In Bangkok

เล็งเปิดHawker Centerข้างMRTสามย่าน ชูรร.แชงกรี-ลาต้นแบบคัดแยกขยะ



กรุงเทพฯ-เล็งเปิด Hawker Center ข้างสถานี MRT สามย่าน ปลื้มผู้ค้าถนนปั้นข้างวัดแขกขานรับจัดระเบียบพื้นที่ ยกต้นแบบคัดแยกขยะโรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ จับตาค่าฝุ่น PM2.5 โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุ แปลงที่ตั้งโรงภาษีร้อยซักสาม 

(25 เม.ย. 67) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางรัก ประกอบด้วย 

สำรวจพื้นที่จัดทำ Hawker Center บริเวณพื้นที่ว่างข้างสถานี MRT สามย่าน ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งเขตฯ ได้ประสานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอใช้พื้นที่ด้านหลังที่อยู่ติดกับวัดหัวลำโพงจัดทำเป็น Hawker Center ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เน้นจุดที่มีความต้องการของผู้บริโภค อยู่ใกล้กับพื้นที่ทำการค้าเดิม มีจุดล้างทำความสะอาดภาชนะ จุดคัดแยกขยะและกำจัดขยะรวม คำนึงถึงช่วงเวลาทำการค้าและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อ ที่สำคัญผู้ค้าและประชาชนสามารถใช้ทางเท้าร่วมกันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่ง Hawker Center ดังกล่าว รองรับผู้ค้าได้ 10 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. เมื่อแล้วเสร็จจะย้ายผู้ค้าบริเวณหน้าวัดหัวลำโพงเข้าไปทำการค้าต่อไป ที่ผ่านมาเขตฯ ได้จัดทำ Hawker Center จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.ตลาดไอทีเอฟ ถนนสีลมซอย 10 รองรับผู้ค้าได้ 30 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-15.00 น. 2.ศูนย์อาหารยมราช ซอยศาลาแดง 10 รองรับผู้ค้าได้ 20 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-16.00 น. 3.ตลาดพัฒน์พงษ์ไนท์มาเก็ต รองรับผู้ค้าได้ 20 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 16.00-02.00 น. 4.ศูนย์อาหาร Pink Garden รองรับผู้ค้าได้ 10 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-15.00 น. โดยจัดเก็บค่าเช่าในอัตราที่ทางตลาดกำหนด ซึ่งการจัดระเบียบผู้ค้าในพื้นที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดทำแผงค้าให้มีรูปแบบและลักษณะเดียวกัน รวมทั้งมอบร่มให้แก่ร้านค้าเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย 

จากนั้นรองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ พร้อมด้วยรองปลัดฯ ศุภกฤต ตรวจความเป็นระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณถนนปั้น ข้างวัดแขก ผู้ค้าส่วนใหญ่จำหน่ายดอกไม้และพวงมาลัย จากการลงพื้นที่เมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ ได้เน้นย้ำให้ผู้ค้าช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่ทำการค้า ตรวจสอบไม่ให้มีน้ำแข็งที่แช่ดอกไม้หรือน้ำที่ฉีดพรมดอกไม้และพวงมาลัยไหลนองลงมาบนทางเท้าและพื้นผิวจราจร การตั้งวางร้านค้าให้เว้นช่องว่างระหว่างร้าน เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินเข้า-ออกได้สะดวก ไม่ตั้งวางสิ่งของกีดขวางทางเท้า โดยในวันนี้พบว่าผู้ค้าให้ความร่วมมือในการจัดระเบียบพื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างดี นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำป้ายชื่อร้านค้าในรูปแบบและลักษณะเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม รวมถึงจัดระเบียบการจอดรถจักรยานยนต์ โดยกำหนดช่องจอดตามแนวเฉียงแทนการจอดตามแนวตั้ง เพื่อให้เข้า-ออกสะดวกและจอดรถจักรยานยนต์ได้มากขึ้น ขีดสีตีเส้นห้ามจอดรถจักรยานยนต์ตรงหัวมุมถนนปั้นด้านข้างวัดแขก เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ทางเท้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ที่สำคัญเพื่อให้การจัดระเบียบพื้นที่ทางเท้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเส้นทางสอดคล้องกับการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม 

ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 35 จุด ผู้ค้ากลางวัน 482 ราย ผู้ค้ากลางคืน 84 ราย รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 566 ราย ได้แก่ 1.ถนนนเรศ (ซอยพระพุทธโอสถ) ผู้ค้ากลางวัน 16 ราย ผู้ค้ากลางคืน 2 ราย รวมผู้ค้า 18 ราย 2.ถนนนเรศ (ซอยน้อมจิตร) ผู้ค้ากลางวัน 1 ราย ผู้ค้ากลางคืน 1 ราย รวมผู้ค้า 2 ราย 3.ถนนนเรศ (ซอยสันติภาพ) ผู้ค้ากลางวัน 2 ราย ผู้ค้ากลางคืน 1 ราย รวมผู้ค้า 3 ราย 4.ถนนพระรามที่ 4 (หน้าวัดหัวลำโพง) ผู้ค้ากลางวัน 18 ราย ผู้ค้ากลางคืน 20 ราย รวมผู้ค้า 38 ราย 5.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งขวา) ผู้ค้ากลางวัน 26 ราย ผู้ค้ากลางคืน 4 ราย รวมผู้ค้า 30 ราย 6.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งซ้าย) ผู้ค้ากลางวัน 17 ราย ผู้ค้ากลางคืน 2 ราย รวมผู้ค้า 19 ราย 7.ซอยสันติภาพ 1 ผู้ค้ากลางวัน 7 ราย ผู้ค้ากลางคืน 6 ราย รวมผู้ค้า 13 ราย 8.ซอยเจริญกรุง 43 ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย ผู้ค้ากลางคืน 4 ราย รวมผู้ค้า 13 ราย 9.ซอยสาทร 2 ผู้ค้ากลางวัน 4 ราย 10.ซอยสาทร 8 ผู้ค้ากลางวัน 3 ราย 11.ถนนศาลาแดง ผู้ค้ากลางวัน 34 ราย ผู้ค้ากลางคืน 11 ราย รวมผู้ค้า 45 ราย 12.ซอยศาลาแดง 2 ผู้ค้ากลางวัน 14 ราย 13.ซอยศาลาแดง 1 ผู้ค้ากลางวัน 15 ราย 14.ซอยสีลม 20 ผู้ค้ากลางวัน 76 ราย ผู้ค้ากลางคืน 4 ราย รวมผู้ค้า 80 ราย 15.ปากซอยมเหสักข์ ผู้ค้ากลางวัน 4 ราย 16.ซอยสีลม 30 ผู้ค้ากลางวัน 4 ราย 17.ซอยสีลม 22 ผู้ค้ากลางวัน 3 ราย 18.ซอยเจริญกรุง 47/3 ผู้ค้ากลางวัน 10 ราย 19.ซอยปราโมทย์ 3 ผู้ค้ากลางวัน 12 ราย 20.ซอยโทรคาเดโร ผู้ค้ากลางวัน 3 ราย 21.ซอยอนุมานราชธน ผู้ค้ากลางวัน 4 ราย 22.ถนนศรีเวียง ฝั่งซ้าย ผู้ค้ากลางวัน 18 ราย ผู้ค้ากลางคืน 2 ราย รวมผู้ค้า 20 ราย 23.ถนนศรีเวียง ฝั่งขวา ผู้ค้ากลางวัน 34 ราย 24.ถนนสาทรเหนือ BTS สุรศักดิ์ ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย 25.ถนนเจริญกรุง ฝั่งตรงข้ามโรบินสัน ผู้ค้ากลางวัน 14 ราย ผู้ค้ากลางคืน 10 ราย รวมผู้ค้า 24 ราย 26.ถนนเจริญเวียง ผู้ค้ากลางวัน 12 ราย ผู้ค้ากลางคืน 6 ราย รวมผู้ค้า 18 ราย 27.ซอยสาทร 10 ผู้ค้ากลางวัน 13 ราย ผู้ค้ากลางคืน 2 ราย รวมผู้ค้า 15 ราย 28.ซอยสาทร 12 ผู้ค้ากลางวัน 4 ราย 29.ซอยสีลม 9 ผู้ค้ากลางวัน 10 ราย 30.ข้างสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ผู้ค้ากลางวัน 5 ราย 31.ถนนประมวล ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย 32.ถนนปั้น ข้างวัดแขก ผู้ค้ากลางวัน 10 ราย 33.ถนนปั้น ผู้ค้ากลางวัน 13 ราย 34.ซอยสีลม 19 ผู้ค้ากลางวัน 7 ราย และ 35.ถนนสีลม (ขาเข้า) ผู้ค้ากลางวัน 42 ราย ผู้ค้ากลางคืน 9 ราย รวมผู้ค้า 51 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ จะดำเนินการยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนนเรศ (ซอยน้อมจิตร) ผู้ค้า 2 ราย (ดำเนินการ 31 พ.ค. 67) 2.ซอยสาทร 2 ผู้ค้า 4 ราย (ดำเนินการ 30 เม.ย. 67) 

ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 6 จุด ผู้ค้ากลางวัน 259 ราย ผู้ค้ากลางคืน 70 ราย รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 329 ราย ได้แก่ 1.ถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่ปากซอยจอมสมบูรณ์ ถึงปากซอยพระนคเรศ ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย ผู้ค้ากลางคืน 18 ราย รวมผู้ค้า 27 ราย 2.ถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่หัวมุมถนนธนิยะ ถึงซอยสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ผู้ค้ากลางวัน 20 ราย ผู้ค้ากลางคืน 40 ราย รวมผู้ค้า 60 ราย 3.ถนนสีลม ตั้งแต่หัวมุมถนนมเหสักข์ ถึงปากซอยสีลม 12 ผู้ค้ากลางวัน 16 ราย 4.ซอยสีลม 9 ตั้งแต่ปากทางเข้าโรงเรียนกว่างเจ้า ถึงโครงการคอนโดอนิลสาทร 12 ผู้ค้ากลางวัน 17 ราย 5.ถนนคอนแวนต์ (ฝั่งขวา) ตั้งแต่ทางเข้าอาคารลิเบอร์ตี้ ถึงถนนสาทรเหนือ ผู้ค้ากลางวัน 79 ราย ผู้ค้ากลางคืน 12 ราย รวมผู้ค้า 91 ราย และ 6.ซอยสีลม 5 (ละลายทรัพย์) ตั้งแต่ปากซอยสีลม 5 ถึงท้ายซอยสีลม 5 ผู้ค้ากลางวัน 118 ราย 

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ พื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 23 ตารางวา ห้องพัก 802 ห้อง ห้องอาหาร 27 ห้อง ห้องจัดเลี้ยง 27 ห้อง มีพนักงาน 728 คน ลูกค้าที่ใช้บริการเดือนมีนาคม 2567 จำนวน 72,567 คน  เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2557 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ เศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน เหลือจากการปรุงอาหาร จะใส่ถังรองรับขยะเศษอาหารที่เตรียมไว้ รวบรวมไปไว้บริเวณจุดพักขยะ ซึ่งเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอเอกชนมาจัดเก็บทุกวัน 2.ขยะรีไซเคิล ขวดพลาสติก แกลลอนนม กล่องน้ำผลไม้ กระดาษสำนักงาน และกล่องกระดาษ รวบรวมไปไว้บริเวณจุดพักขยะ ประสานเขตฯ จัดเก็บทุกวัน 3.ขยะทั่วไป รวบรวมไปไว้บริเวณจุดพักขยะ ประสานเขตฯ จัดเก็บทุกวัน 4.ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านรีโมท แบตเตอรี่ กระป๋องสี แกลลอนน้ำยา นำไปรวบรวม บริเวณจุดพักขยะ ประสานเขตฯ จัดเก็บเดือนละ 2 ครั้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก (ข้อมูลเดือนมีนาคม 2567) ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 30,242 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 18,600 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 1,199 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 10,443 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 444 กิโลกรัม/เดือน 

ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุ แปลงที่ตั้งโรงภาษีร้อยซักสาม ซอยเจริญกรุง 36 ถนนเจริญกรุง ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการเปิดเครื่องพ่นละอองน้ำในช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง ฉีดล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกจากโครงการ พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมสถานประกอบการไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน 

ในการนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นางธราพร อำนวยสาร ผู้อำนวยการเขตบางรัก พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางรัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล