในวันเดียวกันนั้น พระจันทร์เต็มดวงที่สยามประเทศ

ในการสังคายนาพระไตรปิฎกในแต่ละครั้ง จะเชิญพระสงฆ์ ที่มีความชำนาญด้านต่างๆ ในพระพุทธศาสนาไปประชุม และสวดมนต์ ถ้าบทไดที่สวดตรงกันก็จะบันทึกเอาตามเสียงที่สวดตรงกันนั้น ถ้ายังไม่ตรงกันก็จะไม่บันทึก การสังคายนาพระไตรปิฎกในแต่ละครั้ง จึงมีจำนวนของพระไตรปิฎกมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะพระสูตร ซึ่งไม่ใช่พระคาถาที่พระสงฆ์ สวดอยู่เป็นประจำ การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้สอดคล้องกับสถานที่ในประเทศอินเดียจึงถูกดัดแปลงทุกๆ ครั้งที่มีการสังคายนาพระไตรปิฎก มีอยู่เพียงอย่างเดียว ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ คือ ตำแหน่งของดวงอาทิตยและดวงจันทร์ ในวันวิสาขาบูชา ดังนั้นหลักฐานในยุคพุทธกาลจึงมีอยู่ในประเทศไทยอย่างจำกัด มีมีแต่พระสงฆ์ และพระธรรม และพระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่เป็นหลักฐานสำคัญ โดยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้สอนให้สาวกของพระองค์ต้องปฏิบัติ คือการสวดมนต์ทุกวัน เช้า – เย็น และจำให้ขึ้นใจ นั่นคือพระไตรปิฎกที่บันถูกบันทึกไว้ในสมอง ที่ยากแก่การบิดเบือนและทำลาย

3.ยุคหลังพุทธกาล

เป็นยุคที่มีเรื่องราวสับสนมาก เพราะมีหลักฐานหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้นักโบราณคดีสายหิวแสงก็แต่งเรื่องต่างๆ นานา เพื่อหลอกคนทั่วไปในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตนเอง เพื่อให้ได้มาซึ่ง การค้าวัตถุโบราณ การเล่าประวัติเพื่อการท่องเที่ยว การสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อครอบงำด้านไสยศาสตร์ในการหลอกเอาทรัพย์สินเงินทอง รวมถึงการเขียนประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปสู่การล่าอาณานิคมยุคใหม่

ซึ่งในยุคหลังพุทธกาลนี้ จะพบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่มากมายไม่ว่าเทวะรูป พระพุทธรูป รวมทั้งวัตถุโบราณที่ปะปนกันไปหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งก็พอจะจำแยกได้ว่า มีพุทธศาสนานิกายมหายานเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในสยามประเทศ สิ่งที่อ้างอิง คือ ธรรมจักรที่เป็นวงล้อเกวียน ที่มีซี่ล้อมากกว่าแปดซี่ อย่างที่เมืองศรีเทพ มีถึง 22 ซี่ ซึ่งไม่มีนัยะทางธรรมจักรเลย โดยธรรมจักรซึ่งเป็นพระธรรมในพระพุทธศาสนานิกายเถระวาท ที่กำเนิดขึ้นในวันวิสาขาบูชานั้น ใช้กล้อที่มีซี่ล้อแปดซึ่ง ซึ่งหมายถึงมรรคมีองค์แปด นอกจากนั้นยังพบจารึกศิลาพระคาถา “นะโม พุทธายะ” ซึ่งนั่นหมายถึงบทสวดสรรเสริญพระพุทธเจ้า แสดงว่า พุทธศาสนานิยกายมหายานที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่มาจากอินเดียนั้น จำบทสวดสรรเสริญพระพุทธเจ้าไม่ได้ ซึ่งมีบทสวดว่า “นะโม ตัสสะ ภัควะ โต อารหะ โต สัมมา สัมพุทธัสสะ” และสวดถึง 3 รอบ อีกหลักฐานหนึ่งที่สำคัญ คือพระคาถา “เย ธรรมา” ซึ่งเป็นบทสวดสั้นๆ ที่เอ่ยถึงสัจจะธรรม ในอริยสัจสี่ ที่มีเนื้อเดียวกันกับพระคาถา “ธรรมจักร กัปปวัตนสูตร” ซึ่งมีบทสวดไม่เหมือนกัน แต่พระคาถาธรรมจักรกัปวัตนสูตรนั้น เป็นบทสวดที่ยาวกว่า และยังกำหนดให้สวดถึงสามรอบ หากดูหลักฐานต่างๆ กับกระบวนการสังคายนาพระไตรปฏิฎก ก็จะพบว่า พระไตรปิฎก มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อโยงให้สอดคล้องกับสถานที่ต่างๆ ที่ทางประเทศอินเดียกำหนด

และอีกหลักฐานหนึ่งที่สำคัญ คือ รูปแกะสลักนูนต่ำ ในถ้ำพระโพธิสัตว์ วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี เป็นภาพพระพุทธเจ้า พระวิศณุ และพระนารายณ์ ซึ่งถูกตีความว่า พระพุทธเจ้าทรงเสด็จโปรดพระวิษณุ กับพระนารายณ์ ซึ่งเป็นเทพในศาสนาฮินดู ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่แปลก ที่ว่า พระพุทธเจ้า ทรงเสด็จโปรดเทพทั้งสององค์ แต่เทพทั้งสององค์ก็ไม่หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมันแย้งต่อบทสวดสรรเสริญพระพุทธเจ้า ที่ว่า

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

นั่นหมายถึง การพบกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระวิษณุ และพระนารายณ์ นั้นไม่ได้เป็นการเสด็จไปโปรด หากแต่เป็นเป็นการเสด็จไปประชุมเพื่อวางยุทธศาสตร์ในการรุกรานสยามประเทศ เพื่อการยึดครอง ดังนั้น เราจึงพบหลักฐานที่เมืองศรีเทพ ที่มีทั้งเทวะรูป ในศาสนาฮินดู ธรรมจักรที่เป็นล้อรถศึกของพระเจ้าอโศก และจารึกศิลาที่เป็นพระคาถา “เย ธรรมา” อยู่ในเมืองศรีเทพ พร้อมทั้งสิ่งที่นักโบราณคดีไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ทำไมเมืองศรีเทพจึงร้าง

หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญ คือ พระเครื่องที่ด้านหลังมีภาษาจีนปั๊มมาด้วย นั่นหมายความว่า พุทธศาสนานิกายวชิรยานก็เข้ามาถึงเมืองศรีเทพ ซึ่งมันก็ไม่แปลกอะไร ที่พุทธนิกายวิชรยานจะเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนา ร่วมกันกับพุทธศาสนานิกายมหายาน เพราะพระถังซำจั๋งก็เดินทางจากจีนไปศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย ในมหาวิทยาลัยนาลันทา แต่ก็ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน นั่นหมายถึง มหาวิทยาลัยนาลันในสมัยนั้นไม่มีองค์ความรู้ทางพระไตรปิฎกเลย แต่การเดินทางเข้ามาครอบงำความเชื่อในดินแดนสยามประเทศ เป็นภาระกิจที่ต้องเข้ามาเพื่ออำนาจการปกครองเหนือดินแดนสยามประเทศนั่นเอง

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้เห็นโครงสร้างความคิดของผู้เขียน ในการที่จะโยงถึงเรื่องราวของครุฑ-นาค ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย บนพื้นฐานของความขัดแย้งทางความคิด สังคม และการเมือง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันจึงขอเริ่มจากกำเนิดครุฑกันเสียก่อนนะครับ

ครุฑเป็นบุตรของฤาษีกัศยปะซึ่งเป็นหนึ่งในสัปตฤาษีหรือฤาษีเจ็ดตนกำเนิดจากดวงจิตของพระพรหม(พระผู้สร้างโลกตามคติพราหมณ์) เพื่อช่วยพระองค์ขยายเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตในโลก หนึ่งในบุตรของฤาษีกัศยปะซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีนั้นมีสุริยเทพ และพระอินทร์ เป็นอาทิ ฤาษีกัศยปะมีเทวีมากมายแต่มีอยู่สองศรีพี่น้องที่กัศยปมุนีโปรดปรานเป็นพิเศษ

การเกิดของพญานาค จะเกิดได้ ๔ แบบ ได้แก่แบบโอปปาติกะ คือ เกิดแล้วโตทันที แบบสังเสทชะ คือ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม แบบชลาพุชะ คือ เกิดจากครรภ์ และแบบอัณฑชะ คือ เกิดจากไข่ สำหรับนาคชั้นสูงจะเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของนาคจะมีตั้งแต่ในแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงต่างๆ และในอากาศไปจนถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

ถ้าจะวิเคราะหจากการกำเนิดของ ครุฑ กับนาคแล้ว จะมีคำบางคำที่บอกให้เราทราบว่า ครุฑ เป็นสัตว์ในศาสนาพราหมณ์(สยาม) ที่มีพระพรหมเป็นเทพสูงสุด ส่วนนาค เป็นสัตว์ในศาสนาผี ที่มีพระอินทร์เป็นเทพสูงสุด ทั้งสองศาสนานี้ในยุคก่อนพุทธกาล เป็นศาสนาที่มีความขัดแย้งกันทางความเชื่อ คือ ศาสนาพราหมณ์ มีความเชื่อแบบมีเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัย เป็นศาสนาที่ชอบสันโดด บำเพ็ญเพียร แสวงหาความจริง ส่วนศาสนาผีเป็นศาสนาที่เชื่อว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้นจากผี และยอมจะจะปฏิบัติตามกฏของธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและมีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นศาสนาผี จึงมีผีเป็นกฏหมายในการสร้างระเบียบทางสังคม มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชัดเจน เป็นวัฏจักรในการถือปฏิบัติตลอดทั้งปี ตามฤดูกาล เช่น ฮีตสิบสอง แต่ทั้งสองศาสนาจะมีความเชื่อที่คล้ายกัน คือ ศาสนาพราหมณ์ จะเชื่อเรื่อง กาย กับวิญญาณ ส่วนศาสนาผี จะเชื่อเรื่อง มิ่ง(กาย) กับ ขวัญ(วิญญาณ) ถึงแม้นทั้งสองศาสนาจะมีความจัดแย้งเรื่องความเชื่อและพิธีกรรม แต่ทั้งสองศาสนาก็อยู่ปะปนกันมาโดยตลอด แต่ก็แยกชุมชนกันอยู่ เหมือนกับศาสนาผัวกับศาสนาเมีย นอกจากคนหนุ่มสาวจะแต่งงานกับคนในชุมชนที่มีความเชื่อเดียวกันแล้ว แต่บางคนก็ไปแต่งงานกับคนนอกชุมชนในต่างความเชื่อ ดังนั้นชุมชนพรหามณ์ กับชุมชนผี จึงเป็นเสมือนเครือญาติกันมาโดยตลอด ถึงแม้นจะมีความขัดแย้งทางความเชื่ออยู่บ้าง

จากความขัดแย้งทางความเชื่อ ก็ทำให้สัตว์ในศาสนาทั้งสอง จึงมีความขัดแย้งกันตามไปด้วย  ด้วยการแต่งตำนานให้มีนัยที่ข่มกัน ดั่งเรื่องของครุฑ กับนาค

ในยุคหลังพุทธกาล ศาสนาฮินดูจากประเทศอินเดีย เริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาทางเวียดนาม ทีศูนย์กลางที่อานาจักรจามปา และศาสนาพุทธนิกายมหายานก็ส่งพระปุญณะเถระเข้ามาเผยแผ่ในเมืองพลิบพลี(เพชรบุรี)

ใน พ.ศ. 1100 พระนางราชินีโสมา กษัตริย์เมืองพระนครในสมัยนั้น ได้แต่งงานกับแขกฮินดูทมิฬ และสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนครนามโกณฑิณญวรมันต์เทวะ ศาสนสถานพราหมณ์(นครวัด)จึงถูกเปลี่ยนเป็นศาสนสถานฮินดู พราหมณ์(ขอม)ถูกขับไล่ออกจากพระนคร ความขัดแย้งของพราหมณ์และฮินดูไม่ถึงกับต้องเข่นฆ่ากันเพราะพราหมณ์(ขอม)เป็นเครือญาติกับพระนางราชินีโสมา พราหมณ์ขึงออกจากสร้างปราสาทหินขึ้นใหม่ด้วยแรงศรัธาของประชาชน ปราสาทนั้นคือปราสาทตาพรหม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ครุฑ ที่เคยเป็นสัตว์ในศาสนาพราหมณ์สยาม ก็กลายเป็นสัตว์ในศาสนาฮินดู โดยเป็นพาหนะของพระนารายณ์ แต่ความขัดแย้งของครุฑ กับ นาค ก็ยังคงมีอยู่ต่อเหมือนเดิม และขัดแย้งรุนแรงมากยิ่งขึ้น ถึงขนาดพราหมณ์ฮินดูได้เขียนเรื่องความขัดแย้งระหว่างครุฑ กับ นาค ไว้ดังนี้

“ครั้งหนึ่งกัศยปะฤาษีให้นางทั้งสองขอพรได้คนละข้อ โดยฝ่ายนางผู้น้องซึ่งมีนามว่ากัทรุได้ขอพรให้ตนมีลูกหลานมากมายและขอให้ลูกๆเหล่านั้นมีอิทธิฤทธิ์แปลงกายได้ ด้วยผลแห่งสัมฤทธิพรนางจึงให้กำเนิดลูกเป็นนาคหนึ่งพันตัวซึ่งเหล่านาคเลือกที่จะอาศัยอยู่ใต้บาดาล
ต่อมาไม่นาน นางวินตาได้ให้กำเนิดไข่สองฟองตามพรที่ขอไว้ แต่กาลเวลาผ่านไปกว่า 500 ปีก็ไม่มีวี่แววว่าไข่ทั้งสองจะฟักออก ด้วยจิตที่ร้อนรุ่มอยากจะทราบว่าสิ่งใดกันแน่ที่อยู่ภายใน นางจึงตัดสินใจแกะเปลือกไข่ฟองหนึ่งออกดูก็ปรากฏเป็นร่างของเด็กชายที่ครึ่งบนของลำตัวใหญ่โตแต่ส่วนล่างลงไปยังไม่ปรากฏแข้งขาแต่อย่างใด”

นางวินตา ออกลูกเป็นไข่ แต่ไม่ยอมฟักสักที นางเกิดความสงสัย จึงเคาะไข่ฟองหนึ่งให้แตก ก็พบว่า มีร่างกายที่ใหญ่โต แต่ก็ไม่มีอวัยวะใดในส่วนล่าง นางจึงปล่อยให้บุตรของนางตายไป

ต่อมา นางวินตาก็แพ้พนันให้แก่น้องสาว นางกัทรุ โดยได้ตกลงกันว่า ถ้าใครแพ้พนันจะต้องตกเป็นทาสของผู้ชนะ นางวินตาจึงตกไปเป็นทาสของนางกัทรุในเมืองบาดล จนกระทั่งไขใบที่สอง ฟักออกมา กลายเป็นนกยัก ที่มีร่างกายใหญ่โต สามารถบินขึ้นถึงสวรรค์ได้

กัศยปะฤาษีผู้พ่อเห็นดังนั้นจึงไปหาครุฑและบอกกล่าวให้ไปช่วยมารดาซึ่งยังจำต้องเป็นทาสทนทุกข์จากเหล่านาคอยู่ใต้บาดาล แรกทีเดียวนั้นครุฑมีนามว่า "เวนไตร" ซึ่งแปลว่าเผ่าพงศ์ของนางวินตา เมื่อครุฑลงไปพบมารดาแล้วจึงแจ้งในเพทุบายของเหล่านาค ด้วยกตัญญุตาธรรม ครุฑจึงเจรจาต่อรองขอให้นาคปล่อยตัวมารดาของตน ฝ่ายนาครับคำโดยยินดีจะปล่อยนางวินตาหากครุฑนำน้ำอมฤตมาแลก

“เมื่อทราบดังนั้นครุฑจึงถลาขึ้นสู่สวรรค์เพื่อไปนำน้ำอมฤต ครั้นบินไปถึงสวรรค์ ครุฑก็กระพือปีกพัดให้ฝุ่นตระหลบไปทั้งอากาศ แล้วเข้าต่อสู้กับเหล่าทวยเทพที่นำโดยสวรรคาธิบดีอินทรา(พระอินทร์) เหล่าเทพไม่สามารถต่อสู้กำลังของครุฑซึ่งได้รับพรให้มีอิทธิฤทธิ์มากเหนือผู้ใด แม้แต่สายฟ้าซึ่งเป็นเทพศาสตราของพระอินทร์ยังไม่สามารถทำอันตรายครุฑได้ แต่ด้วยความต้องการแสดงคารวะต่อพระอินทร์ผู้เป็นพี่ ครุฑจึงแสดงความเคารพโดยบันดาลให้ขนร่วงจากกายหนึ่งเส้นเพื่อให้เห็นว่าเทพศาสตราของพระอินทร์มีฤทธานุภาพพอที่จะสร้างอันตรายแก่ตนได้

เหล่าทวยเทพเมื่อไม่เห็นทางที่จะต้านฤทธิ์ได้จึงจำต้องเปิดทางให้ครุฑเข้าไปเอาน้ำอมฤต ก่อนถึงที่เก็บน้ำอมฤตมีกองเพลิงร้อนขนาดที่เผาดวงอาทิตย์ให้เป็นจุลได้ ครุฑจึงแปลงกายให้มีปากเก้าสิบเก้าสิบปากหรือ 8100 ปากแล้วจึงบินไปอมน้ำจากแม่น้ำ 8100 สายมาดับกองเพลิงนั้น กองเพลิงก็มอดไป ต่อเข้าไปด้านในมีจักรที่คมมากรอตัดร่างผู้ที่จะเข้าไปลักน้ำอมฤต ครุฑเห็นดังนั้นจึงแปลงกายให้เล็กเท่าธุลีบินลอดผ่านดุมจักรนั้นไปได้ ด้านในสุดยังมีนาคสองตนที่ดวงตาไม่กระพริบ มีพิษพ่นออกมาจากปากได้ หากนาคมองเห็นผู้ใดเข้ามาลักน้ำอมฤตย่อมพ่นพิษร้ายออกสังหารผู้นั้น ครุฑเห็นเช่นนี้จึงกระพือปีกให้เกิดฝุ่นตลบขึ้นในอากาศทำให้นาคมองไม่เห็นแล้วจิกนาคทั้งสองออกเป็นชิ้นๆ”

ข้างพระนารายณ์(พระวิษณุ) เห็นครุฑกำลังจะเข้าไปนำน้ำอมฤตออกมาได้จึงเข้าขัดขวาง ทั้งสองต่อสู้กันอย่างเป็นสามารถแต่ไม่มีผู้ใดแพ้หรือชนะจึงตกลงที่จะหย่าศึก โดยครุฑขอพรให้ตนเป็นอมตะโดยไม่ต้องดื่มน้ำอมฤทธิ์หนึ่ง ขอให้มีสิทธิ์จับนาคกินได้หนึ่ง (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า"ครุฑยุดนาค")

จากตำนาน ครุฑ ยุด นาค ก็จะพบว่า ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อของศาสนาก็ยังคงอยู่ในสังคมไทย ถึงแม้นว่า ศาสนาพุทธจะทำให้ศาสนาพราหมณ์สยามยอมที่จะเก็บตัวเงียบๆ เป็นพุทธบริษัทในศาสนาพุทธ และยอมให้ศาสนาผีเป็นองค์อุปถัมภกหลัก ที่ทำให้สถาปัตยกรรมวัดวาอารามเป็นศิลปแบบองค์เทพนคร จิตกรรมที่เป็นเทพบุตร เทพธิดา ลายกนก แบบไทยๆ ในปัจจุบัน แต่ความขัดแย้งและความพยายามที่จะแทรกตัวขึ้นมาอยู่เหนือกว่าศาสนาผีของศาสนาพราหมณ์ฮินดูก็ยังคงซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบๆ

พิจารณาจากชื่อกรุงเทพมหานคร “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์” ชื่อเกือบทั้งหมด เป็นการยกย่องสรรเสริญพระอินทร์ แต่มีท่อนสุดท้ายที่ว่า “สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์” สักกะ คือพระอินทร์ วิษณุ คือพระวิศนุ ประสิทธิ์ แปลว่าสำเร็จ แปลว่า กรุงเทพถูกสร้างให้สำเร็ตโดยพระอินทร์และพระวิษณุ นี่เป็นนัยะในการชิงความสำคัญในการสร้างความเชื่อเหนือกรุงของเหล่าเทพทั้งหลาย ซึ่งเป็นข้อความที่ชี้ให้เห็นถึง ครุฑยุดนาค ก็ยังคงมีอยู่ในสังคมไทยต่อไป จนกว่า สังคมไทยที่เป็นสหวัฒนธรรมได้หลอมรวมเป็นวัฒนธรรมเดียว ในยุคพระศรีอริยะเมตตรัย