Think In Truth

ลับลวงพรางพลังงานขุมทรัพย์ใต้แผ่นดิน (ตอนจบ) โดย ... พินิจ จันทร



ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่โดดเด่นเรื่องการส่งออกน้ำมันหรือการมีแหล่งน้ำมันดิบที่มีมากมายจนสามารถเรียกได้ว่าเป็นขุมทรัพย์น้ำมันดิบในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่นๆ ก็ตามหากแต่ไทยก็มีแหล่งพลังงานหลายอย่างที่สามารถผลิตออกมาสร้างรายได้จำนวนมากเหมือนกัน

ในบทนี้จะพาไปสำรวจแหล่งพลังงานที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ น้ำมันกับแก๊สธรรมชาติ ว่ามีที่ไหนบ้างเท่านั้น โดยอันดับแรกเป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมันภาคพื้นดินซึ่งมีหลายแหล่ง ดังนี้

1. แหล่งขุดเจาะน้ำมันที่อำเภอฝาง เชียงใหม่ ผลิตน้ำมันดิบ 1,400 บาร์เรลต่อวัน

2. แหล่งขุดเจาะอำเภอนํ้าพอง ขอนแก่น ผลิตน้ำมันดิบ 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

3.แหล่งขุดเจาะอำเภอกุงศรี กาฬสินธุ์ ผลิตก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 

4.แหล่งขุดเจาะอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ผลิตก๊าซธรรมชาติ 4 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

5. แหล่งขุดเจาะอำเภอลานกระบือ กำแพงเพชร, อำเภอคีรีมาศ, อำเภอกรงไกรลาศ สุโขทัย และอำเภอบางระกำ พิษณุโลก ผลิตน้ำมันดิบ 30,000 บาร์เรลต่อวัน

6.แหล่งขุดเจาะอำเภอวิเชียรบุรี, อำเภอศรีเทพ เพชรบูรณ์ ผลิตน้ำมันดิบ 2,200 บาร์เรลต่อวัน

7. แหล่งขุดเจาะอำเภอเมือง, อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี ผลิตน้ำมันดิบ 350 บาร์เรลต่อวัน

8. แหล่งขุดเจาะอำเภอกำแพงแสน นครปฐม ผลิตน้ำมันดิบ 500 บาร์เรลต่อวัน

9. แหล่งขุดเจาะอำเภอน้ำพอง ขอนแก่น ผลิตก๊าซธรรมชาติ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

10.แหล่งขุดเจาะอำเภอหนองแสง อุดรธานี ผลิตก๊าซธรรมชาติ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว 450 บาร์เรลต่อวัน

          ต่อไปเป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมันภาคพื้นทะเลดังนี้

  1. แหล่งขุดเจาะจัสมินและบานเย็น ผลิตน้ำมันดิบ 12,000 บาร์เรลต่อวัน
  2. แหล่งขุดเจาะบัวหลวง ผลิตน้ำมันดิบ 7,400 บาร์เรลต่อวัน
  3. แหล่งขุดเจาะสงขลา ผลิตน้ำมันดิบ 17,500 บาร์เรลต่อวัน

4. แหล่งขุดเจาะเอราวัณ บรรพต ปลาทอง สตูล และแหล่งไพลิน ผลิตน้ำมันดิบ 30,000 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 34,000 บาร์เรล และก๊าซธรรมชาติประมาณ 1,000 ล้านฟุตต่อวัน

5. แหล่งขุดเจาะทานตะวัน ผลิตน้ำมันดิบ 25,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

6. แหล่งขุดเจาะบงกช ผลิตก๊าซธรรมชาติ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 10,000 บาร์เรลต่อวัน

7. แหล่งขุดเจาะนางนวล ผลิตนํ้ามันดิบในอัตรา 2,900 บาร์เรลต่อวัน

8. แหล่งขุดเจาะอาทิตย์ ผลิตก๊าซธรรมชาติ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 11,500 บาร์เรลต่อวัน

หมายเหตุ: ขอบคุณข้อมูลจาก www.stopgulfoildisaster.org (31 มีนาคม 2020)

กล่าวโดยย่อให้พอเข้าใจ ก็คือ น้ำมันที่ใช้ปัจจุบันมีหลายประเภท ถึงแม้ประเทศไทยจะมีแหล่งน้ำมันในประเทศที่สามารถผลิตน้ำมันเองได้ แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมานั้น ต้องผ่านการกลั่นกรองน้ำมันออกมาก่อนที่จะสามารถนำไปใช้งานได้ น้ำมันดิบบางสถานที่ขุดเจาะจะมีค่าโลหะหนักที่ปนเปื้อนสูงมาก โรงงานกลั่นของไทยเรายังไม่สามารถกลั่นมาใช้ได้ทั้งหมด ทำให้ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไทยเราถึงมีแหล่งน้ำมันในประเทศมีเยอะแต่ผลิตเองใช้ได้น้อย

สำหรับสาเหตุที่ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมัน ทั้งที่สามารถส่งออกได้ทั้งที่น้ำมันที่ผลิตได้ภายในประเทศไทยมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการขนส่ง และการใช้ในการขับขี่รถยนต์ภายในครัวเรือน จากข้อมูลปี 2564 ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบได้เพียง 100,874 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น แต่ความต้องการใช้พลังงานต่างๆ ภายในประเทศจะอยู่ประมาณ 2,016,000 บาร์เรลต่อวัน

ทั้งนี้จากข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงาน ระบุว่า เฉพาะในเดือนมกราคม 2565 มีการบริโภคน้ำมันในภาพรวมเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 20.9% แบ่งเป็นกลุ่มน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 11.8% กลุ่มน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 24.4% กลุ่มน้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.5% กลุ่มน้ำมันก๊าดเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8% น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8% กลุ่มก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7% ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าการผลิตที่ยังคงมีปริมาณเท่าๆเดิม แต่ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นอย่างมาก  ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันที่เราไม่สามารถผลิตเองได้ หรือผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เข้ามาเพื่อมีความสมดุลและสอดคล้องกับความต้องการใช้งานภายในประเทศ

อีกคำถามหนึ่งที่ว่าน้ำมันไทยทำไมต้องส่งออกทั้ง ๆ ที่นำมาใช้ได้คำตอบก็คือสาเหตุที่ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันดิบนั้น มันไม่ได้เป็นเพราะเรามีน้ำมันดิบเหลือเฟือเลยต้องส่งออก แต่เกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ

1. น้ำมันดิบไม่เหมาะสมกับเทคโนโลยีของโรงกลั่น เช่น มีสารโลหะหนักสูง

2น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีลักษณะเบา เมื่อนำมากลั่นแล้วมีลักษณะไม่เหมาะกับความต้องการใช้ของคนในประเทศ ก็เลยต้องส่งออกสู่ประเทศอื่นๆ ข้อดีของการส่งออกคือการเพิ่มมูลค่าให้น้ำมันส่วนเกิน และทำให้ประเทศมีรายได้จากการส่งออกน้ำมัน และภาครัฐก็ได้จัดเก็บค่าภาษีนำไปหมุนเวียนในการบริหารภาคส่วนอื่น ๆ ในประเทศนั่นเอง 

จากข้อมูลทั้งหมดดังกล่าว คงพอเข้าใจแล้วว่า แหล่งน้ำมันในประเทศเรามีเยอะก็จริง  แต่ปริมาณน้ำมันที่นำมาใช้งานได้จริงในประเทศนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ทำให้เราต้องนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นมาใช้ ในขณะที่น้ำมันที่เราขุดได้แต่กลั่นไม่ได้หรือกลั่นแล้วคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการใช้งาน ก็เลยต้องส่งออกให้กับประเทศที่ต้องการนั่นเอง

อีกหนึ่งพลังงาน ก็คือ ปิโตรเลียมที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่น สาหร่าย ซากใบไม้ที่ถูกทับถมนับล้านล้านปีจนกลายเป็นถ่านหินรวมถึงอุณหภูมิ และแรงดันสูงก็จะกลายเป็นแหล่งก๊าซ

จากข้อมูลของสำนักจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติระบุว่าในประเทศไทยมีการพบน้ำมันและก๊าซในบางพื้นที่ เช่น ในภาคกลางและอ่าวไทยมีชั้นหินอายุ 10 - 30 ล้านปี จึงพบน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ โดยพบมากอยู่ที่แหล่งสิริกิติ์ กำแพงเพชรและพิษณุโลกขณะที่ในภาคอีสานพบก๊าซธรรมชาติ ในชั้นหินปูน ที่อายุ 200 ล้านปี เช่นแหล่งน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สินภูฮ่อม อุดรธานีเป็นต้น

สำหรับการสำรวจปิโตรเลียมจะอาศัยข้อมูลพื้นฐานทางธรณีวิทยาที่ทำให้ทราบเบื้องต้นถึงโครงสร้างแอ่งสะสมตะกอนใต้ดิน และประเมินความเป็นไปได้ที่จะพบน้ำมันและก๊าซ จากนั้นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นหน่วยงานหลักที่จะเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียม และเจาะสำรวจ โดยแปลงบนบกจะถูกกำหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นที่ 3,983 ตารางกิโลเมตรเท่าๆ กัน ตามที่กฎหมายกำหนดให้ไม่เกิน 4,000 ตารางกิโลเมตร ต่างจากสัมปทานในทะเลที่ไม่ได้จำกัดเขตพื้นที่

หลังได้รับสัมปทาน ผู้สำรวจจะใช้วิธีทางธรณีฟิสิกส์ที่ใช้คลื่นไหวสะเทือนตามหลักการสะท้อนของคลื่นเสียงเพื่อทราบโครงสร้างใต้ดินที่ชัดเจนขึ้น และนำไปสู่การเจาะสำรวจซึ่งเป็นวิธีการเดียวที่จะทราบอย่างแน่ชัดว่ามีปิโตรเลียมในจุดนั้นหรือไม่

การเจาะใช้หัวเจาะที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยหลุมละ 30 ล้านบาท แต่ปัจจุบันการสำรวจมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น โดยบริเวณภาคกลางและอ่าวไทยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 60 - 90 ล้านบาท แต่พื้นที่ภาคอีสานซึ่งเป็นหินแข็ง ต้องใช้เม็ดเงิน 150 - 900 ล้านบาทต่อ 1 หลุม

การเจาะสำรวจยังต้องตรวจสอบอัตราการไหลของน้ำมัน เพื่อนำข้อมูลมาประมวลผลเชิงพาณิชย์ว่าคุ้มค่ากับการผลิตหรือไม่ ทั้งนี้ การเจาะสำรวจอาจต้องทำมากกว่า 1 หลุม เพื่อทราบรัศมีว่ามีน้ำมันหรือก๊าซเป็นบริเวณกว้างเท่าใด ซึ่งจะช่วยประเมินปริมาณสำรองได้

หลุมเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในทะเล ซึ่งตามรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ณ เดือนมิถุนายน 2553 ระบุว่ามีการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมผลิตทั้งหมดเกือบ 6,000 หลุม หรือ ร้อยละ 85 ที่อยู่ในอ่าวไทย ส่วนฝั่งอันดามันมีร้อยละ 1 ที่เหลือเป็นหลุมเจาะบนบกรวม 843 หลุม

ที่ผ่านมาแหล่งปิโตรเลียมในไทยจะมีลักษณะกระเปาะที่ไม่ใหญ่ และทำให้ต้องขุดเจาะมากกว่า หลุม 1 หลุมต่อแห่ง เช่น แหล่งสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ที่มีกำลังการผลิตวันละ 25,000 บาร์เรล แต่ต้องขุดเจาะมากกว่า 150 หลุม ต่างจากประเทศแถบตะวันออกกลาง ที่อาจะได้ปริมาณน้ำมันเท่ากันภายในหลุมเดียว

ปริมาณสำรองปิโตรเลียมในไทยทั้งในส่วนที่เจาะสำรวจพบแล้ว และคาดว่าจะพบในอนาคต สำหรับก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 23 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือใช้ได้อีก 20 ปี ส่วนน้ำมันดิบมีเพียง 180 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 15 ของปริมาณการใช้ ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศวันละ 700,000 - 800,000 บาร์เรลโดยคุณภาพน้ำมันที่ขุดได้อยู่ในระดับกลาง ซึ่งเหมาะกับการกลั่นน้ำมันในไทยที่ต้องการน้ำมันดีเซลมากกว่า ขณะที่ก๊าซธรรมชาติก็ถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า

สำหรับสัมปทานรอบที่ 21 คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือนหน้า รวม 22 แปลงในภาคอีสาน 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลง และอ่าวไทย 5 แปลง โดยแต่ละรอบของสัมปทาน จะมีพื้นที่สัมปทานเดิมถูกคืนมาอย่างน้อยร้อยละ 50 ตามข้อกำหนด กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะนำไปรวมกับพื้นที่ใหม่ ซึ่งคณะกรรมการปิโตรเลียมจะพิจารณาบริษัทที่มีข้อมูล มีแผนงานชัดเจนและมีความเป็นไปได้

ด้วยประการนี้  สิทธิทรัพยากรปิโตรเลียมใต้ดินตามกฎหมายปิโตรเลียมจะตกเป็นของรัฐต่างจากสหรัฐที่ประชาชนสามารถขุดเจาะได้เองแล้วจ่ายภาษีให้รัฐดังนั้นคนไทยที่เป็นเจ้าที่ดินโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของบ่อน้ำมันหรือบ่อแก๊สอย่างมากก็ได้แค่เป็นคนงานนอนเฝ้าขุมทรัพย์เท่านั้น.