In News
'ประเสริฐ’ดันนโยบายLanding Rights รองรับการให้บริการดาวเทียมต่างชาติ

กรุงเทพฯ-‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ เดินหน้าผลักดันนโยบาย Landing Rights รองรับการให้บริการดาวเทียมต่างชาติ มุ่งเป้าประชาชน-ผู้ประกอบการ เข้าถึงการใช้ประโยชน์ครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศยกระดับเศรษฐกิจประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบาย อวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และกรรมการจากหนวยงานสำคัญต่างๆ อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศนและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง พร้อมด้วยศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี ในฐานะกรรมการและเลขานุการ นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พลโทสุวัฒน ยศประกอบ เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการร่วม เข้าร่วมการประชุม
นายประเสริฐ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญอยางยิ่งในการส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศของประเทศไทย รวมถึงการให้บริการข้อมูลจากดาวเทียมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่นการลงทุนในกิจการอวกาศจากภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้อุตสาหกรรมอวกาศขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ การจัดการด้านเกษตร การจัดการภัยพิบัติ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
นายประเสริฐฯ กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อ (ร่าง) นโยบายการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ดาวเทียมต่างชาติในการให้บริการในประเทศ หรือ นโยบาย Landing Rights และ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑในระดับรัฐ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ดาวเทียมต่างชาติในการให้บริการในประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดีอี โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการสร้างโอกาสและความท้าทายจากการเข้ามาให้บริการของผู้ประกอบการดาวเทียมสื่อสารต่างชาติ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องมีการเตรียมการกำหนดนโยบายรองรับให้เหมาะสม สามารถสร้างสมดุลการแข่งขันของผู้ประกอบการดาวเทียมควบคู่ ไปกับการเปิดโอกาสและทางเลือกสำหรับประชาชน ผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐ ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและบริการ ดาวเทียมต่างชาติ ซึ่งจะได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ ซึ่งได้มีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป รวมทั้งได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานด้านกิจการอวกาศของประเทศไทยที่ผ่านมา และภารกิจต่างๆ ที่จะมีการดำเนินการในอนาคต อาทิ การลงนามข้อตกลงอาร์เทมิส (Artemis Accords) ความคืบหน้าความร่วมมือด้านอวกาศที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดำเนินการร่วมกับสาธาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้โครงการจัดตั้งสถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์ ตลอดจนผลการดำเนินงานเกี่ยวกับ (ร่าง) นโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ จากผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/256566 ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านกิจการอวกาศของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน โดยดำเนินการผ่านกลไกการขับเคลื่อนของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ โดยครอบคลุมใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านนโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบ ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ และด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกิจการด้านอวกาศของประเทศยังมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานจากการขยายขอบเขตการพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมอวกาศที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ ตลอดจนครอบคลุมถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ ที่จะสนับสนุบสนุนให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมได้