In News

เปิด5ข้อสั่งการนายกฯประชุมครม.พะเยา ผลักดันปี2568เป็นปีท่องเที่ยวของไทย



โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยข้อสั่งการ ของนรม. การประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ วันที่ 19 มีนาคม 2567

วันนี้ (19 มี.ค. 67) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยข้อสั่งการ ของนรม. การประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ วันที่ 19 มีนาคม 2567 ดังนี้

1.เรื่อง การสร้างความชัดเจนของมาตรการ direct PPA ตามที่รัฐมนตรีการค้า สหรัฐอเมริการ (Ms. Gina M Raimondo) นำคณะนักธุรกิจที่ปรึกษาการส่งออกของประธานาธิบดี มาเยี่ยม หารือรัฐบาลเพื่อความร่วมมือโดยเฉพาะการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือต้องากรความชัดเจนของด้านพลังงานทดแทน อันได้แก่ direct PPA ที่เรารับปากว่าจะมีมาตรการชัดเจนก่อนสิ้นปี ดังนั้น จึงขอสั่งการให้ก.พลังงาน เร่งจัดทำมาตรการเพื่ออนุญาตและส่งเสริมให้เอกชนสามารถทำสัญญาซื้อขายไฟกันโดยตรงกับผู้ผลิตพลังงานสะอาด/พลังงานทดแทน (direct PPA) และเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยเร็ว

 2.เรื่อง การบรูณาการการผลิตลำไยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ  จากข้อเสนอของ กรอ. มีหลายจังหวัดได้ผลักดันเรื่องการเพิ่มมูลค่าลำไย โดยลำไพถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ และจะมีผลผลิตออกมากในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดังนั้น จึงขอสั่งการให้
ก.เกษตรฯ รวมกับ ก.พาณิชย์ ก.อุตสาหกรรม และหน่วยงานต่าง ๆ บูรณาการการผลิตลำไยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อให้ปริมาณการผลิตสมดุลกับความต้องการตลาด ผลผลิตมีคุณภาพสูง มี food safety และส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลำไยที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ราคาลำไยมีเสถียรภาพ และไม่เกิดสภาวะล้นตลาด

 3.เรื่องมาตรการห้ามนำเข้าข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5ตามที่ได้เคยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการลดหรือห้ามนำเข้าสินต้าเกษตรจากประเทศเพื่อบ้านที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเผา นั้น ปัจจุบันไทยยังได้รับกระทบจาการเผาในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงขอสั่งการให้ ก.พาณิชย์ ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 เพื่อกำหนดให้ข้าวโพดจากต่างประเทศที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเผาเป็นสินค้าห้ามนำเข้ามาในประเทศโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะในช่วง High Season ของการเผา

4.การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในกลุ่มประเทศแอฟริกาขอให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน และการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศไทยและกลุ่มประเทศแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย และซิมบัพเว เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง มีความมั่นคงทางการเมือง เป็นศูนย์กลางการค้า-ขายของทวีป มีแหล่งประมง มีตลาดขนาดใหญ่สามารถรองรับสินค้าประเทศต่าง ๆ ของไทยได้ดีมีความสวยงามของธรรมชาติ

5.การเดินทางเยือนประเทศออสเตรเลีย เพื่อเข้าร่วมประชุม ASEAN-Australia และเยือนประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนีอย่างเป็นทางการ
(1)รัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นและสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับทุกประเทศ วางตัวเป็นกลาง พร้อมรับการลงทุนในทุกมิติ นำไปสู่การสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ทั้งระหว่าง ASEAN-Australia และประเทศไทยกับประเทศในสหภาพยุโรป (EU) ผ่านการพูดคุยกับผู้นำต่างประเทศ ที่ให้ความร่วมมือและสนับสุนนนโยบายของรัฐบาลไทยอย่างเต็มที่ ทั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส (Emmanuel Macron) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (Anwar Ibrahim) ลาว ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเยอรมนี
(2) รัฐบาลจะส่งเสริมผลักดันการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (Free Trade Agreement- FTA) ทั้ง  FTA-EU,FTA-UK ขอยืนยันว่าประเทศไทยเปิดแล้วสำหรับการค้าการลงทุน เพื่อให้เกิดการค้าการลงทุนอย่างมหาศาล พร้อมทั้งจะแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ Ease of doing Business เช่น Single form, single window ให้มีความรวดเร็ว, สร้าง Business Cooperation ระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างไม่มีช่องว่าง

(3) รัฐบาลจะให้การส่งเสริมภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคยานยนต์ และชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่จะเข้ามาตั้งโรงงาน หรือขยายฐานการผลิตในไทย เช่น Stellantis, Volkswagen, Mercedes Benz, BMW โดย BOI จะส่งเสริมผ่านมาตรการต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด Clean Energy และรถยนต์ EV ตลอดจนจะต้องหามาตรการช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์แบบ ICE ด้วย นอกจากนี้ จะต้องให้ความเชื่อมั่นถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน และอาศัยในประเทศไทยผ่านระบบโรงพยาบาล สถานที่พักอาศัย และโรงเรียนนานาชาติที่มีคุณภาพ

(4) รัฐบาลจะประกาศวาระแห่งชาติ ในการผลักดันให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวของไทย Tourism Hub พร้อมผลักดันการสร้างสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น สนามบิน รถไฟความเร็วสูง และโครงการ Land bridge และยกระดับศิลปะวัฒนธรรมไทย อาหารไทย รวมถึงวงการแฟชั่นไทยให้เป็นที่ยอมรับของโลก โดยร่วมมือกับสมาพันธ์ระดับโลก เช่น Federation Haute Couture, Michelin Guide ห้างระดับโลก เช่น Gallery Lafayette, Bon Marche ผ่านการใช้วัตถุดิบไทยที่มีคุณภาพ เช่น ผ้าคราม เตรียมพร้อมกับอีเว้นท์ระดับโลกที่จะมาจัดในประเทศไทย เช่น F1, Michelin World Food Expo, Paris Fashion show หรือเข้าร่วมงานระดับโลก เช่น ITB และ MIPIM อย่างเต็มศักยภาพ สร้างโอกาสให้กับประเทศไทย และคนไทย

(5) รัฐบาลจะผลักดันให้คนไทย เป็น Citizen of the world ยกระดับพาสปอร์ตไทย ยกเลิกการตรวจลงตราวีซ่า ผ่านการยกเลิกการขอวีซ่า Schengen ซึ่งจะทำให้ประชาชนของทั้งสองด้านเดินทางท่องเที่ยวกันได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นรวมทั้งส่งเสริมให้นักธุรกิจรายใหม่ ทั้งขนาดลกาง และขนาดเล็ก รวมถึงนักออกอบบรุ่นใหม่ มีแรงบันดาลใจในการสร้างธุรกิจของตนเอง และเห็นโอกาสในทางธุรกิจจากแบรนด์ระดับโลก นอกจากนั้น รัฐบาลจะให้ความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะพยายาม matching talents ให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรมระดับโลกในไทย สร้างแรงดึงดูดต่าง ๆ ทั้งมาตรการทางภาษี และการส่งเสริมด้านการทำงาน เพื่อเตรียมตัวรองรับกับอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาเปิดในไทย เช่น Semiconductors, Data Center, EV เพื่อให้นักศึกษาไทยในต่างประเทศกลับมาทำงานในประเทศไทยอย่างมีศักดิ์ศรี