Think In Truth

'ขุนเจือง ธรรมิกราช'กษัติย์นักมวยสยาม ผู้ยิ่งใหญ่ โดย: ฟอนต์ สีดำ



จากเรื่องราวที่ชาวกัมพูชาอ้างอิงว่า มวยบูกาตอและกุนขแมร์เป็นกำเนิดมวยไทย แต่ดูเหมือนว่าชาวกัมพูชาที่มีการเริ่มต้นเรื่องราวนี้เพื่อที่จะเป็นต้นกำเนิดของมวยไทยนั้นกลับยิ่งทำให้เกิดการขุดค้นความจริงถึงเรื่องราว และยังกระตุ้นถึงความสนใจของชาวไทยให้มีความสนใจในเรื่องของประวัติศาสตร์มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะเรื่องราวต่างๆ ที่มาที่ไปของคนชาวสยามและรวมถึงประเด็นที่มาที่ไปของมวยไทย ซึ่งก็มีคำอธิบายจากคุณ Alex Tsui ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวฮ่องกง ผู้ให้ความสนใจต่อศิลปะการป้องกันตัวของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรวมถึงประวติศาสตร์ในภูมิภาคนี้อีกด้วย

โดยคุณอเล็ก ได้มีการพูดถึงมวยไทยว่า มีมาก่อนการสร้างครวัดมา 300 ปี แล้วทำไมคนไทยจะต้องขโมยศิลปะมวยไทยไปจากกัมพูชา ซึ่งเป็นผู้พ่ายแพ้ไปด้วย มวยไทยมีการะบุถึงศิลปะการต่อสู้ดังกล่าว ในยุคสมัยของขุนเจือง ธรรมิกราช ผู้นำทัพสยามเคียงข้างทัพละโว้ และกองทัพจักรวรรดิ เพื่อเข้าตีจามปา

จากเฟชบุ๊คของคุณอเล็กที่มีซีรี่ที่มีชื่อว่า Solid Stone That Talk Never Line ซึ่งทั้งหมดแบ่งเป็นสามตอน โดยได้เริ่มต้นบทความไว้ ดังนี้

ชาน กิม ชอน Transformer Hapkido ชาวกัมพูชา มักจะชอบโต้เถียงว่า ไทยขโมยบูกาตอไปจากนครวัด ไปเปลี่ยนเป็นมวไทย ประการแรก มันไม่เคยมีระบบการต่อไดๆ ที่มีชื่อว่า บูกาตอ มาก่อนปี พ.ศ. 2546 ในที่นี้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นหัวหอกในการฟื้นฟูเท่านั้น แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะผิดพลาด แต่มันก็เป็นวิธีที่ไร้ยางอายน้อยที่สุด แต่ก็มันได้ผลการที่ยูเนสโก้รับรองสิ่งนี้ นอกจากนี้ ทางด้านการตลาดก็ถือว่ามีประสิทธิภาพ คำนี้สามารถกระตุ้นคนหนุ่มสาวให้กลับมาสนใจในตัวตนของพวกเขา

ซาน กิม ซอน มักจะกล่าวอยู่เสมอว่า ชาวสยามได้จับกุมชนชั้นสูงทั้งหมด ในฐานนักโทษ ศิลปิน นักเต้น และนักมวย และมวยไทยก็ถูกสร้างมาจากตรงนั้น ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของผู้เขียน ทำให้ผู้เขียนต้องกลับมาเยือนนครวัดอีกครั้ง พร้อมกับมีการพูคุยกับร้อยโท มัลคอม แม็คโดนัล จากสหราชอาณาจักร โดยทางผู้เขียนได้พูดถึงเรื่องการเข้าเฝ้ากษัตริย์สีหนุในปี พ.ศ. 2491 โดยทางร้อยโทแม็คโดนัลได้เล่าให้ฟังถึงคำตอบของกษัตริย์สีหนุต่อประเด็นคำถามถึงนาฏศิลป์ในกัมพูชา โดยกษัตริย์สีหนุได้ตอบว่า ในราชสำนักของอาณาจักรเขมรโบราณนางรำสวมชุดบางๆ เหมือนนางอัปสราที่เปลือยท่อนบนภาพแกะสลัดผนังนครวัด ในเมืออาณาจักรอังกอร์ล่มสลาย คณะนาฏศิลป์ ถูกนำไปที่อยุทธยา ประเพณีของเขมรจึงเฟื่องฟูในประเทศไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เครื่องแบของข้าราชบริภารในสยามนั้นงดงาม ซึ่งเหนือกว่าการแต่งกายที่เปลือยท่อนบนของคณะนาฏศิลป์ของเขมร ดังนั้นช่างตัดเสื้อในอยุทธยาจึงเริ่มตัดชุดนางระบำด้วยเสื้อผ้าหรูหราแบบไทย ในศตวรรษต่อมานางรำเหล่านั้นได้กลับไปที่พนมเปญ ศิลปะการร่ายรำและวัฒนธรรมต่างๆ ก็ได้รับการฟื้นฟูในราชสำนักของกัมพูชา แต่ว่าชุดของนักแสดงที่ติดมาก็ยังคงเป็นเครื่องแต่งกายแบบไทย กษัตริย์สีหนุยังได้กล่าวต่อไปว่า นางรำนั้นอาจจะมีเป็นพันคน ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสยาม เพราะถูกเจ้านายเขมรทอดทิ้ง

ความจริงบางครั้งมันก็โหดร้าย แต่มันจำเป็นต้องบอก แต่ก็ยังคงมีความวุ่นวายจากกัมพูชา ไทยและเวียดนาม มาจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับอ้างการเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไทย ซึ่ง ซาน กิม ซอน ปรมาจารย์บูกาตอ ที่ผันตัวจากการเป็นนักดนตรี ได้ให้แนวคิดที่ไปไกลกว่านั้นก็คือ คนไทยขโมยมวยไทยมาจากอังกอร์ ซาน กิม ซอน มักจะกล่าวอยู่เสมอว่า บูกาตอ นั้นมีอยู่ทั่วไปบนผนังกำแพงวัด เขาต่อสู้เพื่อเอกลักษณ์ของชาติที่ถูกไทยแย่งชิงเอาไปจากการรุกรานอังกอร์ ในปี พ.ศ. 1431 เพื่อนำไปเผยแพร่ในกรุงศรีอยุทธยา

สิ่งที่ชายผู้นี้มีความล้มเหลวอย่างน่าสมเพชก็คือ การเพิกเฉยต่อการมีอยู่ของหลักฐานชิ้นหนึ่ง ซึ่งอยู่บนผนังนครวัด นั่นก็คือภาพการแกะสลักการต่อสู้มหาสงครามครั้งนั้น ภาพแกะสลักของกองทัพจักรวรรดิ์ ที่ยกทัพเข้าตีอาณาจักรจามปา เพื่อปลดแอกจากศรีวิชัย ในปี พ.ศ. 1135 การรวมตัวของกษัตริย์แห่งอังกอร์ นำโดยกษัตริยแห่งโยนก ในนามเสียมกุก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ก่อนหน้านั้น แผ่นดินไทยแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร คือ ตอนเหนือก็คือพวกสยาม และตอนล่าง คือละโว้หรือขอม ซึ่งพงศาวดาลจีนในราชวงศ์หยวนได้บรรยายไว้ว่า สยามและละโว้แบ่งเป็นสองเมืองแต่แยกกันอยู่ ต่อมารวมกันเป็นเสียนโหล ขุนพลที่นำทัพในครั้งนั้น คือ ขุนเจือง ธรรมิกราช นักรบผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือมากที่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียอาคเณย์ ความสามารถทางการทหารของขุนเจืองนั้น ยอดเยี่ยม จนนักวิชาการชาวฝรั่งเศสยกย่องไว้ว่า เป็นขุนพลเทพ

ประวัติของขุนเจือง ธรรมิกราช ขุนเจืองธรรมิกราชเป็นโอรสของขุนจอมธรรม ปฐมกษัตริย์แห่งภูกามยาว ประสูติ ณ วันอังคาร (เดือน 5 ปี เถาะ เอกศก จุลศักราช 461) ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 เหนือ เวลาใกล้รุ่ง (อาทิตย์ จันทร์ เสาร์กุมกันอยู่ราศีเมษ ราหูอยู่ ราศีกุมภ์ พุธอยู่ราศีมีน อังคารอยู่ราศีมังกร ขุนเจืองธรรมิกราช พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๒ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงแสนยานุภาพทางด้านทหารมากที่สุด มีความสามารถด้านการต่อสู้ ทั้งมวยไทย ฟันดาบ กระบี่ กระบอง ทวน ง้าว ธนู ฯลฯ อีกทั้งยังคมีความสามารถในการขับขี่ช้าง ม้า และพาหนะต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถรวบรวมและเป็นใหญ่ ในประเทศ ๖ ประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ทรงมีพระนามใช้เรียกถึง ๓๓ พระนาม พระองค์ทรงเป็นมหาราช จนชนชาติต่าง ๆ อ้างพระองค์เป็นบรรพบุรุษของตนเอง พระองค์ทรงครองราชย์ ขณะพระชนมายุ ๓๗ พระชันษา ทรงสวรรคตในสนามรบ ด้วยวัย ๖๗ พระชันษาในต่างแดน และเหล่าทหารเข้าต่อสู้และแย่งพระศพได้แล้วนำกลับมา ณ เมืองหิรัญเงินยาง
ในยุคขุนเจืองผู้ซึ่งเป็นนักรบของรัฐพะเยาเป็นบุคคลที่มีบุคลิกที่ต่างไปจากขุนจอมธรรมผู้เป็นพระราชบิดา กล่าวคือพระองค์ทรงเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะผนวกเอาดินแดนของอาณาจักรต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันโดยการขยายพระอำนาจไปสู่อาณาจักรต่าง ๆ ตั้งแต่อาณาจักรภูกามยาว (พะเยา) – อาณาจักรโยนก (หิรัญเงินยาง) – อาณาจักรล้านช้าง (หลวงพระบาง) – อาณาจักรไดแวด (แกว) หรือปัจจุบันคือ เวียดนามตอนเหนือ เป็นต้น

จากการศึกษาบทความของนักประวัติศาสตร์ชาวฮ่องกง Alex Tsui พบว่า ประวัติศาสตร์ของชาติไทย มีส่วนที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ นั่นก็คือประวัติศาสตร์ทางด้านสังคมวิทยา โดยเฉพาะที่เชื่อมโยงกับศาสนจักร และอาณาจักรของไทยก็มีเพียงแค่สองอาณาจักรเท่านั้น คืออณาจักรสยามและอาณาจักรละโว้ หรืออาณาจักรขอมนั่นเอง หากจะวิเคราะห์ตามความเชื่อของกลุ่มชนแล้ว อาณาจักรสยามเป็นกลุ่มชนที่นับถือศาสนาผี หรือพระอินทร์ หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งคืออาณาจักรอินทรปัตย์ ซึ่งหมายถึงเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองขององค์อินทร์ ส่วนอาณาจักรละโว้นั้นเป็นอาณาจักรขอม ที่นับถือพราหมณสยาม คือนับถือพระพรหมเป็นเทพสูงสุด พราหมณ์ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงพราหมณ์ฮินดูที่มีเทพเคารพหลายองค์ ไม่ว่าพระวิษณุ พระนารายณ์ หรือพระศิวะ ซึ่งฮินดูพึ่งเข้ามามีอิทธิพลหลังจากอิทธิพลของขุนเจืองเสื่อมลง จากการสวรรคตด้วยการพ่ายสงครามและเสียชีวิตในสงครามด้วยวัยชรา อาณาจักรจามปาจึงได้ส่งเจ้าชายโกณฑัญญะมาแต่งงานกับกษัตริย์อังกอร์ นามโสมาราชินี และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ นามพระเจ้าโกณฑิณญวรมันต์เทวะ พร้อมทั้งยึดนครวัดเป็นศาสนสถานฮินดู โดยขับไล่ขอมออกจากพระนคร ขอมจึงออกมาสร้างปราสาทขึ้นใหม่ด้วยศรัทธาของประชาชน คือ ปราสาทตาพรหม

ประวัติศาสตร์ไทยยังคงถูกเพิกเฉยและไม่มีในบันทึกประวัติศาสตร์อีกมาก ที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องช่วยกันสืบค้นและพิสูจน์ถึงความจริง เพื่อป้องกันการเคลมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นสมบัติที่ถูกสะสมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ถูกทดลองใช้ผ่านยุคสมัยมาหลายชั่วอายุคน ก็จะสุญเสียไปโดยที่คนไทยไม่ได้ประโยชน์จากภูมิปัญญาของพรรบุรุษของเรา ซึ่งเราจำเป็นต้องช่วยกันสืบค้น และรักษาไม่ใช้สูญหายไปอีก